ศรีปทุมโพล ระบุ รัฐยังดูแลศิลปินแห่งชาติไม่ดีพอควรเผยแพร่ผลงานให้มากกว่านี้

ศุกร์ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๐ ๑๓:๕๙
สำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้จัดทำโครงการ “ศรีปทุมโพล” โดยได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 3,000 คน ถึงทัศนคติของประชาชนที่มีต่อศิลปินแห่งชาติ เนื่องในโอกาสที่ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันศิลปินแห่งชาติ ซึ่งดร.ปิยากร หวังมหาพร ผู้อำนวยการสำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้สรุปผลสำรวจดังนี้

เมื่อถามถึงรางวัลศิลปินแห่งชาติ ประชาชน ร้อยละ 18.57 เห็นว่าเป็นรางวัลอันทรงเกียรติ ที่น่าภาคภูมิใจ, เห็นว่าเป็นรางวัลที่น่ายกย่อง ชมเชย ร้อยละ 17.67, เห็นว่าเป็นรางวัลที่มาจากความสามารถอย่างแท้จริง ร้อยละ 13.33, เห็นว่าเป็นรางวัลของผู้ที่ดำรงศิลปวัฒนธรรมด้วยใจอย่างแท้จริง ร้อยละ 13.23, เห็นว่าเป็นรางวัลที่มีประโยชน์ต่อสังคม ร้อยละ 12.53, เห็นว่าเป็นรางวัลที่ยกย่องขึ้นมาเท่านั้นไม่มีอะไรเป็นพิเศษ ร้อยละ 11.67, เห็นว่าเป็นรางวัลที่ไม่โปร่งใส ไม่ทราบว่ามีกระบวนการตัดสินอย่างไร ร้อยละ 7.10, เห็นว่าเป็นรางวัลที่ไม่เหมาะสม เพราะมีคนเก่งกว่านี้แต่ไม่ได้รับรางวัล ร้อยละ 5.80 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.10

ส่วนเมื่อถามว่าทราบหรือไม่ว่าถ้าเป็นศิลปินแห่งชาติจะได้รับสวัสดิการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินเดือน ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 42.90 ไม่ทราบเลยว่าศิลปินแห่งชาติจะได้รับสวัสดิการ, ส่วนอีกร้อยละ 35.57 เคยได้ยินว่ามีสวัสดิการ แต่ไม่ทราบรายละเอียดว่าอย่างไร แต่ยังมีผู้ที่ทราบ ถึงร้อยละ 21.53

สำหรับความคิดเห็นต่อรัฐบาลถึงการดูแลด้านสวัสดิการแก่ศิลปินแห่งชาติ ประชาชนส่วนใหญ่ ยังเห็นว่าไม่ดีพอ ร้อยละ 51.46, เห็นว่าเหมาะสม ร้อยละ 45.01 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 3.53 โดยประชาชนให้เหตุผลว่า เหมาะสม เพราะ เป็นศิลปินที่ทรงคุณค่าที่สามารถช่วยถ่ายทอดงานศิลปะให้ชนรุ่นหลังต่อไป ร้อยละ 15.60, เห็นว่าไม่ดีพอ เพราะ ไม่ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักศิลปินแห่งชาติอย่างกว้างขวาง ร้อยละ 14.70, เห็นว่าไม่ดีพอ เพราะ รัฐบาลไม่ได้ดูแลศิลปินแห่งชาติอย่างจริงจัง ยกย่องขึ้นมาแต่ทิ้งขว้างศิลปิน ร้อยละ 14.13, เห็นว่าไม่ดีพอ เพราะ รัฐบาลสนใจแก้ปัญหาเศรษฐกิจ และการเมืองเป็นส่วนใหญ่ไม่สนใจงานศิลปะ ร้อยละ 13.93, เห็นว่าเหมาะสม เพราะ ทำงานดำรงศิลปวัฒนธรรมมาตลอดชีวิตถึงได้รางวัลนี้ ร้อยละ 13.73, เห็นว่าเหมาะสม เพราะ สวัสดิการไม่มากไม่น้อยเกินไป กำลังพอดี ร้อยละ 9.03, เห็นว่าไม่ดีพอ เพราะ รัฐบาลสนใจกีฬา (เช่น นักกีฬายกน้ำหนักเหรียญทองโอลิมปิค) มากกว่าผู้ดำรงศิลปวัฒนธรรม ร้อยละ 8.70, เห็นว่าเหมาะสม เพราะเศรษฐกิจประเทศไม่ค่อยดีได้เงินเดือนพิเศษเดือนละ 20,000 บาท เพียงพอแล้ว ร้อยละ 6.63 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 3.53

ส่วนแนวทางที่จะส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักศิลปินแห่งชาติเพิ่มมากขึ้นนั้น ประชาชนเห็นว่าควรส่งเสริมให้นำผลงานของศิลปินแห่งชาติมาจัดนิทรรศการตามสถานที่ต่างๆ เช่น สถาบันการศึกษา เป็นต้น ร้อยละ 24.43, เห็นว่าควรจัดตั้งศูนย์ด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับผู้สนใจศึกษาและสนใจดำรงศิลปวัฒนธรรมเข้าศึกษากับศิลปินแห่งชาติ ร้อยละ 19.10, เห็นว่าควรส่งเสริมให้ศิลปินแห่งชาติถ่ายทอดองค์ความรู้ตามสถาบันการศึกษา เช่น วิทยากร อาจารย์พิเศษ ร้อยละ 16.70, เห็นว่าควรเผยแพร่ผลงานผ่านเว็บไซต์ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ร้อยละ 12.53, เห็นว่าควรส่งเสริมให้ศิลปินแห่งชาติเป็นที่ปรึกษาให้แก่ นักวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรม ร้อยละ 10.47, เห็นว่าควรนำผลงานของศิลปินแห่งชาติสอดแทรกในหลักสูตรการศึกษา ร้อยละ 10.27, เห็นว่าควรแปลผลงานของศิลปินเป็นภาษาต่างประเทศเพื่อให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากขึ้น ร้อยละ 6.27 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.23

โดยดร.ปิยากร ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่าประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกยินดีภาคภูมิใจกับรางวัลศิลปินแห่งชาติมาก ด้วยเหตุผลว่าเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่น่าภาคภูมิใจ น่ายกย่องชมเชย เป็นรางวัลที่มาจากความสามารถอย่างแท้จริง และเป็นรางวัลที่มีประโยชน์ต่อสังคม แต่มีประชาชนกว่าร้อยละ 25 มองว่ารางวัลศิลปินแห่งชาติเป็นรางวัลที่ยกย่องขึ้นมาเท่านั้นไม่มีอะไรเป็นพิเศษ เป็นรางวัลที่ไม่โปร่งใสไม่ทราบว่ามีกระบวนการตัดสินอย่างไร และเป็นรางวัลที่ไม่เหมาะสมเพราะมีคนเก่งกว่านี้แต่ไม่ได้รับรางวัล ซึ่งชี้ให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดการประชาสัมพันธ์ถึงความสำคัญของรางวัลและเกณฑ์ในการตัดสิน อย่างไรก็ดีประชาชนกว่า 3 ใน 4 มองว่าศิลปินแห่งชาติคือปูชนียบุคคลอันทรงเกียรติและน่าภาคภูมิใจ เป็นผู้ที่มีความสามารถและดำรงศิลปวัฒนธรรมอย่างแท้จริง และที่สำคัญคือมองว่าเป็นรางวัลที่มีประโยชน์ต่อสังคมเพราะศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดมายาวนาน

ดังนั้นการจัดสวัสดิการ เช่น ค่ารักษาพยาบาล เงินประจำเดือน จึงเป็นสิ่งที่รัฐพึงกระทำ แต่ประเด็นนี้ประชาชนกว่าครึ่งไม่ทราบถึงสวัสดิการที่รัฐมีให้ อาจจะเป็นเพราะการประชาสัมพันธ์อีกเช่นกันทำให้ประชาชนไม่ทราบเรื่องสวัสดิการต่างๆที่ศิลปินแห่งชาติได้รับ ตลอดจนประชาชนส่วนใหญ่มากกว่าครึ่งมองว่ารัฐบาลดูแลด้านสวัสดิการแก่ศิลปินแห่งชาติไม่ดีพอ เนื่องจากการขาดการให้ความสำคัญอย่างจริงจัง ยกย่องขึ้นมาแต่ทิ้งขว้างศิลปิน รัฐบาลสนใจแต่ปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง กีฬา มากกว่าผู้ดำรงศิลปวัฒนธรรมอย่างเช่นศิลปินแห่งชาติ สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางการส่งเสริมให้ศิลปินแห่งชาติเป็นที่รู้จักมากขึ้นนั้น ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า การส่งเสริมให้นำผลงานของศิลปินแห่งชาติมาจัดนิทรรศการตามสถานที่ต่างๆ การจัดตั้งศูนย์ด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาและสนใจดำรงศิลปวัฒนธรรมเข้าศึกษากับศิลปินแห่งชาติ การ ส่งเสริมให้ศิลปินแห่งชาติถ่ายทอดองค์ความรู้ตามสถาบันการศึกษา เช่น เป็นวิทยากร เป็นอาจารย์พิเศษ เป็นแนวทางที่ภาครัฐควรเร่งดำเนินการเพื่อให้ศิลปินแห่งชาติเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ