นายอนันต์ เกตุเอม รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง จังหวัดยโสธร

พุธ ๓๑ มีนาคม ๒๐๑๐ ๑๕:๓๑
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2553 เวลา 10.00 น. นายอนันต์ เกตุเอม รองอธิบดี กรมทรัพยากรน้ำบาดาล พร้อมนางสาววิลาวัณย์ ไทยสงคราม ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากร บาดาล เขต 11 อุบลราชธานี และเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งและติดตามโครงการฯ ในพื้นที่จังหวัดยโสธร

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 11 อุบลราชธานีจัดทำโครงการเกษตรนำร่อง ในการนำน้ำบาดาลมาใช้เพื่อการเกษตร ณ บ้านแข่ ตำบลฟ้าห่วน อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร เพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกร จำนวน 200 ครัว บริเวณพื้นที่ 1,000 ไร่ ที่ขาดแคลนน้ำ และไม่สามารถทำพืชเกษตรในช่วงหน้าแล้งและช่วงฝนทิ้งช่วงได้ เช่น การปลูกหอม ปลูกพริก และข้าวโพด พร้อมทั้งตรวจเยี่ยมโครงการน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ ณ โรงเรียนบ้านสงเปือย ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร เพื่อให้นักเรียน มีน้ำดื่มที่สะอาด ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก เป็นการยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และสุขภาพอนามัยที่ดี ทั้งนี้ โรงเรียนสงเปือย ยังส่งเสริมและพัฒนาระบบวิสาหกิจชุมชน โดยการจำหน่ายน้ำดื่มราคาถูก ให้แก่ชุมชนบริเวณใกล้เคียงได้ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ