จี้รัฐพัฒนาคุณภาพการศึกษา หวั่นเด็กจบป.ตรีตกงานเพียบ

พฤหัส ๑๘ มีนาคม ๒๐๑๐ ๑๔:๔๑
นักวิชาการจี้ภาครัฐเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ+การศึกษา หวั่นเด็กตกงานอื้อ! เร่ง ศธ.ยกระดับคุณภาพการศึกษาเทียบเท่าสากล แนะปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ดึงเทคโนโลยีพัฒนาการศึกษาไทย

เมื่อวันที่ 15 มี.ค.53 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) ได้จัดอภิปรายทางวิชาการ เรื่อง “ทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจสังคมและเทคโนโลยีของประเทศไทย : ผลกระทบต่อการศึกษาไทย” โดย ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ฝ่ายการวิจัยทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาสังคม มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่เติบโตตามที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพราะขณะนี้ผู้ที่จบการศึกษาสูงกลับว่างงานของค่อนมาก ผิดกับผู้ที่จบการศึกษาในระดับต่ำ กลับเป็นความต้องการของตลาดแรงงานที่มากกว่า ดังนั้นจึงต้องปรับโครงสร้างด้านเศรษฐกิจควบคู่กับด้านการศึกษา โดยให้หันมาใช้บุคลากรที่จบการศึกษาสูงขึ้น หรือใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น เพื่อให้ปัญหาคนว่างงานลดลง

“หากเราไม่ปรับโครงสร้าง เราก็จะขาดแคลนคนในระดับล่าง และว่างงานในระดับบนเหมือนเดิม โดยเฉพาะระดับปริญญาตรีที่ว่างงานค่อนข้างมาก โดยทำให้รัฐสูญเสียงบประมาณมโหฬาร เพราะกว่าจะเรียนจบปริญญาตรีต้องใช้เงินค่อนข้างสูงมาก”ดร.ยงยุทธ กล่าวและว่า การปรับตัวของโครงสร้างด้านการศึกษาที่ทำได้ทันทีเลยคือ คุณภาพการศึกษา เพราะที่ผ่านมาคุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำมาก ทั้งครู และนักเรียน ดังนั้นจึงต้องปรับระบบการเรียนการสอน เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐานสากลอย่างเร่งด่วน

ด้าน รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า ขณะนี้โลกกำลังเปลี่ยนไป จึงต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนการสอนในปัจจุบัน จากการเรียนในห้องเป็นกระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ทางเทคโนโลยีต่างๆ อย่างไรก็ตามในขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) อยู่ระหว่างการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่ทุกคนจะต้องร่วมกันคิด เพื่อพัฒนาการศึกษาไทยให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งตนไม่อยากให้ทุกคนมองว่าเป็นเรื่องของ ศธ.เพียงอย่างเดียว แต่ควรเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องร่วมกันทำ

“เราต้องทำให้เด็กตื่นตัวและมุ่งมั่นในการเรียนรู้ รวมทั้งฝึกปฏิบัติ เพราะการสอนในรูปแบบเดิมๆ ที่ครูบรรยายอยู่หน้าห้องเป็นเวลานาน จะทำให้ความสนใจของเด็กลดลง และไม่เกิดประโยชน์ รวมทั้งยังเป็นวิธีสอนที่ตกยุคด้วย เราจึงควรแบ่งเวลาให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นจะทำให้เด็กสนใจมากขึ้น” รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวและว่า ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณภาพการศึกษาไทยดีขึ้นได้ก็ขึ้นอยู่กับครูด้วย ซึ่งครูต้องเป็นทั้งครูดี เก่ง และมีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งครูจะต้องให้ความสำคัญกับเด็กทุกคนไม่ว่าจะเก่งหรือไม่เก่งด้วย ไม่ใช่เน้นแต่เด็กเก่งเพียงอย่างเดียว

ขณะที่ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานผู้บริหารวิทยาลัยการศึกษาทางไกลอินเตอร์เน็ต มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันกำลังรุดหน้าไปมาก โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ที่คนใช้ในการค้นหาความรู้ หรือสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งในต่างประเทศมีมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่นำประโยชน์จากทวิสเตอร์มาใช้ เช่น การนำมาใช้ให้เด็กฝึกย่อความ เพราะทวิสเตอร์สามารถส่งข้อความครั้งหนึ่งได้ไม่เกิน 140 ตัวอักษร เป็นต้น ซึ่งไทยควรนำมาเป็นแบบอย่าง และปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยี เพราะขณะนี้สถาบันการศึกษาไทยช้ามากกับเรื่องเทคโนโลยี ซึ่งส่วนตัวมองว่าแต่ละแห่งควรมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา และคัดเลือกมาใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน

“การนำเทคโนโลยีมาใช้กับการศึกษาจะเป็นประโยชน์มาก เพราะทำให้เด็กสนุกสนานกับการเรียนมากขึ้น ซึ่งหากมัวมานั่งจดเลกเชอร์ตามครูเหมือนในปัจจุบัน มั่นใจว่าเด็กนั่งหลับอย่างแน่นอน และที่สำคัญผมคิดว่าครูยุคใหม่ทุกคนควรมีทวิตเตอร์ เพราะถ้าให้เด็กเลือกอ่านหนังสือ กับการอ่านความรู้ผ่านทวิตเตอร์หรืออีเมล์ บอกได้เลยว่าเด็กจะเลือกอ่านหนังสือน้อยมาก เราจึงต้องเร่งฝึกอบรมครูในเรื่องเหล่านี้ โดยอาจจะยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่นำประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการศึกษา” ศ.ดร.ศรีศักดิ์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๒๔ สมาคมศิษย์เก่าจิตรลดาร่วมวางพานพุ่มถวายราชสักการะในวันจักรี
๑๖:๒๓ 4 เหตุผลที่ควรดู Hyper Knife สำรวจด้านมืดของวงการแพทย์ไปกับ 'อาจารย์หมอผู้เก่งกาจ-ลูกศิษย์อัจฉริยะ
๑๖:๒๖ รับส่วนลด 20% เมื่อจองเที่ยวบินทั่วโลก ผ่านบัตร Krungsri Boarding Card ที่ Trip.com
๑๖:๒๙ ลาซาด้าเผยผู้ขายไทย 7 ใน 10 ราย ต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติมในการใช้ AI ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
๑๕:๐๑ สวารอฟสกี้ สาดประกายรับซัมเมอร์ ด้วยแคมเปญ Spring-Summer 2025 ร่วมกับ อารีอานา กรานเด
๑๕:๕๕ เมืองไทยประกันชีวิต ผนึกกำลัง แมกซ์ โซลูชัน ส่ง กรมธรรม์ประกันภัยสุขใจสงกรานต์ (ไมโครอินชัวรันส์) เติมความสุขและความอุ่นใจแก่สมาชิก Max
๑๕:๑๙ I2 สุดปัง! คว้างาน ซีเกมส์-อาเซียนพาราเกมส์ มูลค่า 20 ลบ. ดัน Backlog แตะ 829 ลบ. หนุนผลงานปี 68 โตต่อเนื่อง
๑๕:๒๑ ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ ชูทำเลศักยภาพโซนกรุงเทพฯ ตะวันออก เปิดตัวโครงการใหม่ แลนซีโอ เพรสทีจ บางนา-ศรีวารี มูลค่า 1,000
๑๕:๔๖ สถาบันไทยศึกษา จุฬาฯ เร่งจัดทำฐานข้อมูลลายผ้าขาวม้าไทย ขับเคลื่อนมรดกภูมิปัญญาไทยสู่เวที UNESCO
๑๔:๐๐ คปภ. ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมส่งเสริมวันครอบครัว และการดูแลผู้สูงอายุ ร่วมรณรงค์ความปลอดภัยและการประกันภัยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พร้อมออก 2