สภากทม. ชี้ทางแก้ปัญหาสุนัขจรจัดยุทธศาสตร์ต้องชัดเจน

พฤหัส ๐๔ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๐ ๐๘:๕๐
คณะกรรมกาวิสามัญฯ ชี้ทางแก้ปัญหาสุนัขจรจัด แนะผู้บริหารต้องจริงจังในการแก้ไขปัญหา พร้อมกำหนดแผนยุทธศาสตร์ให้ชัดเจนและตรงจุดเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและต้องเป็นระบบในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ทั้งควรประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันตนเองจากโรคพิษสุนัขบ้า และจัดสรรงบประมาณว่าจ้างเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

นายอมรเทพ เศตะพราหมณ์ ฐานะประธานคณะกรรมกาวิสามัญศึกษาปัญหาและวิธีการควบคุมปริมาณสุนัขจรจัดในกรุงเทพมหานคร และคณะ ร่วมประชุมเพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสุนัขจรจัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีตัวแทนจากสำนักอนามัย สำนักสิ่งแวดล้อมและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วม

แนะกทม.ว่าจ้างบุคลากรที่เชี่ยวชาญ ในการให้ความรู้และข้อแนะนำกับประชาชน

ประธานคณะกรรมการ กล่าวว่า ปัจจุบันกรุงเทพมหานครยังประสบปัญหาขาดบุคลากรด้านนักวิชาการที่มีความรู้หรือผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุนัข รวมถึงแมวอย่างถูกต้อง ทำให้เกิดปัญหาเมื่อผู้เลี้ยงสัตว์ต้องการความช่วยเหลือ และบางครั้งต้องการประสานข้อมูลผ่านไปยังสมาคมหรือผู้เชี่ยวชาญถึงจะแจ้งไปที่สำนักงานเขตเพื่อดำเนินการแจ้งไปยังเจ้าของ พบว่ายังมีความล่าช้าและเกิดความยุ่งยากในการบริการ ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้อีก ทั้งนี้ผู้บริหารควรพิจารณาในการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง โดยการเพิ่มบุคลากรให้มากขึ้นและประชาสัมพันธ์กิจกรรมอันจะเป็นประโยชน์กับเจ้าของสัตว์เลี้ยงเพื่อไม่เกิดปัญหาสุนัขจรจัด ซึ่งจะเป็นภาระให้กรุงเทพมหานครเพิ่มอีกด้วย

กระตุ้นผู้บริหารกำหนดยุทธศาสตร์ให้ชัดเจน พร้อมต้องจริงจังในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ

ในที่ประชุมคณะกรรมการตั้งข้อสังเกตว่า การแก้ไขปัญหาของกรุงเทพมหานครควรแบ่งออกเป็นปัญหาและอุปสรรคเพื่อนำไปสู่ยุทธศาสตร์ของการควบคุมในแต่ละมิติ แล้วจึงกำหนดเป็นแผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดและโครงการที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ และต้องวางแนวทางในการแก้ไขปัญหาและประเมินผลควบคู่กันไป อีกทั้งการรณรงค์ต่อต้านโรคพิษสุนัขบ้าที่ควรจะต้องมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการป้องกัน อีกทั้งบุคลากรไม่เพียงพอเพราะขาดงบประมาณในการว่าจ้างผู้บริหารควรกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญในการสนับสนุนเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง รวมทั้งควรมีเป้าหมายในการนำสุนัขทุกตัวทำการขึ้นทะเบียน และควบคุมสุนัขจรจัดให้อยู่ในพื้นที่จำกัด เช่น สถานสงเคราะห์ ศูนย์พักพิงสุนัขของเอกชนและภาครัฐเป็นต้น และควรส่งเสริมสนับสนุนเอกชนที่มีความประสงค์จะจัดตั้งเป็นมูลนิธิเพื่อดูแลปัญหาสุนัขจรจัด แต่ขอให้เพียงให้กรุงเทพมหานครสนับสนุนงบประมาณที่เกี่ยวข้องให้เท่านั้น ทั้งนี้ผู้บริหารจำเป็นจะต้องพิจารณาในแผนการดำเนินการที่มุ่งเน้นในการเข้าถึงปัญหาและจะต้องจริงจังในการผลักดันโครงการอันจะเกิดประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมปัญสุนัขจรจัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๓๔ ดรีมมี่ ร่วมด้วยช่วยฟื้นฟูผู้ประสบภัยหลังน้ำลด สมทบทุน-มอบสินค้าอุปโภคบริโภค และของใช้จำเป็น รวมมูลค่ากว่า 300,000
๐๕ พ.ย. กทม. เฝ้าระวังฝนฟ้าคะนอง-ลมกระโชกแรง เข้มตรวจสอบความแข็งแรงอาคารและป้ายโฆษณา
๐๙:๓๗ EXIM BANK แถลงผลการดำเนินงานเดือนมกราคม-กันยายน 2567 ปลดล็อกศักยภาพผู้ประกอบการไทยสู่เวทีโลก สร้างโลกเติบโตยั่งยืน
๐๙:๑๐ ไอ-เทล คอร์ปอเรชั่น ร่วมออกบูธในงาน Pet Fair Southeast Asia 2024 นำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง
๐๙:๒๗ มิลเลนเนียม ออโต้ กรุ๊ป กระตุ้นความเร้าใจเต็มสูบ กับ BMW 220i Gran Coupe M Sport ฟรีชุดแต่ง M Performance มูลค่าเกือบ 100,000 บาท จัดให้ในราคาพิเศษ 1.99 ล้านบาท เฉพาะที่โชว์รูม BMW Millennium
๐๙:๓๖ CMC ตอกย้ำความสำเร็จส่งท้ายปี ในงานมหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 46 ยอดจอง 145 ยูนิต มูลค่า 320 ล้านบาท
๐๙:๕๑ โพชงพลัส เครื่องดื่มสมุนไพร คว้ารางวัล BUSINESS PRODUCT OF THE YEAR AWARDS 2024
๐๙:๓๒ หุ้นกู้ RT ครั้งที่ 1/67 วันแรกกระแสตอบรับดี นักลงทุนสถาบัน-รายใหญ่ จองซื้อคึกคัก
๐๙:๔๘ อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ เปิดปรากฏการณ์ช้อป 'GREEN RETAIL STORE' สาขาสระบุรี แห่งที่ 33 ชู 'Zero Energy Building'
๐๙:๔๑ 8 หน่วยงานเซ็น MOU เพื่อดำเนินการร่วมกันด้านพลังงาน คมนาคม และสภาพภูมิอากาศ ภายใต้โครงการ TGC EMC ของเยอรมนี