พอล วูด นักวิเคราะห์อาวุโสของไซแมนเทค กล่าวว่า “การแข่งบอลโลกครั้งนี้ สร้างความสนใจแก่แฟนบอลกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก และบรรดาอาชญากรไซเบอร์ทั้งหลาย กำลังนำกระแสนี้มาใช้เป็นธีมหลักในการคุกคาม “จากที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าการแข่งขันกีฬาครั้งใหญ่ไม่ว่าจะเป็นกีฬาอะไรก็ตามมักส่งผลให้การคุกคามบนอินเตอร์เน็ตทุกรูปแบบเพิ่มขึ้น โดยในช่วงการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่กรุงปักกิ่งในปี 2551 ก็ทำให้การโจมตีของฟิชชิ่งเพิ่มขึ้นถึง 66 เปอร์เซ็นต์ และจากการที่มีการเชื่อมโยงสายเคเบิลใต้น้ำที่ใช้ในการสื่อสารทั้งสองสายไปยังชายฝั่งแอฟริกาใต้ในเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา ก็จะยิ่งทำให้ระดับภัยคุกคามรุนแรงยิ่งขึ้น โดยจากประวัติที่ผ่านๆ มาจะเห็นได้ว่าการคุกคามต่างๆ มักเพิ่มขึ้นหลังจากที่มีการเพิ่มแบนด์วิธใหม่ในประเทศนั้นๆ”
ไซแมนเทคได้ทำการติดตั้งเซ็นเซอร์ตรวจจับในระบบเครือข่ายเพิ่มขึ้นทั้งในประเทศแอฟริกาใต้ และในแถบภูมิภาคแอฟริกาใต้ เพื่อตรวจสอบทราฟฟิกทิ่เกิดขึ้น พร้อมป้อนข้อมูลให้กับลูกค้าที่กำลังมองหาวิธีการป้องกันเครือข่ายของตนให้รอดพ้นจากภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ “ยกตัวอย่างเช่น เครือข่ายพันธมิตรของเรา 2 แห่งที่อยู่ในแอฟริกาใต้ ได้ส่งไฟล์ที่มุ่งประสงค์ร้ายและเป็นรูปแบบเฉพาะซึ่งไซแมนเทคไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน มาให้กับเรา” พอล วู๊ด กล่าว
ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มักจะไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลกของอาชญากรไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นอีเมลประเภทหลอกให้โอนเงินล่วงหน้า หรือการโจมตีของอีเมลขยะและฟิชชิ่งที่ส่งหาผู้ใช้โดยแฝงมาในรูปแบบของการยื่นข้อเสนอตามเทศกาลต่างๆ “กฎแห่งความเป็นจริงก็คือ สิ่งใดที่ดูดีเกินความเป็นจริง สิ่งนั้นอาจเป็นเรื่องหลอกลวง” กอร์ดอน เลิฟ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคแอฟริกา ไซแมนเทค กล่าว “และไม่ว่าจะเป็นการคุกคามรูปแบบใดก็ตามที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน อาชญากรไซเบอร์ล้วนมองหาช่องทางเพื่อหวังขโมยข้อมูลส่วนตัว ทั้งที่เป็นข้อมูลยืนยันตัวบุคคล เลขบัญชีธนาคาร พาสเวิร์ดและเลขบัตรเครดิต เพื่อขโมยเงินจากผู้ใช้ทั้งนั้น ไซแมนเทคมุ่งหวังให้เว็บไซต์ 2010 Net Threat ที่จัดทำขึ้นเป็นสื่อเพื่อบอกต่อไปยังผู้คนทั่วไปให้ระมัดระวังและป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามต่างๆ ที่เกิดขึ้น”
ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตควรตื่นตัวจากการหลอกลวงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในหลากหลายรูปแบบ “บรรดาผู้โจมตียังก้าวหน้าไปอีกขั้นด้วยการทำให้เว็บไซต์ปลอม หรือ เว็บไซต์ที่ถูก “วางยา” จากโค้ดอันตราย ปรากฎอยู่ในผลการค้นหาอันดับต้นๆ” เลิฟ กล่าว “ผู้ใช้มีแนวโน้มที่จะเชื่อว่าเว็บไซต์ที่ปรากฎขึ้นเป็นอันดับแรก ๆ ของการค้นหาจะเป็นเว็บไซต์จริงและอาจคลิกเข้าไปดูโดยไม่มีการตรวจสอบแหล่งที่มาให้แน่ชัดเสียก่อน”
เมื่อถึงช่วงเวลาที่การแข่งขันฟุตบอลโลกเริ่มขึ้น ตั๋วเข้าชมจำนวน 3.1 ล้านใบ ก็อาจถูกขายหมดแล้ว และจะมีผู้คนจำนวนกว่า 400 ล้านคนทั่วโลกที่จะคอยเฝ้าดูการแข่งขันทางโทรทัศน์ โดยจะมีแฟนบอลจำนวนไม่น้อยที่เข้าอินเทอร์เน็ตเพื่อหาตั๋วเข้าชมการแข่งขัน รวมถึงที่พัก เที่ยวบินและหาวิธีการที่จะเกาะติดการแข่งขันกีฬาที่เป็นที่นิยมที่สุดในปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีจำนวนนับหลายร้อยล้านคนทีเดียว
“เว็บไซต์นี้จะมีข้อมูลที่จำเป็นที่ช่วยให้ผู้คนทั่วไปสามารถป้องกันตัวเองในเวลาใช้อินเทอร์เน็ต แต่ถึงอย่างไรก็ตามผู้โจมตีจะยังคงหาหนทางใหม่ๆ เพื่อหลอกลวงผู้ใช้ให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ฉะนั้นวิธีการป้องกันที่ดีคือ ควรทราบข้อมูลและการแจ้งเตือนต่างๆจากแหล่งที่เชื่อถือได้อย่างต่อเนื่องและอัพเดทซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสอยู่สม่ำเสมอ” เลิฟ กล่าว หรือหากสนใจสัมภาษณ์ผู้บริหารเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้ กรุณาติดต่อที่ เกศ นะคะ
สำหรับสื่อมวลชน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด
โทร : 02-655-6633
คุณกณวรรธน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (เกศ) [email protected]
คุณบุษกร ศรีสงเคราะห์ (ติ๊ก) [email protected]