สำหรับในส่วนของไทยเอง สหรัฐฯก็ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าสินค้าที่มีส่วนผสมจากปศุสัตว์ (Meat and Poultry) ทั้งสด แช่เย็น/แช่แข็ง และแปรรูป ทุกชนิดจากไทยเช่นเดียวกันกับจีน เนื่องจากสหรัฐฯให้เหตุผลด้านสุขอนามัย โดยมีความกังวลเกี่ยวกับเชื้อโรค Salmonella ในฟาร์มของไทย
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมาไทยมีการส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไปยังสหรัฐฯ โดยใช้กลิ่น Artificial แทนการใช้เนื้อสัตว์ (Beef, Pork and Chicken) ในการผลิตเพื่อส่งออก โดยปฏิบัติตามระเบียบ FDA สหรัฐฯ ดังนี้
1. ใบรับรองจากกรมปศุสัตว์ไทยแนบไปพร้อมกับสินค้าทุก shipment ว่าเป็นกลิ่น Artificial
2. ใบรับรองผลทดสอบจากห้องปฏิบัติการ (Micro Lab Test) จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ หรือบริษัทรับตรวจสอบของเอกชนในไทยที่ได้รับอนุญาตจาก FDA สหรัฐฯแล้ว เช่น Intertrek Testing และ SGS
3. ฉลากสินค้าต้องระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเป็น “Artificial Flavor”
4. สำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีรสอาหารทะเล เช่น ต้มยำกุ้ง (Shrimp Flavor) ผู้ส่งออกสามารถใช้วัตถุดิบกุ้งในการผลิตได้ (Natural Flavor) เพราะ FDA สหรัฐฯ อนุญาตการนำเข้า seafood จากไทย โดยต้องแนบรับรองสุขอนามัยจากกรมประมงไทยไปพร้อมกับสินค้าทุก shipment
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากผู้ส่งออกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแล้ว ผู้ส่งออกอาหารแปรรูปทุกชนิดของไทยต้องระมัดระวังการผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯโดยสินค้าอาหารจากไทยต้องไม่มีส่วนประกอบจากปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ ยกเว้นสินค้าอาหารแปรรูปที่มีส่วนผสมจากไข่ (Processed Egg Product) เช่น ขนมไหว้พระจันทร์ ขนมหม้อแกง ผงทำสังขยา เกี้ยวกุ้ง บะหมี่ ขนมจีบ และผัดไท ซึ่งสหรัฐฯอนุญาตให้ไทยสามารถส่งออกได้ โดยมีขั้นตอนการขออนุญาต FDA ดังนี้
1. ต้องทำการขอ Import Permit ทุก Shipment โดยต้องส่งขั้นตอนกระบวนการผลิตให้ หน่วยงานAnimal Plant Health Inspection Service (APHIS) ของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ตรวจสอบก่อนการส่งออก
2. ต้องให้กรมปศุสัตว์ไทยรับรอง Heat Treatment และเวลาที่ใช้ในกระบวนการผลิต
นอกจากนี้ผู้ผลิตสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าปศุสัตว์ที่สหรัฐฯอนุญาตให้นำเข้าได้จากเวปไซด์ของUSDA: http://www.fsis.usda.gov/PDF/Countries_Products_Eligible_for_Export.pdf