เปิดตัวแบรนด์ Global SACICT 2011 ยกระดับงานศิลป์ไทยสู่สายตาชาวโลก

พุธ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๐ ๑๓:๔๘
ด้วยการแถลงวิสัยทัศน์โดยนายกุญญพันธ์ แรงขำ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. และได้รับเกียรติกล่าวรับทราบการดำเนินงานโดย ฯพณฯ องคมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร งานแถลงข่าว Global SACICT 2011 จึงได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการในวันนี้ ภายหลังจากการนำเสนอการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. ตลอดจนการสร้างแบรนด์ SACICT เพื่อให้เป็นแบรนด์สินค้าระดับโลกของคนไทย

งานแถลงข่าวครั้งนี้ ได้จัดขึ้น ณ ห้องประชุม 2 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์แก่บรรดาแขกผู้มีเกียรติ นักธุรกิจ นักลงทุนและสื่อมวลชนที่เข้าร่วมงาน ภายใต้ธีม “Global SACICT 2011 - เอกลักษณ์งานศิลป์ แผ่นดินไทย สู่สากล” โดย Global SACICT 2011 เป็นแผนงานสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ ซึ่งดำเนินงานโดยศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่าประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. ภายใต้กรอบการทำงานที่เรียกว่า “Matrix Model” ของ Mr. Massimo Zucchi นักออกแบบชื่อดังของอิตาลี เจ้าของผลงานแบรนด์ชั้นนำมากมาย อาทิ นาฬิกาโรเล็กซ์ เครื่องประดับบูการี ฯลฯ

นายกุญญพันธ์ แรงขำ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ ศ.ศ.ป. กล่าวว่า “แนวคิดแบบ Matrix Model เริ่มตั้งแต่กระบวนการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ควบคู่กันไปกับการทดลองตลาดเพื่อสร้างความมั่นใจว่า รูปแบบของสินค้าที่ได้รับการออกแบบจะได้รับการตอบสนองจากลูกค้าในตลาดอย่างแน่นอน ซึ่งจะส่งผลถึงการคุ้มทุนในการผลิตสินค้าและผลกำไร ด้วยการดำเนินงานตามกระบวนการดังกล่าว ตลอดจนความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากสายงานผลิตนั่นคือ ‘ศูนย์ศิลปาชีพ’ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมาชิกของศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการผลิตสินค้าศิลปหัตถกรรมของไทยมาช้านาน จึงสามารถมั่นใจได้ว่า สินค้าของคนไทยจะสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและดำรงสถานะผู้นำทางการตลาดเทียบเคียงคู่แข่งแบรนด์ระดับโลกอื่นๆ ได้ ทั้งนี้ ยังถือเป็นการนำศิลปหัตถกรรมของไทยให้ก้าวขึ้นสู่อีกระดับแห่งมาตรฐานโลก

“อีกประการหนึ่ง โครงการ Global SACICT 2011 มีวัตถุประสงค์เืพื่อการกระจายรายได้จากเมืองสู่ชนบทตามแนวคิด ‘Local to Global’ ด้วยการประยุกต์ใช้กระบวนการผลิตและงานออกแบบที่ได้้มาตรฐาน ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ จะได้รับการสนับสนุนให้สามารถบูรณาการภูมิปัญญาด้านงานฝีมือซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษของคนไทย เข้ากับกระบวนการออกแบบและการตลาดสมัยใหม่ ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่สูงขึ้นและนำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่นของตนมากยิ่งขึ้นตามลำดับ กล่าวโดยสรุปนั้น หัวใจของโครงการ Global SACICT 2011 คือ

“สร้างอุปสงค์ใหม่ในต่างประเทศ ย้อนกลับมากระตุ้นกระแสอุปสงค์ในประเทศ เกิดกระบวนการปรับอุปทานที่นำโดยตลาดโลก และขบวนการทำงานร่วมกันโดยคนไทยและนานาชาติ”

ขณะนี้ แบรนด์ SACICT กำลังอยู่ในขั้นตอนของดำเนินการสร้างสรรค์แนวคิดและรูปแบบ ขอเชิญมาสัมผัสกับพัฒนาการครั้งสำคัญของงานออกแบบไทยได้ ในงานแสดงสินค้า BIG & BIH ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือนเมษายน 2553 นี้”

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ