ดร.สมเกียรติ แนะกม. ต้องตามให้ทันปรากฎการณ์การหลอมรวมสื่อ

พฤหัส ๐๔ มีนาคม ๒๐๑๐ ๑๕:๐๕
นักวิชาการทีดีอาร์ไอ ระบุเพื่อรองรับเทคโนโลยีดิจิตอลและการหลอมรวมสื่อ ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ให้กฎหมายสามารถดูแลครอบคลุมการกระทำละเมิดกฎหมายที่จะเกิดขึ้น จัดตั้ง กสทช. ให้เป็นหน่วยงานกำกับดูแลทั้งกิจการวิทยุ โทรทัศน์ โทรคมนาคม และสื่ออื่นๆ

เมื่อเร็วๆ นี้ ที่สมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทย เขตดุสิต กรุงเทพฯ ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เป็นวิทยากรบรรยาย ในหลักสูตรผู้บริหารสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 2 หัวข้อเรื่อง “กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับนักบริหาร” จัดโดย สถาบันอิศรา ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ดร.สมเกียรติ กล่าวถึงสื่อสารมวลชนในปัจจุบันว่า มีการหลอมรวมของสื่อหลายชนิดทั้งไอที โทรคมนาคม และบรอดแคสติ้ง การจัดแยกประเภทของสื่อจึงยากขึ้น การกำกับดูแลตรวจสอบของหน่วยงานต่างๆ ก็ยากขึ้นตาม โดยเฉพาะการกำกับดูแลการใช้สื่อนั้นแยกออกจากกันได้ยากว่าเป็นสื่อชนิดใด จะใช้ พ.ร.บ.ฉบับใดกำกับดูแล ขณะที่กฎหมายก็ยังมีช่องโหว่มากมายใช้ได้เพียงการกับดูแลเฉพาะสื่อเท่านั้น

“ในอดีตสื่อสารมวลชน คือ สื่อที่ออกมาจากจุดๆเดียวและออกไปสู่คนหลายๆคนโดยใช้ระบบวัตต์ ตั้งอยู่ที่สถานี และทุกคนสามารถรับได้ ส่วนโทรคมนาคมก็เป็นประเภทหนึ่งต่อหนึ่ง คุยเป็นคู่ๆ แต่เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไปมีการใช้ Social Network เป็นการเชื่อมโยงทุกส่วน อุปกรณ์ของการส่งสัญญาณเองก็แยกอย่างขึ้น ทำให้บริการต่างๆมารวมกันเพื่อจุดประสงค์ในเชิงธุรกิจ และมีการนำสื่อทุกสื่อมาผสานกัน เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม เพียงเครื่องเดียวสามารถใช้สื่อได้หลากหลายสื่อ ตอบสนองผู้บริโภคในโลกอนาคต”

รองประธานทีดีอาร์ไอ กล่าวอีกว่า การกระจายตัวของตลาดของสื่อต่างๆ มีการผสานเข้าด้วยกันนี่เองทำให้มีความต้องการขายโฆษณา และการจัดการทางด้านสื่อต้องออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างครบ ถ้วน การนำเสนอผ่านสื่อสารมวลชนจึงขาดระเบียบและขาดการกลั่นกรองก่อนนำออกมาเผย แพร่ อีกทั้งการเพิ่มขึ้นของเคเบิลทีวีและสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว รวมทั้งทีวีผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ควบคุมการนำเสนอได้ยาก

“เมื่อมีการตอบสนองด้วยสื่อใหม่มากขึ้น ทำให้การเติบโตของสื่อหลักมีรายได้ลดน้อยลง โฆษณาจึงหันไปใช้บริการสื่อใหม่ ปัญหาคือการโฆษณาไม่มีการกลั่นกรอง เพราะนำเสนอได้โดยง่าย และยังมีการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต การละเมิดลิขสิทธิ์ และการกระทำผิดกฎหมายทางด้านสื่อ โดยใช้ช่องว่างที่ไม่มีกฎหมายใดๆออกมารองรับการเกิดสื่อใหม่เช่นนี้ และพ.ร.บ.ตัวเดิมไปจัดการก็ไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง”ดร.สมเกียรติ กล่าว และว่า เพื่อการรองรับเทคโนโลยีดิจิตอลและการหลอมรวมสื่อจำเป็นจะต้องมีการเปลี่ยน แปลงให้กฎหมายสามารถดูแลครอบคลุมการกระทำละเมิดกฎหมายที่จะเกิดขึ้น การจัดตั้ง กสทช. ให้เป็นหน่วยงานกำกับดูแลทั้งกิจการวิทยุ โทรทัศน์ โทรคมนาคม และสื่ออื่นๆที่จะเกิดขึ้น เพื่อการดูแลเป็นไปอย่างทั่วถึง ทั้งนี้ให้ กสทช. จัดทำแผนแม่บทคลื่นความถี่ เพื่อปรับการนำไปสู่การรับส่งสัญญาณในระบบดิจิตอลในอนาคต

ดร.สมเกียรติ กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า สิ่งที่ต้องหาคำตอบคือ กลไกสถาบันสังคม และกฎหมายสามารถรองรับยุคของการเปลี่ยนแปลงไปของเทคโนโลยี ยุควิทยุสี่พันช่อง โทรทัศน์พันช่อง ยุคอินเทอร์เน็ตมหาศาลได้หรือยัง และจะปล่อยให้สื่อเกิดขึ้นทั้งแบบในระบบหรือนอกระบบโดยไม่มีกฎหมายมารองรับได้อย่างไร

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version