“มาเป็นกอ” จาก ราชภัฎพระนคร คว้าแชมป์ การประกวด “Natural Innovation Contest”

ศุกร์ ๑๖ เมษายน ๒๐๑๐ ๑๓:๒๐
ได้ทีมชนะเลิศแล้ว หลังจากลงมือปฏิบัติตกแต่งพื้นที่จัดวางร้านขายต้นไม้ ขายปลา และร้านอาหาร พื้นที่จริง ณ กันตนา มูฟวี่ทาวน์ อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม เป็นระยะเวลา 4 วัน 3 คืน ที่สาขาวิชาออกแบบหัตถศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ร่วมกับ บริษัท กันตนา มูฟวี่ทาวน์ จัดขึ้นเพื่อให้นิสิตนักศึกษาร่วมส่งผลงานเข้าประกวด การออกแบบตกแต่งพื้นที่จัดวางร้านขายต้นไม้ ขายปลา และร้านอาหาร ภายใต้หัวข้อ "Natural Innovation" (นวัตกรรมแห่งธรรมชาติ) เป็นการเชื่อมโยงความคิดทางด้านการออกแบบกับธรรมชาติ ให้มีความผสมผสานกลมกลืน แต่โดดเด่นและมีเอกลักษณ์เฉพาะ ด้วยวัสดุธรรมชาติ

คุณนิรัตติศัย กัลย์จาฤก กรรมการรองผู้จัดการ บริษัท กันตนา มูฟวี่ทาวน์ (2002) จำกัด หนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “โครงการNatural Innovation Contest เป็นโครงการที่เราต้องการทำตลาดสำหรับคนรักต้นไม้ เราก็เลยปรึกษากับทางมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ให้เป็นแม่งานจัด โดยการรวบรวมเอาหลายๆมหาวิทยาลัยมาประกวดครับ ก็ตอนแรกได้มาประมาณเกือบร้อยทีม เหลือจริงๆที่คัดมาสุดท้ายเหลือ 11 ทีม ให้ปฏิบัติจริง แล้วก็ได้ทีมชนะเลิศแล้ววันนี้ เท่าที่เห็นผลงานน้องๆก็ประทับใจนะครับ เพราะว่า ในการที่เราให้โจทย์ที่ค่อนข้างยากด้วย แล้วก็ให้เวลาน้อยด้วย ฉะนั้นน้องๆก็จะค่อนข้างกดดันการทำงานตรงนี้ แล้วสิ่งที่เราให้เค้าทางอ้อมก็คือ เราต้องการให้เค้าโตขึ้นมาด้วยความระมัดระวังในการปฏิบัติงาน หรือโตขึ้นมาด้วยความแข็งแกร่งที่เจอปัญหาอะไร อุปสรรค์ต่างๆก็สามารถแก้ไขได้” จากโครงการนี้ทางกันตนา มีการต่อยอดอย่างไรบ้าง “ต่อไปเราจะมีโครงการก็คือ ให้เค้าไปแข่งขันออกแบบฉากบ้าง ออกแบบฉาก Out door ฉาก In door ก็เราจะใช้กลุ่มนี้ทั้ง 11 กลุ่มทำงานกับเราต่อคับ สุดท้ายนี้ ก็จะบอกว่า คนไหนที่ได้รางวัลที่น้อยที่สุด ก็อย่าท้อใจ เพราะว่าตรงนี้มันก็เป็นก้าวแรก แล้วเราก็สามารถเอากลับไปพัฒนาตัวเองได้”

และทีมมาเป็นกอ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร นำทีมโดยนายธรรมนูญ นรนิล หรือ นูญ ก็คว้ารางวัลชนะเลิศไปครอง ได้รับทุนการศึกษา 50,000 บาท พร้อมโล่ และประกาศนียบัตร ซึ่ง ‘นูญ’ เป็นตัวแทนของทีม มาเป็นกอ กล่าวถึงโครงการว่า “โครงการนี้ทำให้เราได้รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นทีม แล้วก็ได้ทักษะเกี่ยวกับช่างมาด้วย ได้รู้เกี่ยวกับการปรับแก้แบบให้เข้ากับสถานที่ ได้ร่วมมือกันแต่ละกลุ่มด้วยครับ” การที่เราได้ไปทำในพื้นที่จริง ที่มันไม่มีในห้องเรียน เรารู้สึกอย่างไรบ้าง “รู้สึกว่า ตอนแรกก็ตื่นเต้นที่จะมาทำ เพราะไม่เคยสัมผัสอย่างนี้มาก่อน แล้วก็ได้รู้ว่า ที่เราออกแบบไป พอไปทำจริงมันคนละเรื่องกันเลยครับ” ต่อไปเราจะมีการต่อยอดอย่างไรบ้าง “ก็คงไปฝึกเพิ่ม พวกการออกแบบ เช่นการออบแบบภายใน เพราะมันมีส่วนในการทำงานต่อไปด้วยครับ” อย่างฝากอะไรบ้าง “ก็สำหรับเพื่อนๆคนอื่นๆก็อย่างเพิ่งท้อใจ เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นครับ ไม่มีใครเก่งเกินกว่าใคร สำหรับงานนี้”

ส่วนรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ทีม “ต๊ะ ติ๊ง โหน่ง” จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้รับทุนการศึกษา 35,000 บาท พร้อมโล่ และประกาศนียบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้แก่ทีม “ทรายมูลวิทยา” จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้รับทุนการศึกษา 20,000 บาท พร้อมโล่ และประกาศนียบัตร รางวัลความคิดสร้างสรรค์ 3 รางวัล รับทุนการศึกษารางวัลละ 10,000 บาท พร้อมประกาศนียบัตร ได้แก่ ทีม “หัวรุ่ง” ทีม “สาม” และทีม “MINIMAL” จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

อย่างไรก็ตาม อีก 4 ทีมที่เหลือก็ยังได้รางวัลปลอบใจ เป็นทุนการศึกษาทีมละ 3,000 บาท และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการนี้ทั้ง 11 ทีมจะได้มีโอกาสร่วมงานกับทางบริษัท กันตนา มูฟวี่ทาวน์ ในส่วนของการออกแบบตกแต่งฉากและสถานที่ต่อไปอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ