สำหรับดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกันจากระดับ 114.6 ในเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ระดับ 107.2 ในเดือนมีนาคมเนื่องจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่า ยอดคำสั่งซื้อรวม ยอดขายรวม ปริมาณการผลิตและผลประกอบการจะยังคงปรับตัวลดลง
ทั้งนี้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามขนาดของกิจการ ดัชนีความเชื่อมั่นของ อุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับตัวลดลง ทั้ง 3 ขนาด โดยอุตสาหกรรมขนาดย่อมลดลง เนื่องจากปัญหาทางการเมืองที่ยืดเยื้อส่งกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศอย่างหลีกเกลี่ยงไม่ได้ และทำให้อุตสาหกรรมขนาดย่อมซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการอุปโภคบริโภคในประเทศมีความเชื่อมั่นลดลง ทั่งนี้พบว่าองค์ประกอบดัชนีปรับลดลงต่ำกว่าระดับ 100 ในทุกองค์ประกอบ ซึ่งสะท้อนว่าผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์การค้า อุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน เฟอร์นิเจอร์ หลังคาและอุปกรณ์ เครื่องจักรกลการเกษตร ก๊าซ สมุนไพร และเซรามิก อุตสาหกรรมขนาดกลาง ปรับตัวลดลงจาก ยอดคำสั่งซื้อ ยอดขายรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์ โรงเลื่อยและโรงอบไม้ การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์กระดาษ อลูมิเนียม เคมี เยื่อและกระดาษ และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ปรับตัวลดลงโดยยอดคำสั่งซื้อ ยอดขายรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่อย่างเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นมียอดคำสั่งซื้อชะลอตัวลงจากเดือนก่อน แต่มียอดขายที่สูงขึ้นมากจากสภาพอาศที่ร้อนจัดทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มสูงขึ้นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
ด้านดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมรายภูมิภาค พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมรายภูมิภาคปรับตัวลดลงในทุกภูมิภาค ทั้ง ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม โดยภาคตะวันออก องค์ประกอบดัชนีปรับตัวลดลงเนื่องจากยอดคำสั่งซื้อ ยอดขายรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขั้นต้นและขั้นกลาง ซึ่งเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ชะลอลงตามยอดคำสั่งซื้อและยอดขายในอุตสาหกรรมอื่นๆ อุตสาหกรรมสำคัญในภาคตะวันออกที่ค่าดัชนีปรับลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอะไหล่ยานยนต์ พลาสติก อลูมิเนียม โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม และผู้ผลิตไฟฟ้า ภาคใต้ ดัชนีที่ปรับตัวลดลงได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อ ยอดขายรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ส่วนหนึ่งมาจากการปิดอ่าวฝั่งทะเลอ่าวไทย เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. - 15 พ.ค. 53 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูปลาว่างไข่ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำซึ่งเป็นวัตถุดิบของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลบรรจุกระป๋องลดลง ขณะเดียวกันวัตถุดิบประเภทยางพารามีปริมาณลดลง เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูแล้ง อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ไม้อัดไม้บางและวัสดุแผ่น ยางและผลิตภัณฑ์ยาง อาหาร โรงเลื่อยและโรงอบไม้
ส่วนภาคกลางปรับตัวลดลงเนื่องจาก ยอดคำสั่งซื้อ ยอดขายรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ซึ่งพบว่ายอดขายในอุตสาหรรมสิ่งทอลดลงจากปัญหาการขาดแคลนแรงงานและ วัตถุดิบ อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์มียอดคำสั่งซื้อในสินค้าประเภทหนังฟอก กระเป๋าเดินทาง ลดลง อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ค่าดัชนีความเชื่อมั่นลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมยา, สิ่งทอ, หนังและผลิตภัณฑ์หนัง, เคมี, ซอฟแวร์, การจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้ ภาคเหนือ ปรับลดลงจากยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ทั้งนี้มากจากผลผลิตและรายได้ของเกษตรกรในภาคเหนือลดลงจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือตอนบน ตลอดจนการระบาดของศัตรูพืช ซึ่งทำให้ผลผลิตต่อไร่ลดลง ในส่วนของอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมสำคัญในภาคเหนืออย่างหัตถอุตสาหกรรม มียอดขายทั้งในและต่างประเทศลดลงจากผลิตภัณฑ์ประเภท เครื่องปั้นดินเผา ไม้แกะสลัก และอุตสาหกรรมอาหารกลุ่มผลไม้แปรรูปก็มียอดขายลดลงเช่นกัน อุตสาหกรรมสำคัญในภาคเหนือที่ค่าดัชนีปรับลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ เซรามิก แกรนิตและหินอ่อน ก๊าซ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรับลดลงในทุกองค์ประกอบดัชนี ส่วนหนึ่งมาจากการลดลงของรายได้เกษตรกร ซึ่งเป็นผลมาจากปัญหาภัยแล้ง และการระบาดของเพลี้ย ซึ่งทำให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลงและรายได้เกษตรกรลดลง และส่งผลต่อเนื่องถึงอุตสาหกรรมอาหารในกลุ่มผลิตแป้งมันสำปะหลังซึ่งรับผลกระทบจากการที่วัตถุดิบลดลง นอกจากนี้อุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งมีคำสั่งซื้อชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ อุตสาหกรรมสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ค่าดัชนีปรับลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ปูนซีเมนต์ ยานยนต์ และ อาหาร
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการจำแนกตามตลาดส่งออก (กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ กับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นในกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศปรับตัวลดลงทั้ง 2 กลุ่ม โดยอุตสาหกรรมในกลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ ลดลงจากยอดขายและยอดคำสั่งซื้อ ซึ่งอุตสาหกรรมที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง เครื่องนุ่งห่ม หลังคาและอุปกรณ์ แกรนิตและหินอ่อน เซรามิก ก๊าซ ซอฟแวร์ ผู้ผลิตไฟฟ้า และการจัดการของเสียและวัสดุเหลือใช้ ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นฯกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ สาเหตุองค์ประกอบของยอดคำสั่งซื้อและยอดขายปรับตัวลดลง ทั้งจากในและต่างประเทศ โดยอุตสาหกรรมเครื่องประดับมียอดจำหน่ายลดลงเนื่องจากราคาทองคำสูงขึ้น และสินค้าประเภทพลอย ทับทิม ก็มียอดคำสั่งซื้อจากประเทศอเมริกา และยุโรปลดลงด้วย อุตสาหกรรมที่ค่าดัชนีปรับตัวลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมรองเท้า อาหาร โรงเลื่อยและโรงอบไม้ เครื่องประดับ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง
สำหรับด?านสภาวะแวดล?อมในการดําเนินกิจการ พบว่าผู้ประกอบการมีความกังวลในประเด็นผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองมากที่สุด ซึ่งเป็นปัจจัยทางด้านลบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก จากการชุมนุมที่ยืดเยื้อและไม่มีทีท่าว่าจะยุติได้ จากการสำรวจพบว่าผู้ประกอบการมีความกังวลต่อปัจจัยการเมืองมากขึ้นคือจากร้อยละ 62.9เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 75.7 ในเดือนมีนาคมซึ่งสะท้อนว่าผู้ประกอบการมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองมาก รองลงมาคือเรื่องสถานการณ์ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน สภาวะเศรษฐกิจโลก และอัตราดอกเบี้ย ตามลำดับ
และข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการ ต่อภาครัฐในเดือนนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีความเห็นสอดคล้องกัน คือ ให้ภาครัฐเร่งแก้ไขปัญหาความไม่สงบทางการเมือง และต้องการให้ทุกฝ่ายสามัคคีกัน เพื่อเห็นแก่ประโยชน์ของชาติ แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในกลุ่มช่างฝีมือ อาทิ ช่างเย็บผ้า ช่างไม้ โดยต้องการให้รัฐบาลมีนโยบายที่เป็นรูปธรรมในการสร้างแรงงานฝีมือที่กำลังขาด รวมทั้งดูแลอัตราแลกเปลี่ยนให้มีเสถียรภาพ ตลอดจนกระตุ้นเศรษฐกิจ และเร่งอนุมัติงบไทยเข้มแข็งเพื่อให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เร่งแก้ไขปัญหา และให้ความช่วยเหลือผลผลิตของเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งในขณะนี้...///