นายลอย จูน ฮาว ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด เปิดเผยว่า “อิมแพ็ค ให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจร่วมกับลูกค้าหรือพันธมิตรทางธุรกิจ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะธุรกิจในปัจจุบันที่เศรษฐกิจของโลกมีการชะลอตัว ทุกองค์กรต่างพยายามใช้งบประมาณการดำเนินงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น อิมแพ็ค จึงได้นำเอากลยุทธ์ซีอาร์เอ็ม หรือ การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management: CRM) มาใช้ ในการดำเนินการของบริษัทตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปีนี้เป็นต้นไป เพื่อตอกย้ำความใกล้ชิดกับลูกค้าทั่วไป ลูกค้ากลุ่มองค์กร พันธมิตรทางธุรกิจที่ใช้บริการศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี อย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยเราได้ออกบัตร “อิมแพ็ค โซไซตี้ คอร์ปอเรท รีวอร์ด การ์ด” ซึ่งถือเป็นการแตกไลน์บริการใหม่ ภายใต้โครงการสิทธิประโยชน์ “อิมแพ็ค โซไซตี้” เพื่อมอบประโยชน์ให้แก่ลูกค้ากลุ่มองค์กร และพันธมิตรทางธุรกิจของเรา นอกเหนือจากกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่ถือบัตรสมาชิกอิมแพ็ค โซไซตี้ ที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 9,000 ราย ทั้งนี้ “อิมแพ็ค โซไซต
ี้ คอร์ปอเรท รีวอร์ด การ์ด” จะมีจุดขายที่แตกต่าง โดยเน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายกลุ่มลูกค้าองค์กร และพันธมิตรทางธุรกิจเท่านั้น ทั้งนี้ แนวคิดหลักในการมอบบัตร “อิมแพ็ค คอร์ปอเรท รีวอร์ด” ให้กับลูกค้ากลุ่มองค์กร และพันธมิตรทางธุรกิจนั้น บริษัทฯ ต้องการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดงานของลูกค้าที่จัดงานอย่างต่อเนื่องในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ขณะเดียวกันยังถือเป็นการคืนกำไรให้กับลูกค้าอีกด้วย”
สำหรับสิทธิประโยชน์ของผู้ถือบัตร “อิมแพ็ค โซไซตี้ คอร์ปอเรท รีวอร์ด การ์ด” ประกอบด้วย การสะสมคะแนนเพื่อนำมาใช้ในการรับคูปองส่วนลดค่าบริการในการใช้ห้องจัดประชุม สัมมนาและอีเว้นท์ การเช่าอุปกรณ์ภาพและเสียง การบริการในศูนย์บิสิเนส เซ็นเตอร์ ส่วนลดสำหรับบริการอาหารและเครื่องดื่มและในร้านอาหารของอิมแพ็คในการจัดงานครั้งต่อไป
ในปีแรก บริษัทฯ คาดว่าจะมีจำนวนสมาชิกบัตร “อิมแพ็ค โซไซตี้ คอร์ปอเรท รีวอร์ด การ์ด” สำหรับกลุ่มองค์กร และพันธมิตรทางธุรกิจราว 800 ราย ประกอบด้วย กลุ่มองค์กรธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ 68 กลุ่มบริษัทออร์กาไนเซอร์ บริษัทนำเที่ยว บริษัทบริหารจัดการสถานที่เพื่อการประชุม หรือ ดีเอ็มซี (Destination Management Company) บริษัทจัดประชุมและนิทรรศการ (Professional Convention Organizer และ Professional Exhibition Organizer) ร้อยละ 22 และกลุ่มลูกค้าสมาคมต่างๆ อีกร้อยละ 10
สำหรับกลยุทธ์การตลาดและการประชาสัมพันธ์นั้น บริษัทฯ จะเน้นการสื่อสารโดยตรงกับกลุ่มลูกค้า (Direct Marketing) ผ่านการโฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ต และไดเร็คเมล์ เพื่อให้เกิดกระแสปากต่อปาก (Word-of-mouth) ในกลุ่มลูกค้า พร้อมกับใช้งบประมาณการตลาดและประชาสัมพันธ์รวม 10 ล้านบาท
“เรามีความพยายามที่จะสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า แต่ละกลุ่ม เพื่อตอกย้ำจุดยืนที่แตกต่างว่า อิมแพ็ค คือพันธมิตรสู่ความสำเร็จ ของลูกค้าทุกกลุ่มเป้าหมาย” นายลอยกล่าว
หมายเหตุบทบรรณาธิการ
ข้อมูลศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
“อิมแพ็ค เมืองทองธานี” ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมชั้นนำของเอเชีย เพียบพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก ชั้นเยี่ยม โดยตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 140,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยอาคารหลัก 4 อาคาร ได้แก่ อาคารอารีน่า (ARENA) ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี (IEC) ศูนย์การประชุม เมืองทองธานี (ICC) อาคารชาเลนเจอร์ (IMPACT Challenger) ทั้งนี้ภายในศูนย์ฯ อิมแพ็ค มีอาคารจัดแสดงสินค้าทั้งสิ้น 13 อาคาร อารีน่า 1 อาคาร ห้องบอลรูมขนาดใหญ่ 2 ห้อง ห้องประชุมย่อย 34 ห้อง ร้านอาหาร 6 ร้าน และร้านอาหารนานาชาติอีกว่า 21 ร้านค้า ที่จอดรถนอกอาคาร 6 แห่งและที่จอดรถในอาคาร 2 แห่ง สามารถรองรับรถยนต์ได้ถึง 20,000 คัน
วิสัยทัศน์ของอิมแพ็ค “พันธมิตรสู่ความสำเร็จ”
เพื่อสร้างสรรค์ผลงานชั้นเลิศให้กับพันธมิตรและลูกค้าของเรา โดยผ่านความเชื่อมั่นและความร่วมมือระหว่างกันและกัน กลยุทธ์ด้านพันธมิตร และการทำงานที่ตอบสนองความต้องการอย่างครบวงจร เราพร้อมให้บริการคุณด้วยบุคลากรผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ พร้อมทั้งการบริการชั้นเยี่ยมระดับมาตรฐานสากล”
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-833-5061 Jintana Phongpakdee