โพลระบุประชาชนไทยนิยมรับข่าวสารด้านบันเทิงมากที่สุด เน้นความบันเทิงทั้งรายการโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์

ศุกร์ ๐๕ มีนาคม ๒๐๑๐ ๑๑:๒๒
“ศรีปทุมโพล” โดยสำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 3,000 คน ในหัวข้อ “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อข่าวและนักข่าวไทย” เนื่องในวันนักข่าวไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 5 มีนาคมของทุกปี โดยดร.ปิยากร หวังมหาพร ผู้อำนวยการสำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุมได้สรุปผลการสำรวจ ดังนี้

เมื่อถามถึงความนิยมในการรับชมรายการโทรทัศน์ ประชาชนส่วนใหญ่นิยมดูช่อง 3 มากที่สุด ร้อยละ 32.47 รองลงมา คือช่อง 7 ร้อยละ 28.07, ดูผ่านเคเบิ้ลทีวี เช่น ทรูวิชั่น ร้อยละ 12.83, ช่อง 5 ร้อยละ 8.63, ช่อง 9 ร้อยละ 7.30, ช่อง NBT ร้อยละ 4.20, ASTV ร้อยละ 3.10, Nation Channel ร้อยละ 1.67, ช่องทีวีไทย ร้อยละ 1.63 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.10

ส่วนรายการที่นิยมดูนั้น ประชาชนส่วนใหญ่นิยมรับชม หนัง ละคร มากที่สุด ร้อยละ 32.23 รองลงมาเป็นรายการข่าว ร้อยละ 29.17, รายการกีฬา ร้อยละ 9.10, รายการสารคดี ร้อยละ 8.37, รายการเพลง ร้อยละ 6.50, โฆษณา ร้อยละ 4.80, การประกวด เช่น นางแบบ นางงาม นักร้อง ร้อยละ 3.90, การ์ตูน ร้อยละ 3.20, รายการเกี่ยวกับการศึกษา เช่น แข่งขันตอบปัญหา ร้อยละ 2.67 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.07

สำหรับเหตุผลที่รับชมรายการดังกล่าวนั้น ประชาชนส่วนใหญ่รับชมเพื่อให้ทันเหตุการณ์ ร้อยละ 25.80, เพื่อความบันเทิง ร้อยละ 25.80, เพื่อคลายเครียด ร้อยละ 19.30, เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ร้อยละ 8.13, ชื่นชอบรายการนั้นเป็นพิเศษ ร้อยละ 7.73, เพื่อทันสมัย ไม่ตกยุค ร้อยละ 6.93, ตื่นเต้น ร้อยละ 4.73, เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพร้อยละ 1.47 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.10

หากเมื่อถามถึงการติดตามรายการข่าวสารนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ ตอบว่าติดตามเป็นประจำ (5 — 7 วัน/ สัปดาห์) ร้อยละ 40.67, รองลงมาดูบ้าง เป็นบางวัน (2 — 4 วัน/ สัปดาห์) ร้อยละ 38.30, ไม่ค่อยดู นานๆ ครั้ง (สัปดาห์ละ1 ครั้งหรือน้อยกว่า) ร้อยละ 16.33, ไม่ดู (ไม่สนใจดู เมื่อเปิดเจอจะเปลี่ยนช่อง) ร้อยละ 4.67 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.03

สำหรับหนังสือพิมพ์ที่ประชาชนส่วนใหญ่นิยมอ่านนั้น ได้แก่ไทยรัฐ ร้อยละ 36.53, รองลงมาคือ เดลินิวส์ ร้อยละ 23.73, คมชัดลึก ร้อยละ 9.37, ข่าวสด ร้อยละ 6.93, สยามกีฬา ร้อยละ 5.43, บ้านเมือง ร้อยละ 5.43, กรุงเทพธุรกิจ ร้อยละ 4.40, ไทยโพสต์ ร้อยละ 3.67, ผู้จัดการ ร้อยละ 3.47 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 1.03

ซึ่งข่าวในหนังสือพิมพ์ที่ประชาชนนิยมอ่านนั้น ส่วนหญ่นิยมอ่านข่าวหน้า 1 ร้อยละ 33.80 รองลงมาคือ ข่าวบันเทิง ร้อยละ 19.70, ข่าวการเมือง ร้อยละ 15.13, กีฬา ร้อยละ 12.50, ธุรกิจ/เศรษฐกิจ ร้อยละ 10.77, การศึกษา ร้อยละ 6.50 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 1.60

ส่วนเหตุผลที่ติดตามข่าวหนังสือพิมพ์ดังกล่าวนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ติดตามอ่านเพื่อให้ทันเหตุการณ์ ร้อยละ 39.27 รองลงมาให้เหตุผลว่า เพื่อทันสมัย ไม่ตกยุค ร้อยละ 12.30, เพื่อความบันเทิง ร้อยละ 11.80, เพื่อคลายเครียด ร้อยละ 9.10, ชื่นชอบเป็นพิเศษ ร้อยละ 8.10, ตื่นเต้น ร้อยละ 7.53, เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ร้อยละ 7.13, เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ ร้อยละ 3.67 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 1.10

เมื่อถามถึงการซื้อหนังสือพิมพ์อ่าน หรือไม่ (กรณีที่ไม่ได้ซื้อ คืออ่านจากสถานที่ให้บริการ เช่น ที่ทำงาน) ประชาชนส่วนใหญ่ ตอบว่าไม่ซื้อ โดยอ่านนานๆ ครั้ง (ไม่เกิน 3 วัน/ สัปดาห์) ร้อยละ 18.17, ไม่ซื้อ แต่อ่านทุกวัน ร้อยละ 14.27, ไม่ซื้อ แต่อ่านเป็นประจำ (4 — 6 วัน/ สัปดาห์) ร้อยละ 12.97, ซื้อทุกวัน อ่านทุกวัน ร้อยละ 11.73, ไม่ค่อยซื้อ อ่านนานๆ ครั้ง (ไม่เกิน 3 วัน/ สัปดาห์) ร้อยละ 10.50, ไม่ซื้อ ไม่อ่าน ร้อยละ 9.37, ไม่ค่อยซื้อ แต่อ่านทุกวัน ร้อยละ 8.60, ไม่ค่อยซื้อ แต่อ่านประจำ (ไม่เกิน 4 วัน/ สัปดาห์) ร้อยละ 8.50 และซื้อทุกวัน แต่ไม่ค่อยอ่าน (รับประจำทุกวันแต่ไม่มีเวลาอ่าน) ร้อยละ 5.90

ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวในประเทศไทยนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ ชื่นชมข่าว เพราะเป็นข่าวที่ทันเหตุการณ์ ร้อยละ 26.23 รองลงมาชื่นชมข่าว เพราะมีความน่าสนใจ ร้อยละ 17.33, ชื่นชมข่าว เพราะตอบสนองความอยากรู้ได้เป็นอย่างดี ร้อยละ 15.43, ชื่นชมข่าว เพราะตื่นเต้นน่าติดตามทุกสถานการณ์ ร้อยละ 12.90, ชื่นชมข่าว เพราะได้ข้อมูลที่ถูกต้องไม่บิดเบือน ร้อยละ 8.77, ไม่ชอบข่าว เพราะข้อมูลผิดเพี้ยนไม่เป็นกลาง ร้อยละ 8.73, ไม่ชอบข่าว เพราะตอบสนองความต้องการได้ไม่ตรงจุด ร้อยละ 5.30, ไม่ชอบข่าว เพราะข่าวไม่มีความน่าสนใจ ร้อยละ 2.83, ไม่ชอบข่าว เพราะเป็นข่าวที่ไม่ทันท่วงที ร้อยละ 2.40 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.07

สำหรับข่าวของรัฐบาลชุดนี้ที่สื่อนำเสนอนั้น ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่า สื่อนำเสนอข่าวอย่างเป็นธรรม ไม่เข้าข้างฝ่ายใด ร้อยละ 24.63 รองลงมาเห็นว่า สื่อนำเสนอข่าวด้านบวกมากเกินไป ร้อยละ 19.80, เห็นว่าสื่อนำเสนอข่าวด้านลบมากเกินไปร้อยละ 18.50, เห็นว่าสื่อตอบสนองความต้องการได้ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ร้อยละ 18.20, เห็นว่าสื่อนำเสนอข่าวผิดเพี้ยนไม่เป็นกลาง ร้อยละ 17.73 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 1.13

ส่วนความรู้สึกที่มีต่อนักข่าวไทยนั้น ประชาชนชื่นชมความสามารถในการติดตามข่าวสาร ร้อยละ 16.63 รองลงมาชื่นชมความรวดเร็วในการทำงาน ร้อยละ 13.90, ชื่นชมความสามารถในการสัมภาษณ์ หรือซักประเด็นข่าวร้อยละ 12.47, อยากให้นักข่าวนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่องจนได้ผลสรุปของข่าวนั้น เพราะไม่อยากให้ข้อมูลที่ติดตามข่าวนั้นอยู่หายไป ร้อยละ 12.33, ชื่นชมความอดทนในการทำข่าว ร้อยละ 11.47, ชื่นชมความสามารถในการหาข่าวที่เป็นประเด็นน่าสนใจ ร้อยละ 9.87, อยากให้นักข่าวสัมภาษณ์ หรือซักประเด็นข่าวที่เป็นประเด็นลึกขึ้นกว่านี้ ร้อยละ 8.40, มีการนำเสนอข่าวที่ยังไม่เป็นกลาง ร้อยละ 8.13, อยากให้นักข่าวทำงานรวดเร็วทันความต้องการมากขึ้น ร้อยละ 6.73 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.07

สำหรับข่าวที่ประชาชนส่วนใหญ่ติดตามมากที่สุดในรอบปี 2552 ได้แก่ ข่าวนาธาน โอมาน ร้อยละ 16.63, ข่าวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 14.63, ข่าวเสื้อแดงประท้วงปิดเส้นทางการจราจรในกรุงเทพฯ ร้อยละ14.20, ข่าวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ร้อยละ 11.07, ข่าวเสื้อเหลืองปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ร้อยละ 10.87, ข่าวทักษิณโฟนอิน ร้อยละ 10.70, ข่าวกำเนิดหลินปิง/การดำรงชีวิตประจำวันของหลินปิง ร้อยละ 9.53, ข่าวการผสมเทียมช่วงช่วง กับ หลินฮุ่ย ร้อยละ 6.30, ข่าวที่ดินเขายายเที่ยง ร้อยละ 5.87 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.50

ส่วนสาเหตุใดที่ประชาชนติดตามข่าวนั้น ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าอยากรู้ความจริงของข่าว น่าค้นหา ร้อยละ 20.60 รองลงมาให้เหตุผลว่าเป็นข่าวที่ยังไม่ได้ข้อสรุป ร้อยละ 20.17, อยากรู้การดำเนินต่อไปของข่าว ร้อยละ 17.33, เป็นข่าวที่สะเทือนต่อความรู้สึก ร้อยละ14.97, ชื่นชอบข่าวนั้นเป็นพิเศษ ร้อยละ 13.53, เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน น่าประหลาดใจ ร้อยละ 6.87, เพื่อความบันเทิง ร้อยละ 6.03 และไม่แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 0.50

โดยดร.ปิยากร หวังมหาพร ผู้อำนวยการสำนักวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่าประชาชนส่วนใหญ่นิยมดูรายการโทรทัศน์ช่อง 3 มากที่สุด รองลงมา คือ ช่อง 7 โดยให้เหตุผลว่านิยมดูหนัง ละครมากที่สุด รองลงมา คือ รายการข่าว ด้วยเหตุผลเพื่อให้ทันเหตุการณ์ เพื่อความบันเทิง แต่เมื่อเจาะจงถามโดยเฉพาะรายการข่าวที่ประชาชนติดตาม พบว่าติดตามเป็นประจำมากที่สุดกว่าร้อยละ 40 รองลงมา คือ ดูบ้างเป็นบางวัน แสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองเป็นประจำเพื่อให้ทันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกวัน แต่สิ่งที่นิยมดูมากที่สุด คือหนัง และละครสื่อให้เห็นว่าถึงประชาชนจะติดตามข่าวสารบ้านเมืองเป็นประจำที่แต่สิ่งที่เขาชื่นชอบคือ ความบันเทิงจากหนัง และละคร

เมื่อถามในส่วนของหนังสือพิมพ์ประชาชนมักจะอ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ รองลงมาคือ เดลินิวส์ และคมชัดลึก ส่วนคอลัมน์ที่ประชาชนติดตามอ่านมากที่สุดในหนังสือพิมพ์ คือ ข่าวหน้า 1 รองลงมาคือ ข่าวบันเทิง ด้วยเหตุผลที่ติดตามข่าวจากหนัสือพิมพ์คือ เพื่อให้ทันเหตุการณ์ เพื่อให้ทันสมัยไม่ตกยุค โดยประชาชนส่วนใหญ่ไม่ซื้อหนังสือพิมพ์อ่าน และอ่านนานๆ ครั้งมากที่สุด แสดงให้เห็นว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ซื้อหนังสือพิมพ์อ่าน แต่ไปอ่านบ้างตามสถานที่ต่างๆที่มีให้บริการ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบประชาชนจะติดตามผ่านสื่อโทรทัศน์มากกว่าหนังสือพิมพ์ อาจจะเป็นเพราะโทรทัศน์มีความรวดเร็ว ฉับไวทันต่อเหตุการณ์ มีอรรถรสและความน่าสนใจมากกว่าการอ่านข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์

เมื่อถามถึงความคิดเห็นต่อการนำเสนอข่าวในประเทศไทยประชาชนให้ความชื่นชมในข่าวที่นำเสนอ ด้วยเหตุผลว่าเป็นข่าวที่รวดเร็วทันเหตุการณ์ มีความน่าสนใจ และตอบสนองความต้องการอยากรู้ของประชาชนได้ดี แต่อย่างไรก็ตามประชาชนอยากให้สื่อนำเสนอข่าวของรัฐบาลชุดนี้อย่างเป็นธรรมไม่เข้าข้างฝ่ายใดเพื่อให้ได้บริโภคข่าวที่ถูกต้องและไม่โอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดีเมื่อมองในแง่ของนักข่าวไทยประชาชนให้ความชื่นชมในการติดตามข่าวสารมากที่สุด รองลงมาคือชื่นชมความรวดเร็วในการทำงาน และชื่นชมในความสามารถโดยเฉพาะด้านการสัมภาษณ์และการซักประเด็นข่าว ส่วนข่าวที่ติดตามมากที่สุดคือ ข่าวของนาธาน โอมาน รองลงมาคือ ข่าวสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แสดงให้เห็นว่าประชาชนสนใจข่าวบันเทิงมากกว่าข่าวการเมือง ด้วยเหตุผลที่ติดตามข่าวเพราะ อยากรู้ความจริงของข่าว น่าค้นหา เป็นข่าวที่ยังไม่ได้ข้อสรุปและอยากรู้การดำเนินไปของข่าว แสดงให้เห็นว่าประชาชนสนใจข่าวบันเทิงมากกว่าข่าวการเมือง อาจจะเป็นเพราะข่าวบันเทิงต่างๆ เมื่อรับรู้จะเกิดความรู้สึกที่บันเทิงอารมณ์มากกว่าข่าวการเมืองหรือข่าวเหตุการณืบ้านเมืองของเรา ซึ่งเป็นข่าวคล้ายๆเดิม อาจจะมองดูน่าเบื่อและไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ยิ่งรับข่าวสารก็ยิ่งรู้สึกเครียดไปกับข่าว แต่เมื่อรับข่าวสารด้านบันเทิง จากหนัง ละคร จะทำให้เพลิดเพลินอารมณ์และไม่เกิดความวิตกกังวล หรือเบื่อหน่าย ประชาชนไทยสมัยนี้จึงนิยมรับข่าวสารด้านบันเทิงมากที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๓๑ ไทยเครดิตรายงานผลประกอบการปี 2567 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 3,624.0 ล้านบาท
๐๙:๔๑ หมอหมีขอเม้าท์! เผยสูตรลับสุขภาพดีด้วยตัวเอง ตามแบบฉบับ เม้าท์กับหมอหมี
๐๙:๑๖ แอ็กซอลตา ประกาศเทรนด์สีรถยนต์ปี 2025 ได้แก่ สีเอเวอร์กรีน สปรินท์ (Evergreen Sprint)
๐๙:๓๔ เกาะติดเลือกตั้ง อบจ. 68 กับไทยพีบีเอส เสียงท้องถิ่นชี้อนาคตประเทศไทย
๐๙:๑๙ น่ารักจนใจเจ็บ! Harupiii อินฟลูญี่ปุ่นรักไทย เปลี่ยนวลีดัง ทำไมทำไม สู่เพลงใหม่ยอดวิวถล่มทลาย
๐๙:๓๔ การแข่งขัน MUICT ENVI Mahidol Hackathon 2025 ภายใต้หัวข้อ : Digital Innovation for Carbon Neutrality Society
๐๙:๒๔ จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่สินค้าส่งออก เครื่องเคลือบจากอำเภออี้หนาน มณฑลซานตง โด่งดังไกลถึงต่างแดน
๐๙:๓๘ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศกำไรสุทธิ ปี 2567 จำนวน 2,852.1 ล้านบาท เติบโต 77.7%
๐๙:๕๔ RBF สานพลังปลูกป่าชายเลน ศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบกบางปู ร่วมแก้วิกฤตโลกร้อน ในโครงการ RBF GREEN VOLUNTEER ปีที่
๐๙:๐๖ ต้อนรับความมั่งคั่งและโชคลาภ พร้อมเฉลิมฉลองเทศกาลตรุษจีนที่โรงแรม อินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ