วว. จับมือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พัฒนางานวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

อังคาร ๐๙ มีนาคม ๒๐๑๐ ๐๘:๔๖
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ลงนามบันทึกข้อตกลง “โครงการความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการวิเคราะห์ทดสอบ สอบเทียบ” หวังสร้างความเครือข่ายความร่วมมือ ยกระดับการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ

นางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการ วว. ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ความร่วมมือดังกล่าวว่า เพื่อสร้างความร่วมมือ ส่งเสริมและสนับสนุน ในการเพิ่มศักยภาพของ วว. และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยรวมถึงผู้ประกอบการ เกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ การศึกษาหรือค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบ เพื่อนำผลของการศึกษา/ค้นคว้า ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติอย่างเหมาะสมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศ โดยมีระยะเวลาความร่วมมือ 2 ปี

โดยปัจจุบันภาครัฐให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศมากขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยกำหนดนโยบายไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 ซึ่งสอดคล้องกับภาคเอกชนที่มีความต้องการงานด้านวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้นความร่วมมือเพื่อดำเนินโครงการนี้ จึงเป็นการบ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อม เพื่อให้บริการทางด้านวิทยาศาสตร์ดังกล่าวได้อย่างกว้างขวางและมีทิศทางตรงตามเป้าประสงค์ อันจะนำมาซึ่งขีดความสามารถ ความมีมาตรฐานในการส่งเสริมสนับสนุน ด้านวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศได้ต่อไป

“...วว. มีนักวิชาการ นักวิจัย หลากหลายสาขา มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านการวิจัยและพัฒนาสามารถผลิตผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศจำนวนมาก ความร่วมมือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในครั้งนี้จะทำให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกัน สร้างเครือข่ายกับผู้ประกอบการให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เนื่องจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยมีสมาชิกที่เป็นผู้ประกอบการในหลากหลายธุรกิจ” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

นายมังกร ธนสารศิลป์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจอย่างมากมาย อาทิ ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว การเปิดเขตการค้าเสรีของไทยกับประเทศต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย โดยมีกรอบความร่วมมือร่วมกัน 4 ด้านได้แก่ 1.ร่วมมือเพื่อส่งเสริมศักยภาพของสภาอุตสาหกรรมฯและวว.ในการนำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 2.แลกเปลี่ยนข่าวสารและเอกสารทางวิชาการที่เป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกัน 3.ร่วมกันพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์และพัฒนาองค์ความรู้ 4.ร่วมมือดำเนินการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งความร่วมมือระหว่าง ส.อ.ท.และวว.ในครั้งนี้ ถือเป็นนิมิตหมายอันดีในการร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทย ได้นำงานวิจัยของ วว.ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ในขณะที่สภาอุตสาหกรรมนั้นมีเครือข่ายผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม จำนวน 39 กลุ่ม โดยมีสมาชิกสภาอุตสาหกรรมจังหวัด 74 แห่งทั่วประเทศ รวมทั้งยังมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยอย่างบูรณาการมาอย่างต่อเนื่อง

“....การทำงานร่วมกันระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและ วว.ในครั้งนี้จะเป็นส่วนเติมเต็มที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีการนำผลงานวิจัยมาพัฒนาต่อยอด และนำมาใช้ให้เกิดผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้มีความเข้มแข็งและเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป...” รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติม

ปัจจุบัน วว. มุ่งเป็นองค์กรนวัตกรรมเทคโนโลยีผสมผสานชั้นนำของอาเซียน เป็นศูนย์กลางการบริการที่ทันสมัย มีการจัดการแบบธรรมาภิบาล และร่วมพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ ครอบคลุมด้านการพัฒนาธุรกิจและการตลาด การวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ ได้แก่ เทคโนโลยีอาหาร เภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ พลังงาน เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร นวัตกรรมวัสดุ วิศวกรรม

อีกทั้งยังให้ความสำคัญในการให้บริการอุตสาหกรรม โดยมีหน่วยงานสนับสนุนที่เข้มแข็ง ได้แก่ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา ซึ่งมีห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยให้บริการแก่ภาครัฐและเอกชน คือ ห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางแสงและอุณหภูมิ ห้องปฏิบัติการมาตรฐานวิศวกรรมทางกล ห้องปฏิบัติการทดสอบทางฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์ ห้องปฏิบัติการชีวเคมีและจุลชีววิทยา

รวมทั้งยังมี ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติวัสดุ ซึ่งมีห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณสมบัติของวัสดุ ห้องปฏิบัติการตรวจสอบสภาพการใช้งาน และห้องปฏิบัติการพัฒนาคุณสมบัติของวัสดุ ให้บริการแก่ภาครัฐ ผู้ประกอบการ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังมีศูนย์ความรู้ และสำนักรับรองระบบคุณภาพ ซึ่งให้บริการด้านการตรวจประเมินการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 ISO 14001 GMP HACCP และ TIS 18001 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนภาคการผลิตและการบริการของประเทศไทย ให้เข้าสู่ระบบคุณภาพมาตรฐานและเตรียมความพร้อมเพี่อเข้าแข่งขันในระดับสากล

ขอรับบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจาก วว. ติดต่อ ได้ที่ โทร. 0 2577 9000 โทรสาร. 0 2577 9009 www.tistr.or.th e-mail : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๕ พ.ย. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป เปิดตัว HOP NextGen ชวนนักศึกษาเยี่ยมชม ฮ็อป อินน์ เรียนรู้เทคนิคบริการแบบ Consistency is Yours พร้อมพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่
๑๕ พ.ย. คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025 ฉลองทุกความสุข สนุกไม่รู้จบ
๑๕ พ.ย. พันธุ์ไทย ชวนแฟนด้อม คัลแลนและพี่จอง จุ่ม การ์ดพันธุ์ไทยใจฟู ลิมิเต็ด อิดิชั่น
๑๕ พ.ย. BAM ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ DIGITAL ENTERPRISE ตอกย้ำผู้นำ AMC ยุค 4.0 วางเป้าหมายยกระดับองค์กรสร้างโอกาสเติบโตอย่างยั่งยืน เตรียมส่ง อิสระ เดอะซีรีส์ ชวนลูกหนี้ BAM
๑๕ พ.ย. บางจากฯ ได้รับการประเมินด้านความยั่งยืนอันดับสูงสุดของโลก จาก SP Global 2024 ในกลุ่มอุตสาหกรรม Oil Gas Refinery and
๑๔ พ.ย. ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ออกบูธให้ความรู้เรื่องการใช้งานระบบดับเพลิงนร. พระหฤทัยนนทบุรี
๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๕ พ.ย. PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๕ พ.ย. CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๕ พ.ย. ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ