ดร.จรัส สุวรรณมาลา เล็งปลายปีเปิดเว็บไซต์ตรวจสอบข้อมูลนักการเมือง

พุธ ๐๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๐ ๑๓:๔๓
เริ่มทดลองแล้ว 3 เดือน ไม่หวั่นแม้ต้องพัฒนาระบบฯ เพิ่ม เล็งปีหน้าขยายฐานข้อมูลสู่ท้องถิ่นเจาะรายเขตเลือกตั้งมุ่งแสดงผลแบบ GIS พร้อมย้ำสร้างฐานข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินทำกิจกรรมทางเมืองของ ปชช.

ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงโครงการระบบฐานข้อมูลตรวจสอบบุคคลสาธารณะ หนึ่งในการดำเนินที่เครือข่ายสถาบันทางปัญญากำลังขับเคลื่อน ในมิติสร้างธรรมมาภิบาลการเมือง การปกครอง ระบบความยุติธรรม และสันติภาพ ในเวทีการปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งคาดว่า ภายในปีนี้ระบบฐานข้อมูลจะเสร็จสมบูรณ์ พร้อมวางเป้าหมายในอนาคตจะจัดทำฐานข้อมูลของการเมืองท้องถิ่น เป็นรายเขตการเลือกตั้งเพื่อให้ทุกเขตเลือกตั้งมีการข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ

ในฐานะผู้รับผิดชอบหลักโครงการนี้ ศ.ดร.จรัส กล่าวว่า ถึงวันนี้มีข้อมูลนักการเมืองในระบบกว่า 3,000 คน และกำลังเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นใหม่ พร้อมกับถ่ายโอนข้อมูลจากเครือข่ายต่างๆ ที่มีฐานข้อมูลอยู่แล้วจากเครือข่ายความร่วมมือ เช่น ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย ศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย ฯลฯ โดยมีทั้งข้อมูลนักการเมือง บุคคลที่มีตำแหน่งหน้าที่ มีอำนาจเกี่ยวข้องกับทางการเมืองหรือการคอรัปชั่น องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงข้อมูลข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทั้งนี้ได้ทดลองระบบฐานข้อมูลเบื้องต้นไปบ้างแล้วคาดว่าภายในปีนี้จะเสร็จสมบูรณ์

สำหรับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลตรวจสอบบุคคลสาธารณะ ศ.ดร.จรัส กล่าวว่า กำลังพัฒนาระบบให้สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลองค์กร บริษัทธุรกิจเอกชนต่างๆ ที่เคยร่วมดำเนินการกับรัฐเพื่อให้เห็นว่านักการเมือง บุคคลที่มีตำแหน่งหน้าที่ มีอำนาจเกี่ยวข้องกับทางการเมืองหรือการคอรัปชั่น เกี่ยวข้องกับบริษัทธุรกิจเอกชนหรือหน่วยงานต่าง ๆ อย่างไรบ้าง ซึ่งจะเก็บข้อมูลแต่ละหน่วยงานหลักต่างๆ ว่า มีผู้บริหารเป็นใครในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งกำลังใช้วิธีอาศัยกรณีประเด็นดังต่าง ๆ ของรัฐที่ประชาชนให้ความสนใจนำมาสร้างเป็นจุดร่วม สำหรับเชื่อมโยงข้อมูลบุคคลสาธารณะด้วยว่า ใครเคยเกี่ยวข้องเคลื่อนไหวกับประเด็นใดบ้าง ทั้งกรณีจัดซื้อรถโดยสารเครื่องยนต์เอ็นจีวีของกทม. การทุจริตโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน หรือความไม่โปร่งใสของกระทรวงสาธารณสุขประเด็นงบฯ ไทยเข้มแข็ง เป็นต้น

“กำลังเพิ่มรูปแบบนำเสนอให้หลากหลาย อีกทั้งจะทดลองนำเสนอข้อมูลแบบจีไอเอส (Geographic Information System: GIS) เพื่อให้ได้ข้อมูลออกมาเป็นรายตำบล อำเภอ จังหวัด และพื้นที่เขตเลือกตั้งว่าส.ส.คนใด นักการเมืองคนใดอยู่เขตเลือกตั้งใดบ้าง ข้อมูลส่วนบุคคลจะระบุว่า เคยทำอะไรมาแล้วบ้างเพื่อที่จะติดตามการเลือกตั้งของบุคคลเหล่านี้ในการเลือกตั้งคราวหน้า โดยมีภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ดำเนินการทดลองระบบ และปีหน้าอาจทำฐานข้อมูลของการเมืองท้องถิ่นเพื่อให้ทุกเขตเลือกตั้งมีข้อมูลที่ทันสมัย”

ศ.ดร.จรัส กล่าวถึงการเก็บข้อมูลประเด็นร้อนๆ ว่า จะเก็บข้อมูลเพียงสรุปกรณีเหตุการณ์ว่า มีใครเข้าไปเกี่ยวข้องบ้าง ดังนั้นข้อมูลที่เก็บมาจะเสมือนเว็บไซต์ที่ติดตามบุคคลสาธารณะเหล่านี้ (web tracking) ส่วนลักษณะการเข้าถึงฐานข้อมูล จะเปิดให้เข้าถึ 2 ระดับ คือ 1.ข้อมูลสำหรับบุคคลทั่วไป (Public Website) และ 2.ข้อมูลเชิงลึกที่จะไม่ปรากฎบนเว็บไซต์ โดยจะระบุว่าบุคคลใดเคยพัวพันกับการทุจริตเรื่องใดบ้าง ส่วนนี้จะชวนเครือข่ายภาคประชาชน หน่วยงานต่าง ๆ ที่ติดตามตรวจสอบ หรือการผลักดันนโยบายต่าง ๆ ของบุคคลเหล่านี้ให้เข้ามาใช้และแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน จะพยายามทำให้คล้ายวิกิพีเดีย (Wikipedia) ให้เกิดเครือข่ายฐานข้อมูลที่เข้มแข็ง สร้างพลังที่จะตรวจสอบ โดยมีต้นทุนที่ถูกลง

“คิดว่าฐานข้อมูลนี้จะอยู่ยาว ตั้งใจจะจำกัดอยู่ในส่วนระบบข้อมูลพื้นฐานให้กับองค์กรภาคประชาชน และจะช่วยให้ประชาชนมีข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินต่อการทำกิจกรรมทาง การเมือง อนาคตจะมีฐานข้อมูลที่กว้างขึ้น ครบถ้วนมากขึ้น และให้บริการข้อมูลมากขึ้น นี่คือเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงตั้งไข่ได้ เมื่อทำได้ก็จะเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลที่เข้มแข็งมาก” ศ.ดร.จรัส กล่าว ทั้งนี้สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.thaireform.in.th

Thaireform : ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ