ปภ.เตือน 26 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกระมัดระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนในระยะ 1-2 วันนี้

ศุกร์ ๐๙ เมษายน ๒๐๑๐ ๐๘:๔๓
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประสาน 26 จังหวัดในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกแจ้งเตือนประชาชนเตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกในช่วงวันที่ 8-9 เมษายน 2553 ซึ่งอาจทำให้บ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ได้รับความเสียหาย

นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่า ช่วงวันที่ 8-9 เมษายน 2553 ความกดอากาศสูงแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ประกอบกับ ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคกลางและภาคตะวันออก ทำให้พื้นที่ 26 จังหวัด ได้แก่ หนองบัวลำภู เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร ปราจีนบุรี สระแก้ว นครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เกิดพายุฤดูร้อน โดยมี สภาพอากาศแปรปรวน พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงภัยเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุฤดูร้อน พายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก ซึ่งอาจทำให้อาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร ได้รับความเสียหายจากพายุลมแรง พร้อมประสานผู้ว่าราชการจังหวัดกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบป้ายโฆษณาและ สิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง หากพบว่าไม่ปลอดภัยหรือติดตั้งโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่โดยเคร่งครัดรวมถึงตัดแต่งกิ่งไม้ใหญ่ที่ไม่แข็งแรง เพื่อป้องกันการโค่นล้มทับบ้านเรือนได้รับความเสียหาย หากเกิดสถานการณ์ภัยในพื้นที่ให้ดำเนินการตามขั้นตอนแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของจังหวัด พร้อมรายงานสถานการณ์ภัยและการให้ความช่วยเหลือให้ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัยทราบจนกว่าสถานการณ์ภัยจะสิ้นสุด

นายอนุชา กล่าวเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยทั้ง 26 จังหวัดเตรียมความพร้อมรับมือพายุฤดูร้อนและลูกเห็บตก โดยติดตามรับฟังข่าวพยากรณ์อากาศอย่างสม่ำเสมอ หากมีประกาศแจ้งเตือนให้เก็บสิ่งของที่สามารถปลิวไปตามลมได้ไว้ในที่มิดชิด ตรวจสอบบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง รวมถึงตัดแต่งกิ่งไม้บริเวณรอบบ้าน เพื่อป้องกันการโค่นล้มทับบ้านเรือนได้รับความเสียหาย ส่วนเกษตรกร ให้จัดทำที่ค้ำยันต้นไม้หรือที่กำบัง เพื่อป้องกันพืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหายขณะเกิดพายุฤดูร้อน หลีกเลี่ยงการหลบพายุใต้ต้นไม้ ใกล้ป้ายโฆษณาหรือเสาไฟฟ้า เพราะอาจถูกล้มทับได้ รวมถึงไม่อยู่ใกล้วัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าและไม่สวมใส่เครื่องประดับ เช่น ทองคำ เงิน เป็นต้น งดเว้นการใช้โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด เพราะขณะพายุฝนฟ้าคะนอง อาจเกิดฟ้าผ่า ทำให้ได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ สุดท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุฤดูร้อน พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2243-2200 ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมปภ.

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ