พัฒนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรม

พุธ ๐๗ เมษายน ๒๐๑๐ ๑๑:๓๒
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้เชิงคุณธรรมครั้งที่ 2 ที่ห้องประชุม 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่สา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางสาวนราทิพย์ พุ่มทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม พร้อมด้วยคณะทำงานและคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ร่วมเป็นวิทยากรในการสัมนาเชิงปฏิบัติการ ด้านเทคนิคการถอดองค์ความรู้อย่างง่าย การใช้ตัวชี้วัดประกอบการประเมินผลฯ การเรียนรู้การผลิตสื่ออย่างง่าย เช่น หนังสือพิมพ์กำแพง โบชัวร์-โปสเตอร์ และการจัดทำ ข้อมูลแหล่งเรียนรู้เพื่อเผยแพร่ (Google Maps) และการใช้งานระบบ Minisite ให้แก่ผู้นำ และเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนเชิงคุณธรรม จำนวน 32 แห่งในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำไปจัดระบบข้อมูลการดำเนินงาน การเผยแพร่องค์ความรู้ผลิตภัณฑ์ และผลงานของแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

นายบุญทรง ยุติธรรม ศูนย์การเรียนรู้เชิงคุณธรรมตำบลร้องวัวแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า “ศูนย์ของเราเน้นการพึ่งพาตนเอง ตามแนวทฤษฏีเศรษฐกิจพอพียง โดยช่วยกันเลี้ยงหมูหลุม ซึ่งเกิดประโยชน์ 3 ประการคือ 1.ช่วยลดต้นทุนเรื่องอาหารเพราะเราใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น 2. ช่วยลดกลิ่นหมู โดยการควบคุมกระบวนการเลี้ยงหมู 3. ช่วยเพิ่มผลกำไรทำให้เกษตรกรพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ที่ผ่านมาใช้อาหารสำเร็จรูปได้กำไรน้อย แต่พอ ใช้วัสดุในชุมชนทำอาหารให้ได้กำไรเยอะขึ้น ผลผลิตเพิ่มขึ้น สุขภาพดีขึ้นและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ถือเป็นแนวทางการทำเกษตรแบบยั่งยืน ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเป็นประโยชน์อย่างมาก จะช่วยให้เรามีการพัฒนามากขึ้นโดยเฉพาะช่วยประหยัดพลังงาน”

นางสาวปิลันที ทองสุข ผู้จัดการ ฯ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านแคว ต.ท่ากว้าง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรวัตถุดิบในชุมชน เช่น ลำใย กล้วย มะม่วง มะเฟือง ฯลฯ การบริหารจัดการแบบครอบครัว ช่วยกันทำหน้าที่ร่วมกัน เริ่มแรกมีสมาชิก 35 คน ปัจจุบันมี 105 คน มีรายได้ต่อครัวเรือน 4-5 พันบาท ต่อเดือน การมาอบรมในครั้งนี้ ดีมากในด้านการส่งเสริมคุณธรรม เราทำธุรกิจประเภทอาหาร ไม่ควรนึกถึงแต่กำไรต้องคำนึงถึงผู้บริโภค ต้องมีความซื่อสัตย์ด้านคุณภาพ และนำรายได้ตอบแทนคืนสู่สังคมด้วย มีการประชุมกันทุกเดือน คัดเลือกวัตถุดิบในชุมชน มาตรฐานขนาดไซต์ต้องเข้มงวด เช่น ขิงอ่อนนำไปอบแห้ง ขิงหนุ่มใช้ทำขนมท็อฟฟี่ ขิงแก่ทำสมุนไพรผง เกษตรกรสามารถขายวัตถุให้กับกลุ่มได้อย่างคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านใด ควรเริ่มต้นจากชุมชน หรือถิ่นกำเนิดโดยนำภูมิปัญญาในชุมชนมาสืบทอดให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้และปฏิบัติได้จริง ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์การเรียนรู้วิสาหกิจชุมชนบ้านแคว โทร. 084-0409395

องค์ความรู้ที่จัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้นำไปสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับที่กว้างขึ้น ก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของแหล่งเรียนรู้ และเสริมสร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน โดยศูนย์การเรียนรู้แต่ละแห่งจะสามารถนำข้อมูลข่าวสารและผลิตภัณฑ์ของชุมชน ขึ้นประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ทราบได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วทางสื่ออินเตอร์เน็ต โดยผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดได้จากเว็ปไซต์ google Maps และwww.moralcenter.or.th ประมาณเดือนมิถุนายน 2553 นี้

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ 2-6449900 ต่อ 104

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ