ธนาคารธนชาต ชำระเงินค่าหุ้น “ธนาคารนครหลวงไทย” แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เสร็จสมบูรณ์แล้ว ก้าวสู่ธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 5 ของประเทศให้บริการหลากหลายครบวงจร

ศุกร์ ๐๙ เมษายน ๒๐๑๐ ๑๖:๔๒
ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ประกาศในวันนี้ว่า ธนาคารฯ ได้ชำระเงินค่าซื้อหุ้น ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “SCIB” จำนวน 32,673,255,875 บาท แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเรียบร้อยแล้ว ทำให้ธนาคารธนชาต เข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำนวน ร้อยละ 47.58 ในธนาคารนครหลวงไทยอย่างสมบูรณ์ พร้อมก้าวสู่ธนาคารขนาดใหญ่อันดับ 5 ของประเทศ และให้บริการทางการเงินที่หลากหลายครบวงจร

นายศุภเดช พูนพิพัฒน์ ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่ธนาคารฯ ได้บรรลุข้อตกลงในการซื้อหุ้นธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “SCIB” จำนวน 1,005,330,950 หุ้น หรือร้อยละ 47.58 ของทุนจดทะเบียนและชำระแล้วทั้งหมด ในราคาหุ้นละ 32.50 บาท เป็นเงิน 32,673,255,875 บาทจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินนั้น ในวันนี้ ( 9 เมษายน 2553) ธนาคารฯได้ชำระเงินแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว หลังจากนี้ ในระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 7 มิถุนายน 2553 ธนาคารธนชาต จะทำคำเสนอซื้อ (Tender Offer) หุ้น SCIB จากผู้ถือหุ้นรายอื่นทั้งหมดในราคาหุ้นละ 32.50 บาท เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

และผลจากการทำธุรกรรมชำระเงินในครั้งนี้ทำให้ธนาคารธนชาตและกลุ่มธนชาต ถือหุ้น SCIB รวมกันทั้งหมดร้อยละ 66.89 และสามารถส่งตัวแทนเข้าร่วมในกรรมการธนาคารนครหลวงไทยได้ตามสัดส่วน เพื่อร่วมในการบริหารจัดการธนาคารนครหลวงไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันก่อนการควบรวมกิจการ

นายศุภเดช กล่าวอีกว่า จากนี้ไปธนาคารธนชาตจะกลายเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ของสถาบันการเงินในประเทศไทย มีสินทรัพย์รวมกว่า 8 แสนล้านบาท สามารถยกระดับศักยภาพในการแข่งขันกับทั้งสถาบันการเงินไทย และสถาบันการเงินต่างประเทศ ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยบริการทางธุรกิจและผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและครบวงจร สามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงด้วยความใส่ใจและรอบรู้ของพนักงาน 2 ธนาคารในมาตรฐานที่ดีในระดับเดียวกัน ผ่านช่องทางสาขาที่มีเกือบ 700 สาขาทั่วประเทศ และตู้เอทีเอ็มกว่า 2,000 ตู้ นำจุดแข็งของทั้งสองสถาบันมาผสานเพื่อความเป็นเลิศทางธุรกิจและบริการเพื่อประโยชน์สูงสุดของลูกค้าของทั้ง 2 ธนาคาร จำนวนกว่า 4 ล้านราย

นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รู้สึกยินดีที่ข้อตกลงในการซื้อขายหุ้นธนาคารนครหลวงไทย ระหว่างกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ และธนาคารธนชาต สำเร็จสมบูรณ์ไปด้วยดี และรู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในการทำให้ภารกิจการขายหุ้นธนาคารนครหลวงไทย ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯสำเร็จลุล่วง โดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้รับผลตอบแทนมากกว่าจำนวนเงินที่นำมาสนับสนุนจากการลงทุนโดยช่วยเหลือธนาคารเมื่อครั้งที่ประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 ซึ่งการเตรียมความพร้อมของธนาคารฯตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาใน 3 ปีหลัง โดยเฉพาะด้านการพัฒนาพนักงาน มีส่วนช่วยในการสร้างมูลค่าให้กับธนาคารฯได้อย่างมีนัยสำคัญ และจากศักยภาพ ความมั่นคงแข็งแกร่ง รวมถึงความเชี่ยวชาญจากทั้ง 2 ธนาคารที่จะนำมาผสมผสานกัน ทั้งจากธนาคารธนชาตที่มีความเชี่ยวชาญด้านลูกค้ารายย่อยโดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ และธนาคารนครหลวงไทยที่เชี่ยวชาญด้านสินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อ SME และสินเชื่อเคหะ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุดจากบริการทางการเงินที่ครบถ้วนหลากหลายและสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม