นายกิตพล เชิดชูกิจกุล ประธานสภากรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังนำคณะสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 10 ท่านเยือนกรุงโซล ประเทศสาธารณรัฐเกาหลีใต้ ตามโครงการสภาบ้านพี่เมืองน้องและศึกษาดูงานการจัดการระบบสารสนเทศ โดยได้เข้าเยี่ยมชมในส่วนของศูนย์จัดการระบบคมนาคม และข้อมูลข่าวสาร ( Topis ) และศูนย์คอลเซ็นเตอร์ ( Dasan 120 ) ซึ่งมีความทันสมัย สามารถตอบคำถามและให้ข้อมูลแก่ประชาชนในกรุงโซล ได้ดีเกือบ 100% ประชาชนมีความพึงพอใจในการบริการอย่างมากในศูนย์ฯ แห่งนี้ ซึ่งเป้าหมายสำคัญของการมาครั้งนี้เพื่อต้องการนำระบบการบริหารจัดการจราจรของศูนย์ ( Topis ) มาปรับใช้กับกรุงเทพมหานคร โดยจะนำรูปแบบวิธีการมอบให้กับ คณะกรรมการการจราจรและขนส่ง ระบายน้ำ สภากทม. ลงพื้นที่ดูแลสภาพข้อเท็จจริงว่าน่าจะปรับประยุกต์เปลี่ยนใช้กับ กทม.ตรงไหนได้บ้าง
นายกิตพล กล่าวว่า เนื่องจากปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร มีหน่วยงานที่ต่างฝ่าย ต่างทำงาน ไม่มีศูนย์กลางคอยบริหาร อีกทั้งมีสารพันปัญหาที่ต้องคอยตามแก้ไขตลอดเวลา งบประมาณ 4,000 — 5,000 ล้านบาทในแต่ละปี ก็ยังไม่มีการบริหารงานที่เบ็ดเสร็จ สภากทม.จึงมีแนวคิดที่จะนำเรื่องระบบสารสนเทศ เข้ามาบริหารปรับปรุงงานพัฒนาอย่างเป็นระบบ ทั้งงานด้านบริการ , งานแผนที่GTS, การจัดเก็บค่าธรรมเนียมขยะ ซึ่งอาจจะใช้เครื่องมือ PDA จัดเก็บข้อมูล รวมถึงระบบการร้องเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งประชาชนเวลาเกิดปัญหา ก็ไม่ต้องมาที่สำนักงานเขต สามารถติดต่อผ่านเทคโนโลยี อ าทิ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ sms วิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น, ซึ่งผู้บริหารสำนักงานเขตจะได้ทราบข้อมูล สามารถที่จะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที มีการทำงานอย่างเป็นระบบ, การเก็บภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน ประชาชนสามารถเสียภาษีผ่านระบบได้ หากไม่มาเสียตามกำหนดเวลา ก็อาจมีโทษค่าปรับสูงสุดได้, การก่อสร้าง ประชาชนสามารถขอใบอนุญาต ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งหน่วยงานจะมีเจ้าหน้าที่ดูแล คล้ายๆประเทศอเมริกา และการผังเมือง ซึ่งทางสำนักฯเองหากใช้ระบบสารสนเทศ จะทำให้ทราบว่าในแต่ละพื้นที่นั้น มีที่ไหนบ้างที่มีปัญหา ซึ่งหากเกิดปัญหาเรื่องผังเมืองขึ้นมา ก็สามารถใช้อำนาจ หน้าที่ ตามที่กฎหมาย ให้กทม.ดำเนินการได้ต่อไป
สำหรับศูนย์บริหารจัดการคมนาคมและข้อมูลข่าวสาร ( Seoul Transport Operation and Information Service ) “Topis” เป็นศูนย์ฯที่มีการทำงานได้ผลดีเยี่ยม เป็นระดับต้นๆ ของเอเชีย ซึ่งมีการบริหารจัดการจราจรอย่างเต็มรูปแบบ และยังนำเทคโนโลยี ในทุกกๆด้าน มาใช้เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายใยแมงมุม อยู่ในที่เดียวกัน ใช้หลักวิทยาศาสตร์ และคลังข้อมูลคอมพิวเตอร์ มาประมวลฟืผล รายงานสภาพการจราจร แบบเสมือนจริงทุกๆนาที ซึ่งเทคโนโลยี ทีนำมาใช้อาทิ ITS ( Intelligent Transport System ) การรวมโครงข่ายตำรวจ, หน่วยกู้ภัย, ปริมาณรถ, ภาพจาก CCTV และข้อมูลจากบัตรเครดิต ที่ประชาชนในกรุงโซลใช้มากที่สุด มาเป็นฐานข้อมูล ทำให้ทางศูนย์ฯสามารถป้อนข้อมูลที่เป็นประโยชน์กลับไปยังประชาชน ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งสองทาง ผ่านทางโทรศัพท์ อินเตอร์เนต และ SMS ต่างๆ, ระบบ BMSC (Operation Information of bus/ of subway) ศูนย์ฯได้ใช้ GPS ในการติดตั้งรถเมล์ทุกคัน จะมีป้ายบอกข้อมูลของรถเมล์ ตามป้ายต่างๆ ซึ่งประชาชนจะสามารถทราบข้อมูลหมายเลขรถที่ตนจะโดยสารไปได้เลยว่าขณะนี้มีสายไหนมาบ้าง ใช้เวลาเท่าไหร่, ระบบ CCTV แบบอัตโนมัติ สามารถมอนิเตอร์ผู้กระทำผิดกฎจราจรได้เลย ซึ่งทางศูนย์จะออกใบสั่งไปยัง ที่บ้านของผู้กระทำผิดตามทะเบียนรถ ให้มาชำระค่าปรับได้เลย
นอกจากนี้ยังมีการรายงานข่าวสภาพการจราจรผ่านทางสถานีโทรทัศน์เคเบิลทีวี, วิทยุและอินเตอร์เน็ต กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เป็นศูนย์กลางคมนาคม ที่มีประชากรกว่า 10 ล้านคน ประชาชนครึ่งหนึ่งของประเทศอาศัยอยู่ในกรุงโซล สภาพการจราจรจึงมีความวุ่นวาย ซึ่งการแก้ไขปัญหา สภากรุงโซลได้รับการสนับสนุนจากบริษัทฯเอกชนเข้ามาช่วยแก้ไข และทางศูนย์ก็มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ให้ทันสมัยใช้งานได้ในทุกๆปี