อย่างไรก็ตาม ในช่วงจังหวะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลงนั้น คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีการปรับเปลี่ยนอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และอัตราเงินชดเชยใหม่สำหรับน้ำมันในกลุ่มเบนซิน เพื่อเพิ่มส่วนต่างระหว่างราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 และ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 จากเดิม 0.80 บาท/ลิตร เป็น 1.50 บาท/ลิตร ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจูงใจให้ประชาชนหันใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ให้มากขึ้น โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ. 53 เป็นต้นไป
ทำให้ ปตท. สามารถประกาศข่าวดี ปรับลดราคาขายปลีกน้ำมันได้ โดยปรับราคาแก๊สโซฮอล์ 91 ลง 70 สตางค์/ลิตรและกลุ่มดีเซลลง 50 สตางค์/ลิตร ส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งแต่วันนี้ (9 ก.พ.53) เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป ดังนี้
หน่วย: บาท/ลิตร
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85 (พีทีที E85 พลัส) 18.72
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 (พี่ทีที E20 พลัส) 30.44
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 (พีทีที แก๊สโซฮอล์ พลัส 95) 32.74
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 (พีทีที แก๊สโซฮอล์ พลัส 91) 31.24
น้ำมันเบนซิน 91 (พีทีที อัลฟา เอ็กซ์ 91) 36.34
น้ำมันไบโอดีเซล (พีทีที B5 พลัส) 26.39
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (พีทีที เดลต้า เอ็กซ์) 27.59
นายวิทยา กล่าวต่อไปว่า การปรับราคาในครั้งนี้ สำหรับกลุ่มดีเซล เป็นการปรับเนื่องจากต้นทุนที่ลดลงตามราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดโลกตามปกติ ส่วนกลุ่มเบนซินนั้น เป็นการปรับตามการเปลี่ยนแปลงของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ดังนั้น จึงสามารถปรับลดราคาขายปลีกได้เฉพาะน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 เท่านั้น เพื่อปรับส่วนต่างระหว่างราคาขายปลีกของแต่ละผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปตามนโยบายภาครัฐฯ และสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มีการปรับลดราคาขายปลีกนั้น กบง. ได้เรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ราคาขายปลีกไม่ได้ถูกปรับลดลง จึงขอให้ประชาชนทำความเข้าใจรายละเอียดดังกล่าวด้วย และขอยืนยันว่าการปรับราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศนั้น มีทิศทางสอดคล้องกับราคาน้ำมันในตลาดโลกเสมอ แต่อย่างไรก็ตาม นโยบายภาษีและกองทุนต่างๆ ของภาครัฐฯ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนราคาด้วยเช่นกัน ดังเช่นการปรับราคาในครั้งนี้ และขอให้วางใจได้ว่า ปตท.จะทำหน้าที่ดูแลราคาขายปลีกในประเทศอย่างดีที่สุด
ฝ่ายสื่อสารองค์กร บมจ.ปตท.
โทร 0-2537-2532