ส่งเสริมความโปร่งใสของกรมศุลกากร

ศุกร์ ๐๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๐ ๑๐:๒๘
นายยุวรัตน์ กมลเวชช ประธานคณะกรรมการส่งเสริมความโปร่งใสและธรรมภิบาลของกรมศุลกากร (กปธ.) ชี้ปัญหาอุปสรรคด้านความโปร่งใสของกรมศุลกากร 5 ประการที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน คือ ขบวนการลักลอบและหลีกเลี่ยงศุลกากร การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการ กฎ ระเบียบที่ล้าสมัย การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการยังไม่เพียงพอ และปัญหาระบบการแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ พร้อมเสนอแนะให้ติดตั้ง CCTV เพิ่มเติมในจุดที่มีความเสี่ยง และนำระบบการแจ้งข้อมูลผู้โดยสารล่วงหน้า (Advance Passenger Information System : APIS) มาใช้ ที่สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทันที

นายยุวรัตน์ฯ กล่าวว่า “หลังจากที่กรมศุลกากรได้แต่งตั้งคณะกรรมการ กปธ. ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 คณะกรรมการฯ ได้ศึกษา วิเคราะห์ ปัญหาอุปสรรคเบื้องต้นในด้านความโปร่งใสและ ธรรมาภิบาลของกรมศุลกากรแล้วพบว่า สิ่งสำคัญที่กรมศุลกากรจะต้องดำเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน คือ ต้องขจัดต้นตอของขบวนการลักลอบและหลีกเลี่ยงศุลกากรอย่างจริงจัง โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากขบวนการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลในหลายระดับ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากเจ้ากระทรวงและรัฐบาล”

สำหรับการลดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการนั้น ปัจจุบันกรมศุลกากรได้นำระบบ e-Customs มาใช้การผ่านพิธีการศุลกากรซึ่งสามารถลดการพบปะระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการได้ระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังต้องพัฒนานำ IT มาเพิ่มบริการทางศุลกากรให้มากยิ่งขึ้น และมีมาตรการในการบริหารจัดการเครื่อง X-Ray, CCTV และ RFID ให้มีการใช้อย่างครอบคลุมทั่วถึงและเต็มศักยภาพ

ในการปฏิรูปกฎหมายศุลกากรและระเบียบที่เกี่ยวข้องนั้น ขณะนี้ได้มีการเร่งผลักดัน การแก้ไขเกี่ยวกับบทลงโทษ การคำนึงถึงเจตนา และการเก็บเงินเพิ่ม ซึ่งกำลังจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในเร็วนี้ ส่วนที่จะต้องเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว คือ การแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับเงินสินบนและรางวัลเฉพาะในส่วนที่อยู่ในอำนาจของอธิบดี และส่วนที่จะต้องดำเนินการต่อไป คือระบบเงินสินบนและรางวัล การวินิจฉัยพิกัดและราคาล่วงหน้าแบบผูกพัน ระยะเวลาการตรวจสอบย้อนหลัง และการกำหนดขั้นตอนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการตรวจสอบ

นอกจากนี้ กรมศุลกากรต้องให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้รับบริการได้ทราบถึงกำหนดระยะเวลาการให้บริการทางศุลกากรที่สำคัญและข้อมูลข่าวสารของศุลกากร จัดให้มีเวทีเพื่อปรึกษาหารือปัญหาอุปสรรค การรวมศูนย์ให้คำปรึกษาต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย ให้มาอยู่ภายในคลินิกศุลกากรเพียงแห่งเดียว นายยุวรัตน์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “กรมศุลกากรจะต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร โดยต้องเร่งสร้างศุลกากรมืออาชีพที่ซื่อสัตย์ สุจริต ต้องปฏิรูประบบการแต่งตั้ง โยกย้าย โดยให้มีการหมุนเวียนบุคลากร (rotation) ที่เหมาะสมและเป็นธรรม มีระบบที่แสดงถึงความก้าวหน้าในแต่ละตำแหน่ง การสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรใหม่ และมีระบบการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง”

สรุปผลศึกษา วิเคราะห์ ปัญหาอุปสรรคเบื้องต้นในด้านความโปร่งใสและธรรมาภิบาลของกรมศุลกากร

โดย คณะกรรมการส่งเสริมความโปร่งใสและธรรมภิบาลของกรมศุลกากร (กปธ.)

ปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะ

1. มีขบวนการที่เป็นต้นตอของปัญหาลักลอบและหลีกเลี่ยงศุลกากรที่เป็นปัญหารากเหง้าและสำคัญที่มีผลอย่างนัยสำคัญต่อปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เช่น ขบวนการลักลอบส่งออกไม้พะยูงขบวนการส่งออกตู้เปล่าเพื่อขอสิทธิคืนภาษี และขบวนการหลีกเลี่ยงภาษีจากการนำเข้ารถยนต์ เป็นต้น 1.ต้องขจัดต้นตอของขบวนการลักลอบและหลีกเลี่ยงศุลกากรอย่างจริงจัง โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากขบวนการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพลในหลายระดับจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการสนับสนุนจากเจ้ากระทรวงและรัฐบาล

2. การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการทำให้มีการใช้อำนาจดุลพินิจส่วนตัวและมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่ไม่พึงประสงค์ 2. ต้องนำITมาเพิ่มบริการทางศุลกากรให้มากยิ่งขึ้น เพื่อลดการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการ และมีมาตรการในการบริหารจัดการเครื่องX-Ray, CCTVและRFIDให้มีการใช้อย่างครอบคลุมทั่วถึงและเต็มศักยภาพ

3. ยังมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่ล้าสมัยและเป็นอุปสรรคต่อการอำนวยความสะดวก 3. ต้องปฏิรูปกฎหมายศุลกากรและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในส่วนที่ได้เร่งผลักดัน ซึ่งกำลังจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี คือ การแก้ไขเกี่ยวกับบทลงโทษ การคำนึงถึงเจตนา และการเก็บเงินเพิ่ม ในส่วนที่จะต้องเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว คือ การแก้ไขระเบียบเกี่ยวกับเงินสินบนและรางวัลเฉพาะในส่วนที่อยู่ในอำนาจของอธิบดี และในส่วนที่จะต้องดำเนินการต่อไป คือ ระบบเงินสินบนและรางวัล การวินิจฉัยพิกัดและราคาล่วงหน้าแบบผูกพัน ระยะเวลาการตรวจสอบย้อนหลัง และการกำหนดขั้นตอนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการตรวจสอบ

4. การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการกำกับตรวจสอบ ตลอดจนการมีช่องทางที่สะดวก รวดเร็วในการปรึกษาหารือปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ยังไม่เพียงพอ 4. ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้รับบริการในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการกำกับตรวจสอบให้มากยิ่งขึ้น เช่นกำหนดระยะเวลาการให้บริการทางศุลกากรที่สำคัญ จัดให้มีเวทีเพื่อปรึกษาหารือปัญหาอุปสรรค รวมศูนย์ให้คำปรึกษาต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายให้มาอยู่ภายในคลินิกศุลกากรเพียงแห่งเดียว และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของศุลกากรให้ทราบอย่างทั่วถึง เป็นต้น

ปัญหาและอุปสรรค ข้อเสนอแนะ

5. การสร้างบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพและส่งเสริมจริยธรรมให้บุคลากรอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งจำเป็นรวมทั้งระบบการแต่งตั้งโยกย้ายต้องปฏิรูปครั้งสำคัญให้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นกลางและเป็นธรรม 5. ต้องเร่งสร้างศุลกากรมืออาชีพที่ซื่อสัตย์ สุจริต ต้องปฏิรูประบบการอบรมทั้งระบบและพิจารณายกสถาบันวิทยาการศุลกากรให้เป็นวิทยาลัยศุลกากรมืออาชีพ ระบบการแต่งตั้ง โยกย้ายต้องได้รับการปฏิรูปโดยมีหลักการกว้าง ๆ ที่สำคัญ คือ

- ต้องมีระบบการหมุนเวียนบุคลากร (rotation) ไม่ควรให้บุคลากรอยู่ในตำแหน่งใดนานเกินไป บุคลากรที่ประจำอยู่ที่กันดารหรือมีความเสี่ยงสูงควรมีการกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสม เมื่อครบกำหนดเวลานั้นก็ต้องย้ายให้ไปทำงานในที่ใหม่ที่ดีกว่า หรือสภาพแวดล้อมดีกว่า

- ผู้ที่บรรจุเข้ารับราชการใหม่ ควรเริ่มทำงานในสำนักฯ ด้านวิชาการก่อนแล้วค่อยย้ายไปสำนักฯ ด้านปฏิบัติการ

- เส้นทางความก้าวหน้าควรมีความชัดเจน เช่น ก่อนที่จะเป็นนายด่านที่มีความสำคัญควรจะต้องผ่านนายด่านที่มีความสำคัญรองลงมาก่อน ทั้งยังเป็นการสั่งสมประสบการณ์และสร้างความแข็งแกร่งในการทำงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ

- สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่ ให้ทุกคนเห็นความสำคัญของทุกสำนักฯ เท่าเทียมกัน ไม่ควรคำนึงถึงแต่เพียงปัจจัยด้านผลตอบแทนทางการเงินเท่านั้น

- สร้างระบบการยกย่องและการให้ผลตอบแทน (รางวัล) จากการทำงานที่เป็นธรรมต่อบุคลากรทุกคน

- มีระบบการลงโทษผู้กระทำผิดอย่างจริงจัง มิใช่

ตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิดอย่างเป็นระบบ

อนึ่ง คณะกรรมการ กปธ. มีข้อเสนอแนะในการป้องกันปัญหาการลักลอบหรือหลีกเลี่ยงศุลกากรในพื้นที่ของสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ด้วยการติดตั้ง CCTV เพิ่มเติมในจุดที่มีความเสี่ยง และนำระบบการแจ้งข้อมูลผู้โดยสารล่วงหน้า (Advance Passenger Information System : APIS) มาใช้ โดยให้กรมศุลกากรสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ