สถาบันอาหารได้มือดีจากตลาดหลักทรัพย์นั่งผอ.คนใหม่ เร่งสร้าง Network ขับเคลื่อนอุตฯอาหารทั้งระบบ

ศุกร์ ๒๓ เมษายน ๒๐๑๐ ๑๖:๒๗
สถาบันอาหารได้ผู้อำนวยการคนใหม่ เพ็ชร ชินบุตร อดีตผู้บริหารสถาบันวิทยาการตลาดทุน จากตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา ประกาศวิสัยทัศน์ พัฒนาสถาบันอาหารให้มีKnowledge Management หรือการจัดการองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมอาหารอย่างมืออาชีพ มุ่งสู่การเป็น Intelligence Unit อย่างสมบูรณ์แบบ พร้อมจับมือกับทุกหน่วยงานสร้างองคาพยพให้อุตสาหกรรมอาหารทั้งระบบ เดินหน้าสร้าง Network กับทุกภาคส่วนขับเคลื่อนภายใต้กรอบยุทธศาสตร์องค์กร สู่เป้าหมาย 5 ข้อ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารของโลกที่เน้นการเพิ่มคุณค่าและความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

นายเพ็ชร ชินบุตร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กล่าวว่า “สำหรับภารกิจเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการก่อนอันดับแรก คือ ทำให้สถาบันอาหารเป็นมือเป็นไม้ ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นที่รู้จักของสาธารณชน เมื่อนึกถึงอาหาร ต้องคิดถึงสถาบันอาหาร ไม่ใช่ว่าที่ผ่านมาสถาบันอาหารไม่ได้ทำหน้าที่ดังกล่าว แต่ว่าผมจะเป็นส่วนที่เข้ามาเติมเต็มให้มากกว่าเดิม อย่างน้อยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานในกระทรวงฯ ต้องเรียกใช้สถาบันอาหารเป็นหน่วยงานอันดับแรกในเรื่อง “อุตสาหกรรมอาหาร”

นอกจากนี้ คือ การสร้าง Network โดยอันดับแรก สร้าง City Partner สถาบันอาหาร จะไม่ทำงานคนเดียว เราจะเชื่อมโยงหน่วยงานร่วมต่าง ๆ ในการดำเนินการ และที่สำคัญ คือ พัฒนาให้สถาบันอาหาร มี Knowledge Management หรือ มีการจัดการองค์ความรู้ด้านอุตสาหกรรมอาหาร มุ่งสู่การเป็น Intelligence Unit เมื่อต้องการรู้อะไรเกี่ยวกับอาหาร เราจะเป็นหน่วยที่มีคำตอบ และแนวทางการแก้ปัญหา เป็นหน่วยชี้นำให้แก่ภาคอุตสาหกรรมอาหาร”

ขณะเดียวกันยังได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการผลักดันยุทธศาสตร์ของสถาบันอาหาร โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ดังกล่าว โดยร่วมกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในการระดมสมอง กำหนดยุทธศาสตร์องค์กรในฐานะเป็นองค์กรขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมอาหารไทย ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของอุตสาหกรรมอาหารของประเทศไทย ที่ต้องการให้ “ประเทศไทยเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอาหารของโลกที่เน้นการเพิ่มคุณค่าและความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค” โดยมีกรอบแนวทางตามเป้าหมายของอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ 5 ข้อ ประกอบด้วย

1. มูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารของไทยเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปี

2. สัดส่วนมูลค่าการ

ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปและอาหารพร้อมรับประทานเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของยอดมูลค่าการส่งออกสินค้าอาหารรวม

3. โรงงานผลิตอาหารของไทย ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตในระดับสากล จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของโรงงานทั้งหมด

4. สินค้าอาหารของไทยมีภาพลักษณ์ที่ชัดเจนสำหรับผู้บริโภคทั่วโลก

ในการเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และ 5.ประเทศไทยมีมาตรฐานอาหารภายในประเทศที่ทัดเทียมมาตรฐานสากล

โดยเป้าหมายทั้ง 5 ข้อนี้จะนำพาอุตสาหกรรมอาหารเข้าสู่การผลิตอาหารที่มีพื้นฐานจากนวัตกรรม (Innovation Industry) ที่สมบูรณ์ขึ้น และจะปรับตัวสู่การผลิตสมัยใหม่ เป็นอุตสาหกรรมทันสมัย (Modern Organization) โดยมีการผลิตและการจัดการบนฐานจากองค์ความรู้ (Knowledge Based) เช่น เทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ และข้อมูลเชิงลึกของอุตสาหกรรมอาหาร

อุตสาหกรรมอาหารเป็นอุตสาหกรรมหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีมูลค่าการส่งออกอาหารเมื่อปีที่ผ่านมาคิดเป็นจำนวนเงินกว่า เจ็ดแสนล้านบาท การเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันอาหารซึ่งมีบทบาทหลักในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล นับเป็นโอกาสที่จะได้นำความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่มีอยู่ มาช่วยในการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ อันเป็นอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญให้ประเทศสามารถพัฒนาได้อย่างเข้มแข็ง และยั่งยืน ช่วยให้ประเทศไทยก้าวพ้นวิเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอาหารยังเกี่ยวเนื่องกับประชาชนกลุ่มใหญ่ของประเทศ คือเกษตรกร หากอุตสาหกรรมอาหารเข้มแข็ง แข่งขันได้บนเวทีการค้าโลก เกษตรกรของเรา ก็จะมีอาชีพ และรายได้ที่ยั่งยืนประกอบกับ สถาบันอาหาร เป็นองค์กรที่เป็นเครื่องมือของรัฐ ภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างคล่องตัว ภายใต้นโยบายของรัฐ โดยมีกระทรวงอุตสาหกรรมให้การสนับสนุนการดำเนินงาน ช่วยให้เกิดการประสานประโยชน์ระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนได้อย่างเต็มที่” นายเพ็ชร กล่าว

อนึ่ง นายเพ็ชร ชินบุตร สำเร็จการศึกษา จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์การทำงานจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง ล่าสุดก่อนมารับตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันอาหาร ระหว่างธันวาคม 2546 — 2553 เป็นกรรมการอำนวยการ และผู้อำนวยการบริหารสถาบันวิทยาการตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทำหน้าที่บริหารจัดการการดำเนินกิจการสถาบันและงานส่งเสริมพัฒนาผู้นำองค์กรต่างๆ ให้ได้รับความเข้าใจอันดีต่อตลาดทุนไทยและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นอกจากนี้เคยเป็นผู้จัดการศูนย์การเรียนรู้ การ สรรหาบุคลากร การฝึกอบรมและประเมินผล บริษัท คอนอโค(ประเทศไทย) จำกัด เคยเป็นผู้จัดการฝ่ายพัฒนาบุคลากรและอาชีพ /ครูฝึกหลักระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) รถไฟฟ้า BTS เคยเป็นผู้จัดการฝ่ายบริหารและพัฒนา บริษัท ไอซีซี คอสมอส แฟรนชายส์ จำกัด ทำหน้าที่ควบคุมดูแลศูนย์บริหารร้านค้าสะดวกซื้อและFast Food Restaurant และการส่งออกสินค้าอาหารกึ่งสำเร็จรูป การบริหารเครือข่ายร้านค้าสัมพันธ์ ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเคยเป็นอาจารย์ระดับ 3 ประจำคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กรุงเทพ สำนักงานการอุดมศึกษา ทำหน้าที่ผู้สอนวิชาการจัดการองค์กรทางธุรกิจ วิชาการจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวและโรงแรม และวิชามัคคุเทศก์ภาษาต่างประเทศ ทำหน้าที่ผู้ช่วยหัวหน้าภาควิชาฯด้านการบริหารงานกิจกรรมวิชาการและการฝึกภาคปฏิบัติ

ทั้งนี้มีประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรพิเศษ อาจารย์พิเศษ และอาจารย์ผู้ช่วยสอนในสถาบันการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศหลายแห่ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๒ พ.ย. พนักงานซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล รับรางวัลเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานดีเด่น
๑๖:๐๖ PROSPECT REIT ชูไตรมาส 3/67 โตเกินเป้า อัตราการเช่าพุ่งนิวไฮ หนุนจ่ายปันผลเด่น 0.2160 บาท
๑๖:๔๖ CHAO ประกาศงบ Q3/67 กำไรพุ่งกว่า 62% รับตลาดส่งออกพีค จีนโตเด่น แย้ม Q4 เดินหน้าบุกตลาดในประเทศ สินค้าใหม่หนุนยอดขายปลายปี
๑๖:๒๕ ฉลองเทศกาลลอยกระทงประจำปี 2567 ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพฯ
๑๕:๐๓ แอปเปิลสายพันธุ์ฝรั่งเศสจากการผลิตแบบยั่งยืน พร้อมเสิร์ฟความอร่อยให้คนไทย!
๑๕:๔๗ CEO-NV ร่วมตัดริบบิ้นก่อตั้งแพลตฟอร์มการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพการแพทย์ แผนจีน-ไทย-มาเก๊า
๑๕:๓๗ การ์ทเนอร์คาดการณ์ภายในสามปีปัญหาพลังงานไม่เพียงพอจะเป็นปัจจัยจำกัดขีดความสามารถ AI Data Center ถึง 40%
๑๕:๑๑ The Skinov'e นวัตกรรมสกินแคร์จากเปลือกกล้วยหอมทองปทุม ผลงานวิจัยจุฬาฯ ที่ทำให้สิวเป็นเรื่องกล้วยๆ
๑๕:๓๕ วว. / KUST ประเทศจีน เครือข่ายพันธมิตร บูรณาการความร่วมมือวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีทวิภาคี แลกเปลี่ยนความรู้การบรรเทาป้องกันภัยพิบัติ
๑๕:๕๖ งานผ้าตัดเย็บแฮนด์เมดทำด้วยใจสุดปราณีต จากวิสาหกิจชุมชนผ้าปักม้งบ้านไทรงาม ตำบลสบบง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา