โดย ‘อีวา เชน’ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร (ซีอีโอ) และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท เทรนด์ ไมโคร
ไม่ว่าคุณจะรับรู้ข้อมูลใดมาบ้างแล้ว แต่สิ่งที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ก็คือ คลาวด์ คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) กำลังจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคุณ เนื่องจากเป็นสิ่งที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจได้อย่างแท้จริง ด้วยการปรับปรุงระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ขณะที่ลดความกังวลด้านงบ ประมาณไอทีให้น้อยลง อย่างไรก็ตามโดยพื้นฐานแล้ว สิ่งนี้ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที และยังมีผลต่อวิธีที่เราใช้ในการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลด้วย โดยสรุปแล้วคลาวด์ คอมพิวติ้งช่วยให้ผู้ใช้เข้าถึงการประมวลผลและมีทรัพยากรที่เหมาะสำหรับองค์กรธุรกิจในทุกขนาด
จะเห็นได้ว่าภัยคุกคามความปลอดภัยข้อมูลในอดีตมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเสียหายให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ขณะที่ภัยคุกคามข้อมูลในปัจจุบันต้องการขโมยข้อมูลเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็น หมาย เลขบัตรเครดิต หมายเลขประกันสังคม และข้อมูลทางการเงิน เป็นต้น องค์กรธุรกิจและผู้บริโภคล้วนประสบปัญหาอย่างเดียวกันนั่นคือจำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาล โดยปริมาณข้อมูลที่ทำงานผ่านเครือข่ายทั่วโลก ณ ปัจจุบันคาดว่าจะอยู่ที่ระดับเพตาไบต์ (1 พันล้านล้านไบต์) และไม่ใช่เฉพาะจำนวนข้อมูลที่มีมากเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเชื่อมต่อเครือข่ายจำนวนมากผ่านอุปกรณ์ไร้สายชนิดต่างๆ โดยขณะนี้มีการใช้งานอุปกรณ์หลากหลายชนิดที่เชื่อมต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นแลปท็อป โน้ตบุ๊ก แท็บเล็ตพีซี หรือสมาร์ทโฟน ซึ่งทั้งหมดสามารถรับข้อมูลและใช้แอพพลิเคชั่นที่อยู่ภายในเครือข่ายคลาวด์ได้เหมือนๆ กัน ดังนั้นข้อมูลจึงไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะในเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์ประเภทใดประเภทหนึ่งอีกต่อไป ด้วยเหตุนี้เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าข้อมูลที่มีปริมาณมหาศาลดังกล่าวจะมีความปลอดภัย และจะแน่ใจได้อย่างไรว่าโลกที่เราสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันอยู่นี้มีความปลอดภัยเพียงพอสำหรับเราในการดำเนินงานและปฏิบัติภารกิจได้ต่อไป
บริษัท เทรนด์ ไมโคร เชื่อว่าคำตอบอยู่ที่ระบบคลาวด์หรืออินเทอร์เน็ตคลาวด์ (Internet Cloud) จะเห็นได้ว่าในการปกป้องลูกค้าต่อภัยคุกคามที่มาจากระบบคลาวด์ บริษัท เทรนด์ ไมโคร ได้ใช้ระบบคลาวด์เป็นทางออกในการนำเสนอเครือข่ายป้องกันภัยอัจฉริยะ (เทรนด์ ไมโคร สมาร์ท โพรเท็คชั่น เน็ตเวิร์ค) โดยบริษัทต้องการแก้ปัญหาใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) การเพิ่มจำนวนของมัลแวร์ และ 2) ความแพร่หลายของอุปกรณ์เครือข่ายต่างชนิดในสถานที่ทำงาน ทั้งนี้บริษัท เทรนด์ ไมโคร สามารถปิดกั้นภัยคุกคามในระบบคลาวด์ได้มากกว่าการใช้งานในอุปกรณ์ ซึ่งมีแพทเทิร์น ไฟล์ (pattern file) ขนาดใหญ่ที่อุปกรณ์ทั่วไปไม่สามารถรองรับได้ ดังนั้นเครือข่ายป้องกันภัยอัจฉริยะของเทรนด์ ไมโคร (สมาร์ท โพรเท็คชั่น เน็ตเวิร์ค) อาจจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจากระบบคลาวด์ เนื่องจากภัยคุกคามข้อมูลที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ในปัจจุบัน ทำให้จำเป็นต้องใช้กำลังการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงและเป้าหมายในขณะนี้คือการปิดกั้นภัยคุกคามข้อมูลไม่ให้เข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
บุคคลในแวดวงอุตสาหกรรมบางรายได้ให้เหตุผลว่าการประมวลผลแบบคลาวด์ อาจทำให้เกิดการรวมระบบความปลอดภัยเป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ฉันไม่เชื่อว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้น ในเมื่อทุกระดับชั้นล้วนแยกส่วนกัน แล้วความปลอดภัยจะสามารถรวมกันได้อย่างไร ความปลอดภัยจำเป็นต้องมีอยู่ในทุกระดับชั้นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการป้องกันข้อมูล องค์กรธุรกิจไม่สนใจว่าข้อมูลของพวกเขาจะมาจากที่ใด แต่สิ่งที่พวกเขาให้ความสนใจอย่างมากคือวิธีการป้องกันข้อมูลต่างหาก ดังนั้นองค์กรธุรกิจปัจจุบันจึงมีคำถามที่สำคัญซึ่งผู้ให้บริการระบบคลาวด์ต้องตอบให้ได้ นั่นคือ
ข้อมูลของฉันอยู่ที่ใดใครกำลังเข้าใช้ข้อมูลอของฉันอยู่มีการแก้ไขข้อมูลของฉันหรือไม่ สภาพแวดล้อมใหม่นี้ต้องการนวัตกรรมความปลอดภัย และนั่นคือสิ่งที่บริษัท เทรนด์ ไมโคร ได้ให้ความสำคัญอยู่แล้ว โซลูชั่นต่างๆ จะต้องสามารถปกป้องโครงสร้างระบบคลาวด์ได้ด้วยตนเอง บริษัท เทรนด์ ไมโคร เข้าใจว่านวัตกรรมต้องอยู่ในรูปของวิวัฒนาการมากกว่าการปฎิวัติเปลี่ยนแปลง จะเห็นได้ว่าแผนกไอทีในหลายองค์กรต้องการปรับใช้ระบบคลาวด์ แต่ความปลอดภัยที่ "เหมาะสม" กับความต้องการของพวกเขาจะต้องมีอยู่ก่อนจึงจะสามารถนำระบบคลาวด์มาใช้ได้ นอกจากนี้ พวกเขายังตระหนักด้วยว่าถ้าพวกเขาไม่ได้สร้าง "ระบบคลาวด์ที่ปลอดภัย" ซึ่งพร้อมให้บริการสำหรับลูกค้าได้แล้ว ลูกค้าก็จะค้นหาและใช้งานระบบคลาวด์จากที่อื่นๆ ซึ่งอาจมีระดับความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอก็เป็นได้
สื่อมวลชนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บุษกร สนธิกร โทร +66 (0) 2439 4600 ต่อ 8202 อีเมล [email protected]
ศรีสุพัฒ เสียงเย็น โทร +66 (0) 2439 4600 ต่อ 8300 อีเมล [email protected]