“เมื่อ 30 ปีที่แล้ว โรงงานแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างไกลพื้นที่ชุมชน แต่ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ชุมชนเริ่มขยายความเจริญเข้ามาใกล้โรงงานมากขึ้น ซึ่งซีพีเอฟตระหนักดีว่าการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของชุมชนรอบๆโรงงานเป็นเรื่องสำคัญจึงได้พัฒนาระบบบำบัดน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วยโครงการนี้ ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหากลิ่นรบกวนจากบ่อบำบัดได้มากขึ้น ทั้งยังช่วยลดภาวะโลกร้อน ตลอดจนลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานแก่โรงงานได้อีกทางหนึ่ง” นายศุภชัยกล่าวและว่าโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมองค์กร หรือ CPF Way ในข้อที่ 6 การตอบแทนคุณแผ่นดิน
โครงการดังกล่าวใช้ระบบบำบัดน้ำเสีย แบบไร้อากาศชนิดปิดคลุม Anaerobic Baffle Reactor : (ABR) เพื่อลดการกระจายของกลิ่น และสามารถผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ ที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายน้ำเสียได้สูงสุดถึง 6,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน นับเป็นแหล่งพลังงานทดแทนที่สำคัญ โดยโรงงานแห่งนี้มีแผนจะนำก๊าซชีวภาพดังกล่าวไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในหม้อไอน้ำ (Boiler) ภายในปีนี้ ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานได้ถึงปีละ 6.6 ล้านบาท
โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากระบบบำบัดน้ำนี้ ถือเป็นโครงการต้นแบบที่ซีพีเอฟจะนำไปประยุกต์ใช้กับโรงงานอาหารแปรรูปอื่นๆ ของบริษัทต่อไป โดยก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นนี้มีส่วนผสมของก๊าซมีเทนประมาณ 60-70% ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้แทนเชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำ ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Gas Generator) หรือใช้เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหาร ทั้งยังเป็นเชื้อเพลิงสะอาด สอดคล้องกับหลัก CDM : Clean Development Mechanism ที่ช่วยลดปัญหาภาวะเรือนกระจกของโลกด้วย./
สำนักสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์
โทร. 02-625-7344-5, 02-631-0641, 02-638-2713 e-mail : [email protected]