กลุ่มซีไอเอ็มบี ก่อตั้งสถาบันวิจัยซีไอเอ็มบีอาเซียน (CIMB ASEAN Research Institute — CARI)

พุธ ๐๗ เมษายน ๒๐๑๐ ๑๓:๓๗
กลุ่มซีไอเอ็มบี ก่อตั้งสถาบันวิจัยซีไอเอ็มบีอาเซียน (CIMB ASEAN Research Institute — CARI) สถาบันวิจัยอิสระเพื่อสานวาระการผนึกกำลังของประชาคมอาเซียน

วันนี้ กลุ่มซีไอเอ็มบีได้ประกาศแผนในการจัดตั้งสถาบันวิจัยเพื่อผนึกกำลังกลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้ชื่อว่า สถาบันวิจัยซีไอเอ็มบีอาเซียน (CIMB ASEAN Research Institute - CARI) CARI โดยจะดำเนินงานในฐานะองค์กรอิสระซึ่งมีภารกิจหลักในการผสานความร่วมมือทางสังคมและเศรษฐกิจของประชาคมอาเซียน

ดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ราซัค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มซีไอเอ็มบี กล่าวในงานแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนซึ่งจัดขึ้นในวาระที่มีการเสวนาผู้นำอาเซียนครั้งที่ 7 (The 7th ASEAN Leadership Forum) ว่า “CARI จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มและความร่วมมือของประเทศในประชาคมอาเซียนโดยจะเป็นผู้นำทางความคิดและให้ความเห็นในเรื่องที่สำคัญต่างๆตลอดจนในด้านแผนปฏิบัติการด้วย โดยกลุ่มซีไอเอ็มบีได้วางกรอบการดำเนินงานในอนาคตของกลุ่มฯตามวาระของอาเซียน ดังนั้น แม้ว่า CARI จะเป็นองค์กรอิสระ แต่จะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ตามแนวทางการดำเนินธุรกิจของกลุ่มซีไอเอ็มบี”

“ในปัจจุบัน ความร่วมมือในการบรรลุภารกิจต่างๆของอาเซียนยังไม่ได้รับการสนับสนุนเท่าที่ควรจากประเทศต่างๆในประชาคมนี้ จึงต้องอาศัยแรงสนับสนุนจากภาคเอกชนเพื่อช่วยเสริมแรงผลักดันในเรื่องต่างๆของเลขาธิการอาเซียนและรัฐบาลของประเทศทั้งหลาย ทุกวันนี้ เศรษฐกิจของประเทศต่างๆในประชาคมอาเซียนมีมูลค่ารวมกันแล้วจัดว่าใหญ่เป็นอันดับ 3 ของทวีปเอเชีย แต่การจะให้ประเทศเหล่านี้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่อย่างเต็มที่ยังต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจและการให้ความสำคัญจากทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กลุ่มซีไอเอ็มบีจึงเดินหน้าในเรื่องนี้ด้วยการก่อตั้ง CARI ขึ้นมาเพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นอีกแรงหนึ่ง” นาเซียร์กล่าว

นาเซียร์ชี้แจงต่อไปว่า นอกจากจะเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือของประชาคมอาเซียนแล้ว CARI ยังจะเป็นองค์กรที่มุ่งใช้แนวทางการแก้ปัญหาและการดำเนินการที่มีผลในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในวาระที่สำคัญต่างๆ เช่น เรื่องของเขตการค้าเสรีอาเซียน (FTAs) การป้องกันการกีดกันทางการค้า (non-trade barriers) การผนวกตลาดทางการเงิน และกฎระเบียบของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ นอกจากนี้ CARI ยังช่วยส่งเสริมการรวมตัวกันเพื่อสร้างเครือข่ายผู้นำทางธุรกิจของอาเซียนอีกด้วย

CARI เป็นองค์กรที่กลุ่มซีไอเอ็มบีก่อตั้งและถือหุ้นทั้งหมด โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงจาการ์ตา โครงสร้างการกำกับดูแล CARI จะประกอบด้วยคณะกรรมการองค์กร (Board of Governors — BOG) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมดูแลทิศทางการดำเนินงานและการเงินโดยภาพรวมของ CARI และคณะที่ปรึกษาองค์กร (Board of Advisors — BOA) ซึ่งจะกำหนดทิศทางกลยุทธ์และดูแลงานวิจัยขององค์กรในเชิงวิชาการ ทั้งคณะกรรมการองค์กรและคณะที่ปรึกษาองค์กร จะประกอบด้วยบุคคลที่มีความโดดเด่นในด้านต่างๆของอาเซียน ได้แก่ นายเกรนน์ ยูซูฟ (Glenn Yusuf) ซึ่งเป็นประธานคนแรกของสถาบันเพื่อการปรับโครงสร้างธนาคารแห่งอินโดนีเซีย (IBRA) และ ดาตุ๊ก เสรี ปังลิมา แอนดรู เชง (Datuk Seri Panglima Andrew Sheng) อดีตนายธนาคารกลางของมาเลเซียและฮ่องกง เป็นต้น

นอกจากนี้ นายจอห์น เปง (John Pang) นักวิชาการและที่ปรึกษาด้านบริหารจัดการที่มีชื่อเสียงจะได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ CARI ทั้งนี้ ในปัจจุบัน นายจอห์น เปง เป็นนักวิชาการรับเชิญอาวุโสของ Rajaratnam School of International Studies ในสิงคโปร์ โดยเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการในหลากหลายสาขาทั้งจิตวิทยาเศรษฐศาสตร์ จิตวิทยาทางการเมือง และศาสนมานุษยวิทยา มีผลงานวิชาการที่ London School of Economics และ Stanford University

การก่อตั้ง CARI จะต้องได้รับการอนุมัติจาก Bank Negara Malaysia ก่อนตามขั้นตอนของทางการ

เกี่ยวกับ CIMB Group

CIMB Group เป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับสองในมาเลเซีย และเป็นหนึ่งในผู้นำกลุ่มผู้ให้บริการทางการเงินที่ครบวงจรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ CIMB Group ให้บริการการธนาคารเพื่อการบริโภค การธนาคารเพื่อการลงทุน การธนาคารอิสลาม การบริหารจัดการสินทรัพย์ รวมถึงการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการประกันภัย สำนักงานใหญ่ของ CIMB Group ตั้งอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ โดยมีสำนักงานภูมิภาคหลักในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และประเทศไทย

CIMB Group ดำเนินธุรกิจภายใต้แบรนด์หลัก 3 แบรนด์ ได้แก่ CIMB Bank, CIMB Investment Bank และ CIMB Islamic Bank นอกจากนี้ CIMB Group ยังเป็นผู้ถือหุ้นหลักใน CIMB Niaga ในอินโดนีเซีย และเป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายเดียวใน CIMB Thai ประเทศไทย

CIMB Group จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เบอร์ซ่า มาเลเซีย ผ่าน CIMB Group Holdings Berhad (เดิมรู้จักในนาม Bumiputra-Commerce Holdings Bhd.) โดยมีมูลค่าตามราคาตลาด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 ประมาณ 45.3 พันล้านริงกิต CIMB Group มีพนักงานรวม 36,000 คนใน 11 ประเทศ

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ

กานต์พิชชา ธนจินดาเลิศ

สำนักสื่อสารองค์กร

ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย มรกต จิรนิธิรัตน์

สำนักสื่อสารองค์กร

ธนาคาร ซีไอเอ็มบีไทย

โทรศัพท์: +66 2638 8000 ต่อ 8259

โทรสาร: +66 2657 0384

อีเมล์: [email protected]

โทรศัพท์: +66 2638 8000 ต่อ 8249

โทรสาร: +66 2657 0384

อีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ