กทม.เตรียมการป้องกัน พร้อมรับมือภัยแล้งปี53

พุธ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๐ ๐๘:๔๒
นายยุทธศักดิ์ ร่มฉัตรทอง ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมการเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2553 ครั้งที่ 1/2553 โดยมีผู้แทนสำนัก ผู้แทนกลุ่มเขต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร

เนื่องจากช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็นช่วงฤดูแล้ง มีสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ และน้ำเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่เขตชั้นนอกของกรุงเทพมหานครที่น้ำประปายังเข้าไปไม่ถึงพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน การเกษตรกรรมและการปศุสัตว์ อีกทั้งสภาพอากาศแห้งแล้งในช่วงดังกล่าว อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย โดยเฉพาะอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ ชุมชนแออัด สถานประกอบการ และย่านการค้าต่างๆ สำหรับแผนดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ได้แบ่งระดับความรุนแรงของปัญหาเป็น 2 ระดับ คือ ระดับทั่วไป เป็นปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยศูนย์ปฏิบัติการและแก้ไขปัญหาภัยแล้งระดับเขต จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การช่วยเหลือและสนับสนุน ส่วนระดับรุนแรง เป็นปัญหาภัยแล้งที่มีความรุนแรง ต้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานครและหน่วยงานภายนอก ซึ่งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งกรุงเทพมหานคร จะเป็นผู้รับผิดชอบจัดตั้งกองอำนวยการร่วมส่วนหน้า ณ พื้นที่เขตที่เกิดปัญหาภัยแล้งรุนแรง โดยจัดเจ้าหน้าที่พร้อมวัสดุอุปกรณ์ รถบรรทุกน้ำ รถดับเพลิงจากสำนักงานที่เกี่ยวข้องและสำนักงานเขต

ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยดำเนินการจัดตั้งศูนย์อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ประจำปี 2553 เพื่อทำหน้าที่อำนวยการสนับสนุนประสานสำนัก สำนักงานเขต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การประสานการประปานครหลวงในการสนับสนุนน้ำประปาโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่ประสบความเดือดร้อนขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้ ตลอดจนเตรียมพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ ในการปฏิบัติงานเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย สำนักการระบายน้ำ ประสานกรมทรัพยากรน้ำและกรมชลประทานในการผันน้ำเข้าคูคลอง เพื่อการเกษตรกรรม การปศุสัตว์และการคมนาคมทางน้ำ รวมทั้งการป้องกันน้ำเค็ม สำนักการโยธา ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ล้มจากพายุลมแรงในช่วงฤดูแล้ง รวมทั้งตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยของอาคาร สำนักพัฒนาสังคม ประสานสำนักงานเกษตรกรุงเทพมหานครและปศุสัตว์กรุงเทพมหานคร ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย การฝึกอาชีพแก่ผู้ใช้แรงงานที่เดินทางมาหางานทำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำนักสิ่งแวดล้อม สนับสนุนรถบรรทุกน้ำพร้อมเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ที่จำเป็น สำนักการแพทย์และสำนักอนามัย จัดเตรียมยารักษาโรค เวชภัณฑ์ และหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ออกให้ความช่วยเหลือประชาชน และควบคุมโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้น

ทางด้านสำนักงานเขต ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งระดับเขต ให้ประชาชนเตรียมการสำรองน้ำและใช้น้ำอย่างประหยัดคุ้มค่า การกำหนดจุดจ่ายน้ำดื่ม น้ำใช้ รวมทั้งการตรวจสอบคูคลอง แหล่งน้ำ บ่อน้ำบาดาล ให้อยู่ในสภาพใช้การได้ การจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆในการระงับอัคคีภัย เช่น ถังดับเพลิงในชุมชน รถน้ำ เครื่องสูบน้ำชนิดหาบหาม การสำรวจพื้นที่เสี่ยงภัย เช่นอาคารขนาดใหญ่ อาคารสูง ชุมชนแออัด และย่านการค้าที่มีประชาชนหนาแน่น ตลอดจนสถานประกอบการที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย สำรวจเส้นทางเข้าออกชุมชน แหล่งน้ำและหัวจ่ายน้ำดับเพลิง ประปาหัวแดง ให้พร้อมใช้งานเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ