แผนการพัฒนาฝูงบินของการบินไทย

ศุกร์ ๑๒ มีนาคม ๒๐๑๐ ๑๑:๔๑
วันนี้ (วันที่ 11 มีนาคม 2553 ) นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บรรยายสรุปเรื่องแผนการพัฒนาฝูงบิน เพื่อสร้างความเข้าใจแก่สื่อมวลชน โดยมีนายปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมตอบข้อซักถามแก่ สื่อมวลชน

นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจสายการบินจะเผชิญกับสภาวะการแข่งขันที่รุนแรงใน 5 ปีข้างหน้า ทุกสายการบินมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า นอกจากนี้การเปิดเสรีทางการบินภายในอาเซียนและในภูมิภาคต่างๆ จะส่งผลให้สภาวะการแข่งขันของธุรกิจการบินในภูมิภาครุนแรงขึ้น บริษัทฯ จึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อกำหนดตำแหน่งทางกลยุทธ์ให้เหมาะสม จัดทำแผนการพัฒนา ฝูงบิน เพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์บนเครื่องบินให้ทันสมัย รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของฝูงบินให้สามารถแข่งขันได้

แผนพัฒนาเครือข่ายเส้นทางบิน เพื่อพัฒนาให้กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการบิน โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเส้นทางบินที่เหมาะสม รวมทั้งขยายเส้นทางบินสายรองภายในประเทศ ส่วนกลยุทธ์การพัฒนาฝูงบิน มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม จัดสรรจำนวนเครื่องบินและกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด ควบคุมจำนวนแบบเครื่องบินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และวางแผนการลดจำนวนแบบของเครื่องบินในระยะยาว

แผนพัฒนาฝูงบิน

บริษัทฯ ได้จัดทำแผนพัฒนาฝูงบินในระยะเวลา 10-15 ปี เพื่อให้ครอบคลุมการจัดหาเครื่องบินรุ่นใหม่ระหว่างปี 2553-2567 แบ่งออกเป็น 3 ช่วง

ช่วงปี 2553-2557 บริษัทฯ มีแผนปลดระวางเครื่องบินเก่าจำนวน 25 ลำ รับมอบเครื่องบินที่ได้รับการอนุมัติแล้ว 9 ลำ จัดหาเครื่องบินรุ่นที่จำหน่ายและใช้งานอยู่ในปัจจุบันเพื่อใช้งาน จำนวน 15 ลำ

ช่วงปี 2558-2562 บริษัทฯ มีแผนปลดระวางเครื่องบินเก่าจำนวน 32 ลำ และจัดหาเครื่องบินรุ่นใหม่เพื่อทดแทนการปลดระวางและรองรับการเจริญเติบโต ไม่น้อยกว่า 38 ลำ

ช่วงปี 2563-2567 บริษัทฯ มีแผนปลดระวางเครื่องบินเก่าจำนวน 20 ลำ และจัดหาเครื่องบินรุ่นใหม่เพื่อทดแทนการปลดระวางและรองรับการเจริญเติบโต ไม่น้อยกว่า 28 ลำ

โครงการจัดหาเครื่องบินปี 2553-2557

ประกอบด้วยการปลดระวางเครื่องบินที่มีอายุการใช้งาน ได้แก่ เครื่องบินโบอิ้ง 747-400 จำนวน 6 ลำ แอร์บัส เอ 300-600 จำนวน 10 ลำ แอร์บัส เอ 340-500 จำนวน 4 ลำ โบอิ้ง 737-400 จำนวน 3 ลำ และเอทีอาร์ 72 จำนวน 2 ลำ

แผนการรับมอบเครื่องบินที่ได้รับการอนุมัติแล้ว จำนวน 9 ลำ ประกอบด้วย เครื่องบิน แอร์บัส เอ 330-300 จำนวน 3 ลำ และเครื่องบิน แอร์บัส เอ 380-800 จำนวน 6 ลำ สำหรับการจัดหาเครื่องบินใหม่ ประกอบด้วย เครื่องบินภูมิภาค ความจุประมาณ 300 ที่นั่ง จำนวน 7 ลำ และเครื่องบินระหว่างทวีป ความจุประมาณ 350 ที่นั่ง จำนวน 8 ลำ รวม ทั้งสิ้น 15 ลำ

ฝูงบินที่จะรับมอบใหม่นี้ เครื่องบินระหว่างทวีปจะทำการบินไปยังโคเปนเฮเกน สตอกโฮล์ม ลอสแองเจลิส และออสโล ส่วนเครื่องบินภูมิภาคจะทำการบินไปยังเพิร์ท ดูไบ เซี่ยงไฮ้ ไทเป มุมไบ กัลกัตตา และบังกาลอร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ