ตั้งเป้าปี 55 ใช้น้ำที่ผ่านการบำบัดเพิ่มเป็น 5% ของน้ำเสียที่บำบัดได้

จันทร์ ๒๖ เมษายน ๒๐๑๐ ๑๖:๓๐
กทม. เตรียมขอจัดสรรงบ 4.5 ล้าน ของปี 54 ศึกษาความเหมาะสมของการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดมาใช้ประโยชน์และปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ใช้ประโยชน์ได้เพิ่มขึ้น ตั้งเป้าปี 55 เพิ่มปริมาณการใช้น้ำที่ผ่านการบำบัดเป็น 5% ของน้ำเสียที่บำบัดได้

นายถนอม อ่อนเกตุพล ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และโฆษกกรุงเทพมหานคร เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 10/2553 โดยมี ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผุ้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานการประชุม ณ ห้องสุทัศน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ว่ากรุงเทพมหานครมีนโยบายในการนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้ว มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีโรงบำบัดน้ำเสียทั้งหมด 7 แห่ง ประกอบด้วย โรงควบคุมคุณภาพน้ำรัตนโกสินทร์ หนองแขม ทุ่งครุ จตุจักร ดินแดง สี่พระยา และช่องนนทรี สามารถบำบัดน้ำเสียได้วันละประมาณ 6 — 9.5 แสน ลบ.ม. จากปริมาณน้ำเสียที่มีสูงถึง 3 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ค่า BOD อยู่ที่ 6 — 8 ไม่สามารถนำไปดื่ม ซักล้างหรือทำความสะอาดในครัวเรือนได้ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะนำน้ำที่ผ่านการบำบัดไปใช้ไนโรงงาน และแจกจ่ายพื้นที่ใกล้เคียงใช้รดน้ำต้นไม้ ล้างทำความสะอาดถนนพื้นที่ต่างๆ

สำหรับปี 2552 กรุงเทพมหานคร นำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดไปใช้ประโยชน์คิดเป็นร้อยละ 4 ของปริมาณน้ำที่บำบัดได้ทั้งหมด โดยน้ำจากโรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรีจ่ายลงสระน้ำที่สวนลุมพินี จากโรงควบคุมคุณภาพน้ำจตุจักรบริเวณถนนวิภาวดีรังสิตนำมาใช้ในสวนสาธารณะ รดเกาะกลางถนนวิภาวดีรังสิต และจุดจ่ายน้ำริมถนน จากโรงควบคุมคุณภาพน้ำดินแดงใช้ในระบบชักโครกอาคารใหม่ของ กทม.2

ทั้งนี้ ปี 2554 จะมีการขอจัดสรรงบประมาณ 4.5 ล้านบาท ในการศึกษาความเหมาะสมของการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ประโยชน์ โดยศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์และการประเมินความเสี่ยง การยอมรับของหน่วยงานและประชาชนผู้ใช้น้ำ เพื่อที่จะนำน้ำที่ผ่านการบำบัดมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และตั้งเป้าเพิ่มการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดมาใช้เป็นร้อยละ 5 ในปี 2555 ด้วยการเพิ่มจุดจ่ายน้ำและขยายการวางท่อส่งน้ำไปตามแหล่งน้ำที่ต้องการน้ำที่ผ่านการบำบัด และปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อผู้ใช้ นำไปใช้ในแหล่งอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้กรุงเทพมหานครได้ประสานไปยังการประปาเพื่อหาแนวทางลดภาระค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย ในขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ในอนาคตคาดว่าจะมีการจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสียจากประชาชน โดยจะมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ และมีส่วนร่วมในการชำระค่าบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากครัวเรือน แต่จะไม่เป็นการผลักภาระให้ประชาชนทั้งหมดอย่างแน่นอน ซึ่งจะต้องมีการหารือแนวทางที่เหมาะสมต่อไป เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของกรุงเทพมหานครและประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version