รศ.ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ประกาศนำ สซ. เข้าสู่สากล พร้อมพัฒนางานวิจัยเคียงคู่สังคมทั้งภาครัฐ และเอกชน ในทุกภาคอุตสาหกรรม

จันทร์ ๐๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๐ ๑๔:๒๒
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ภายใต้การบริหารงานโดย รศ. ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ประกาศก้าวสู่ความเป็นสากล ดึงนักวิจัยจากต่างประเทศเข้าร่วมงานวิจัยกับสถาบันฯ พร้อมพัฒนางานวิจัยเคียงคู่หน่วยงานจากภาคธุรกิจ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ในทุกภาคอุตสาหกรรมไทย ตลอดจนเตรียมความพร้อมเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการเทคโนโลยีซินโครตรอนระดับนานาชาติในปี 2554

รศ.ดร.ชัยวิทย์ ศิลาวัชนาไนย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดแถลงวิสัยทัศน์ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งบริหาร สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ว่า ตามที่ตนได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบัน ตามมติคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มีผลนับแต่วันที่ 11 มกราคม 2553 ที่ผ่านมานั้น การดำเนินงานของห้องปฏิบัติการแสงสยาม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินตามพันธกิจ ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์สู่ความเป็น “สถาบันวิจัยแห่งชาติ ที่มีศักยภาพในการดำเนินการ และส่งเสริมการวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” ภายใต้การกำกับนโยบายของคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ทุกชุดทั้งในอดีตถึงปัจจุบัน ต่างได้วางรากฐานที่เข้มแข็งในด้านวิชาการและบริหาร พร้อมทั้งการพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเป็นห้องปฏิบัติการวิจัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และพร้อมที่จะก้าวสู่ความเป็นมาตรฐานสากลได้อย่างสมภาคภูมิในประชาคมวิจัยโลก

พุทธศักราช 2553 การดำเนินนโยบายบริหารจากนี้ไป จะมุ่งพัฒนาและขับเคลื่อนสถาบันในฐานะองค์การมหาชน ที่มุ่งสู่ผลลัพธ์ของงาน สอดประสานในทุกภารกิจ ทั้งการวิจัยและพัฒนา การใช้ประโยชน์จากแสงซินโครตรอน การให้บริการแสงซินโครตรอน การส่งเสริมการถ่ายทอด การสร้างความตระหนักรู้ในเทคโนโลยีแสงซินโครตรอน ด้วยการประสานภารกิจ ร่วมคิด ร่วมทำ ของบุคลากรทุกระดับ โดยจะยึดมั่นในมาตรฐานจริยธรรมอันเป็นค่านิยมหลักของสถาบัน มุ่งผลลัพธ์ของงานที่ตอบสนองผู้มีส่วนได้เสียตั้งแต่ระดับท้องถิ่นถึงระดับประเทศ โดยจะร่วมกันการพัฒนา เสริมสร้างระบบบริหารงานให้ดียิ่งขึ้นตามหลักธรรมาภิบาล และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

รศ.ดร.ชัยวิทย์ กล่าวว่า “จากศักยภาพของเครื่องกำเนิดแสงสยามและกำลังบุคลากร ที่สามารถผลิตแสงซินโครตรอนให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง การพัฒนาและติดตั้งระบบลำเลียงแสงที่ตรงกับความต้องการของประชาคมวิจัยไทย เพิ่มขึ้นอีก 3 ระบบคือ ระบบลำเลียง Small Angle X-rays Scattering:SAXS เพื่อศึกษาโครงสร้างวัสดุในระดับนาโนเมตร เช่น โพลิเมอร์ หรือโปรตีน ระบบลำเลียง Photoelectron Emission Microscopy: PEEM เพื่อใช้ในการศึกษาพื้นผิวของวัสดุจากอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาเมื่อแสงซินโครตรอนตกกระทบ

และระบบลำเลียงแสง X-ray Absorption spectroscopy/ ProteinCrystallo graphy เพื่อการศึกษาโครงสร้างของผลึกโปรตีน เป็นต้น การร่วมทุนสร้าง SUT-NANO-SLRI Beamline สำหรับงานวิจัยด้านนาโน รวมถึงความพร้อมถ่ายทอดวิศวกรรมย้อนรอยสู่ภาคเอกชน สถาบันฯ จะแสวงหาพันธมิตรทั้งภาควิชาการและอุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับจะต้องแสดงบทบาทความเป็นเลิศในเวทีสากล โดยเพิ่มผลงานตีพิมพ์นานาชาติ และการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดประชุมวิชาการเทคโนโลยีซินโครตรอนระดับนานาชาติในปี 2554 ที่จะถึงนี้”

งานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน

โทรศัพท์ 0-4421-7040 ต่อ 252 โทรสาร 0-4421-7404 อีเมล : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO