สมศ.เชิญรับฟังสารคดีวิทยุ “สถานศึกษาในดวงใจ”

อังคาร ๓๐ มีนาคม ๒๐๑๐ ๑๕:๐๑
ย่างเข้าสู่อากาศร้อนของเดือนเมษายน มาฟังสารคดีเพื่อผ่อนคลายอากาศที่รุ่มร้อนกันในรายการวิทยุ “สถานศึกษาในดวงใจ” ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ที่มีคนดังจากทุกวงการ สลับกันมาเล่าเรื่องราวของสถานศึกษาที่ประทับใจ ติดตามรับฟังกันได้ทางสถานีวิทยุ อสมท.คลื่น 100.5 MHz. รับฟังพร้อมกันทั่วประเทศ ทุกวันจันทร์ ในช่วงข่าวภาคเที่ยง เวลา 12.00 - 12.30 น. ประเดิมด้วย 5 เมษายน 2553รับฟังสถานศึกษาในดวงใจของนักแต่งเพลงชื่อดัง พี่ดี้ นิติพงษ์ ห่อนาค ที่อยากให้มีการร่วมมือในการพัฒนาการศึกษากันทุกฝ่าย วันที่ 12 เมษายน 2553ก่อนสนุกกับเทศกาลสงกรานต์ มาฟัง อ.วันชัย สอนศิริ ทนายความและผู้ดำเนินรายการคนดัง เล่าถึงความประทับใจในตัวครูสมัยประถมศึกษาที่จังหวัดชลบุรี วันที่ 19 เมษายน 2553 พิธีกรรายการโทรทัศน์ชื่อดังที่เดินทางไปทั่วโลกเพื่อหาสิ่งแปลกๆ มานำเสนอ คุณณวัฒน์ อิสรไกรศีล ได้เล่าถึงโรงเรียนในดวงใจที่มีทั้งวัดและโรงเรียนอยู่ในที่เดียวกัน และวันที่ 26 เมษายน 2553 ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จะได้เล่าถึงความประทับใจในโรงเรียนราชินี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ท่านได้ศึกษาในวัยเด็ก แล้วท่านจะได้รู้ความในใจของคนเหล่านี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ