กทม. ห่วงใยพร้อมดูแลความปลอดภัยชีวิตคนเมือง

ศุกร์ ๒๙ มกราคม ๒๐๑๐ ๑๖:๔๐
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยแพทย์หญิงมาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีนายยุทธศักดิ์ ร่มฉัตรทอง ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และคณะผู้บริหารสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ให้การต้อนรับ ณ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขตราชเทวี

สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมและการป้องกันภัยต่างๆ ประกอบด้วย การพัฒนาบุคลากรโดยการฝึกอบรมหลักสูตรการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขั้นพื้นฐาน การฝึกอบรมหลักสูตรการดับเพลิงและการจัดทีมกู้ภัยเฉพาะด้าน เช่น ทางน้ำ สารเคมี แก๊ส น้ำมัน การฝึกอบรมหลักสูตรฝึกการใช้และการบำรุงรักษาหน้ากากหายใจ (SCBA) การฝึกอบรมหลักสูตรการกู้ภัยทางน้ำ การใช้งานชุดประดาน้ำพร้อมอุปกรณ์ การฝึกอบรมหลักสูตรการดับเพลิงและการกู้ภัยในอาคาร สารเคมีและอุบัติภัยทางถนน การอบรมให้ความรู้การดับเพลิงเบื้องต้นและฝึกซ้อมการอพยพหนีไฟให้กับประชาชนในโครงการอบรมอาสาสมัครป้องกันภัย รวมทั้งโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และองค์กรเอกชน

ส่วนโครงการด้านความปลอดภัย ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างสถานีดับเพลิงเพิ่มอีก 5 สถานี ประกอบด้วย สถานีดับเพลิงและกู้ภัยย่อยหนองแขม สถานีดับเพลิงและกู้ภัยย่อยอ่อนนุช สถานีดับเพลิงและกู้ภัยราษฎร์บูรณะ สถานีดับเพลิงและกู้ภัยสายไหม และสถานีดับเพลิงและกู้ภัยร่มเกล้า โครงการชุมชนปลอดภัย โดยการติดตั้งประปาหัวแดง จำนวน 2,000 จุด การสร้างศูนย์ฝึกอบรมด้านดับเพลิงและกู้ภัยบริเวณบึงลำไผ่ ซึ่งอยู่ในระหว่างการขออนุมัติถอนสภาพที่สาธารณะจากกระทรวงมหาดไทย โครงการ “ชุมชนปลอดภัย กรุงเทพมหานครใส่ใจ เอกชนร่วมดูแล” โดยการสร้างเครือข่ายภาคเอกชนและประชาชน การเฝ้าระวังเหตุในช่วงเทศกาลสำคัญ การดูแลสถานที่สำคัญต่างๆ การตรวจสอบอาคารเสี่ยงภัย อีกทั้งแผนการฝึกซ้อมป้องกันอัคคีภัยในชุมชน ซึ่งสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะดำเนินการฝึกซ้อมที่ชุมชนสวนหลวง 1 บาหยัน สำนักงานเขตบางคอแหลม และแผนฝึกซ้อมดับไฟไหม้หญ้า สำนักงานเขตหนองจอก

สำหรับการดำเนินงานของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในปี 2553 ได้มีการฝึกอบรมประชาชนในชุมชน เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานด้านความปลอดภัยในการป้องกันตนเอง ครอบครัวและชุมชน ให้พร้อมรับมือหากเกิดภัยพิบัติ การกำหนดแผนหรือขั้นตอนในการเผชิญเหตุ เพื่อเตรียมรับสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ และปรับเปลี่ยนให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การสร้างความตื่นตัวและการมีส่วนร่วม โดยการจัดตั้งทีมเฉพาะกิจสอดส่องดูแลสาธารณภัยในระดับชุมชน การกำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของสมาชิกในชุมชน ที่มีต่อชุมชนของตนเอง การพัฒนาทักษะในการจัดการแก้ไขปัญหา อีกทั้งการจัดกิจกรรมให้ประชาชน โรงเรียนได้มีส่วนร่วมในการฝึกซ้อมการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนที่จะสามารถระงับ ป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ