วิทยาลัยปิโตรเลียมฯ จุฬาฯ จัดแสดงงานวิจัยแบเจ๋งๆ

พุธ ๒๘ เมษายน ๒๐๑๐ ๑๑:๔๙
เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2553 ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้กล่าวเปิดงานการประชุมวิชาการ The 1st National Research Symposium on Petroleum, Petrochemicals, and Advanced Materialsand The 16th PPC Symposium on Petroleum, Petrochemicals, and Polymers ของศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติ ด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และวัสดุชั้นสูง และ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณพีระศักดิ์ จันทร์ประทีป กรรมการสภามหาวิทยาลัย เป็นผู้กล่าวต้อนรับ

ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้กล่าวว่า การประชุมวิชาการครั้งนี้จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และวัสดุขั้นสูง และ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาตินี้ เป็นโครงการพิเศษโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อผลิตและพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง เพื่อรองรับความต้องการของประเทศ ทั้งด้านภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นผมจึงขอแสดงความยินดีกับนิสิตทุกท่านที่ได้แสดงผลงานในวันนี้ที่ได้ประสบความสำเร็จในการทำงานวิจัยซึ่งได้ทำต่อเนื่องมา ซึ่งผลจากการทำงานหนักแสดงให้เห็นความสำเร็จซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานในวันนี้

งานประชุมวิชาการนี้เป็นความร่วมมือจาก ศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และวัสดุขั้นสูง สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และวิทยาลัยปิโตรเลียมและ ปิโตรเคมี ภายใต้หัวข้อ The 1st National Research Symposium on Petroleum, Petrochemicals, and Advanced Materials and The 16th PPC Symposium on Petroleum, Petrochemicals, and Polymers โดยศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และวัสดุขั้นสูง ประกอบด้วยวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมีซึ่งเป็นหน่วยงานหลักและ 8 หน่วยวิจัยจาก 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งหน่วยงานทั้งหมดได้ทำงานอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา และจากผลการดำเนินงานจากหน่วยวิจัยต่างๆจึงทำให้จำนวนผลงานวิชาการที่เข้าร่วมในการประชุมวิชาการสูงถึง 161 ผลงาน โดยเป็นการแสดงผลงานแบบปากเปล่า 29 ผลงาน และการแสดงผลงานแบบโปสเตอร์ 132 ผลงาน พร้อมกันนี้ได้มีการบรรยายพิเศษจาก ดร.ไพลิน ชูโชติถาวร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) นาวาเอก ดร.สมัย ใจอินทร์ ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และ Prof.Hiroshi Tamura จากมหาวิทยาลัยคันไซ ประเทศญี่ปุ่น ภายในงานยังมีการแสดงผลงานวิจัยใหม่ๆ ที่น่าสนใจของนิสิตจากวิทยาลัยฯ และสถาบันร่วมของศูนย์ความเป็นเลิศแห่งชาติด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และวัสดุขั้นสูง และสามารถที่จะนำไปพัฒนาต่อยอดในภาคอุตสาหกรรมเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคตอีกด้วย

วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาและดุษฏีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีปิโตรเลียม เทคโนโลยีปิโตรเคมี และวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรทางด้านนี้ ซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีการพัฒนาผลงานการวิจัยที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นจำนวนมากอีกทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ต่อยอดใช้ในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 022184154 สุพิน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๑๘ รพ.ยันฮี และ ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ ประสาน องค์กรทำดี มูลนิธิกระจกเงา และ กัน จอมพลัง มอบน้ำดื่มและยารักษาโรค มูลค่ากว่า 6
๐๘:๓๔ โรงพยาบาลยันฮี ฉลองความสำเร็จ 40 ปี ตอกย้ำผู้นำด้านสุขภาพและความงามครบวงจร พร้อมมอบสิ่งดี ๆ ให้กับสังคม ผ่าตัดรักษาต้อเนื้อฟรี 20 ราย
๐๘:๔๓ อบรมผู้ประกาศฯ ไทยพีบีเอส อัดแน่นคุณภาพ มุ่งเตรียมพร้อมผู้ประกาศหน้าใหม่สู่วงการสื่อ
๐๘:๓๘ โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ ขอชวนร่วมงาน Global Day of Discovery และคอนเสิร์ตสุดพิเศษจาก บุรินทร์
๐๘:๔๔ คริสตี้ส์ เอเชีย: การประมูลศิลปะศตวรรษที่ 20/21 ในเดือนพฤศจิกายน
๐๘:๕๖ ไทยพีบีเอส จับมือ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ผลักดัน หม่อมเป็ดสวรรค์ สู่ตลาดคอนเทนต์ ระดับสากล ในงาน TIFFCOM
๐๘:๔๕ ครั้งแรกในไทย! ไร้ท์ รีแอคติเวชั่น ขยายธุรกิจโรงงานสกัดแยกโลหะมีค่าจากวัสดุใช้แล้ว ยกระดับสู่มาตรฐานสากล
๐๗:๒๔ Chappell Roan ตอกย้ำความปัง HOT TO GO! ส่งวิดีโอแดนซ์รวมแก๊ง Pink Pony Club จาก South East Asia
๐๗:๕๗ JPARK ร่วมพิธีเปิด Tops สาขา JPark Avenue Nonthaburi
๐๘:๔๓ การเคหะแห่งชาติจับมือสปสช.นำร่องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ให้ผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติ 5 ชุมชนฟรี