นิด้า จัดสัมมนาประเมินคลื่นความถี่ 3G หวังเป็นทางเลือกภาครัฐก่อนตัดสินใจเปิดประมูลคลื่น

อังคาร ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๐ ๑๑:๔๘
ทีมงานการเงิน นิด้า จัดสัมมนาเชิงวิชาการ “การประเมินคลื่นความถี่โทรคมนาคม กรณี 3G ของไทย” ระดมความเห็นจากผู้เกี่ยวข้องกำหนดวิธี รูปแบบ และประเมินมูลค่าความถี่ หวังแนะเป็นทางออกในการเลือกการประมูลใบอนุญาต 3G ให้กับภาครัฐ ใช้เป็นทางออกในการให้ใบอนุญาต 3G ในอนาคต

รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือนิด้า และหัวหน้าทีมคณะทำงานวิจัย เปิดเผยว่า คณะทำงานได้ทำวิจัยถึงแนวทางการประเมินมูลค่าของคลื่นโทรคมนาคม ที่เน้นกรณีศึกษาของการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่สำหรับโทรศัพท์ในระบบ 3G ของไทย โดยมีการรวบรวมการทำวิจัยจากหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่ได้ทำการประเมินมูลค่าทางการเงิน ซึ่งมีรูปแบบการประเมินหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบทางเศรษฐมิติ การใช้วิธีหาค่าปัจจุบันของกระแสเงินสด และอื่นๆ รวมทั้งการเตรียมเสนอวิธีการประเมินมูลค่าทางการเงินที่ยังไม่มีการประเมินสำหรับ 3G ของไทย เพี่อใช้เป็นแนวทางให้กับภาครัฐได้เลือกและเห็นถึงข้อดีข้อเสียของแต่ละวิธีที่จะนำมาใช้ในการออกใบอนุญาต 3G ให้กับผู้ประกอบการในอนาคต

และเพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้กับผู้สนใจ คณะทำงานจึงได้จัดงานสัมมนาวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “การประเมินคลื่นความถี่โทรคมนาคม กรณี 3G ของไทย” เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยในครั้งนี้ พร้อมระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ และปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องคำนึงถึงในการประเมิน 3G ของไทย โดยจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553 ตั้งแต่เวลา 13.30-16.00 น. ที่ห้องประชุมชั้น 5 อาคารบุญชนะ อัตถากร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนา ประกอบด้วย ผศ.ดร.กำพล ปัญญาโกเมศ รศ.ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา รศ.ดร.บวร ปภัสราทร รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ คุณไพบูลย์ นลินทรางกูร และ คุณอรุณ จิรชวาลา ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมรับฟังการสัมมนาได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยโทรศัพท์ไปสอบถามได้ที่ 02-727-3981

“ผู้ที่เข้าร่วมฟังสัมมนาครั้งนี้จะได้รับทราบถึงหลักการประเมินใบอนุญาต 3G ว่ามีแนวคิดที่มาในการตั้งราคาใบอนุญาตอย่างไร และปัจจัยในเรื่องราคามีผลมากน้อยเพียงใดต่อการพัฒนาโทรคมนาคมของไทยและผู้บริโภคจะได้ประโยชน์อย่างไร จากการเปิดให้บริการ 3G ที่เป็นคลื่นโทรศัพท์ยุคใหม่ที่สามารถส่งทั้งข้อมูลด้านภาพและเสียงได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น” รศ.ดร.เอกชัย กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ