“เคพีเอ็นฯ” โชว์รายได้ปี 47 โตกว่า 117 เปอร์เซ็นต์ พร้อมย้ำปี 48 โตอีกกว่า 40 เปอร์เซ็นต์

พุธ ๐๒ มีนาคม ๒๐๐๕ ๑๔:๕๖
กรุงเทพฯ--2 มี.ค.--124 คอมมิวนิเคชั่น
บริษัท เคพีเอ็น ออโตโมทีฟ จำกัด (มหาชน) (KPN) ผู้นำในธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ของเมืองไทย ประกาศผลประกอบการปี 2547 ด้วยยอดรายได้รวม 1,783.6 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นกว่า 117 เปอร์เซ็นต์จากปี 2546 และมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน 111.3 ล้านบาท เติบโตจากผลกำไรจากการดำเนินงานปีก่อนถึง 587 เปอร์เซ็นต์ อันเป็นผลจากการเติบโตของธุรกิจยานยนต์ในระดับมหภาคและการควบรวมกิจการในเครือของบริษัทฯ พร้อมคาดบริษัทฯ จะมีการเติบโตของรายได้รวมราว 40 เปอร์เซ็นต์ในปี 2548
นายกฤษณ์ ณรงค์เดช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เคพีเอ็น ออโตโมทีฟ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปี 2547 บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,783.6 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นกว่า 117 เปอร์เซ็นต์จากปี 2546 และมีกำไรสุทธิ 111.3 ล้านบาท โดยสามารถแบ่งได้เป็นรายได้จากธุรกิจผลิตชิ้นส่วนโลหะทุบขึ้นรูป 52 เปอร์เซ็นต์ ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนพลาสติก 24 เปอร์เซ็นต์ ธุรกิจแฟรนไชส์ค้าอะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งรถจักรยานยนต์ 8 เปอร์เซ็นต์ ธุรกิจคลังสินค้าและกระจายสินค้า 16 เปอร์เซ็นต์
ทั้งนี้ จากผลประกอบการประจำปี 2547 ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนโลหะทุบขึ้นรูป ถือเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้สูงสุดถึง 907.6 ล้านบาท ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนพลาสติกทำรายได้ 423.9ล้านบาท ธุรกิจแฟรนไซส์ค้าอะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งรถจักรยานยนต์ทำรายได้ 134.1 ล้านบาท และธุรกิจคลังสินค้าและกระจายสินค้าทำรายได้ 284.9 ล้านบาท
นายกฤษณ์ กล่าวถึงปัจจัยการเพิ่มขึ้นของผลประกอบการของบริษัทฯ ในปี 2547 ว่า “อัตราการเติบโตของรายได้จากการขายและให้บริการของบริษัทฯและบริษัทย่อยของกลุ่มธุรกิจมีอัตราการเติบโตที่สูง ขึ้น เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของยอดขาย อีกทั้งแรงสนับสนุนจากภาครัฐในการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ระดับโลก (Detroit of Asia) และการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ภาย ในประเทศ”
“นอกจากความสำเร็จจากการเพิ่มขึ้นของยอดขายและการสนับสนุนของภาครัฐแล้ว การดำเนินนโยบายบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพภายหลังการปรับโครงสร้างบริษัทฯ ในปี 2546 ทำให้บริษัทฯ สามารถควบคุมต้นทุนขายและให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) ของบริษัทฯ ในปี 2547 อยู่ที่ 19.8 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้นจาก 17.1 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2546” นาย กฤษณ์ กล่าวเสริม
“ในปี 2548 บริษัทฯ มีความมั่นใจอย่างยิ่งว่าผลประกอบการของบริษัทฯ จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะรายได้จากการส่งออกชิ้นส่วนช่วงล่างและระบบเคลื่อนยานยนต์ไปยังตลาดต่างประเทศ อันเป็นผลจากข้อตกลงแลกเปลี่ยนทางการค้า หรือ FTA กับประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะส่งผลให้ยอดการส่งออกในปี 2548 จะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 100 เปอร์เซ็นต์ และยังมีการขยายตัวอย่างมากจากลูกค้าระดับนานาชาติ (Multi-National Company) ในธุรกิจลอจิสติกส์และในธุรกิจการผลิตชิ้นส่วนพลาสติกซึ่งคาดว่าจะทำให้บริษัทฯมีการเติบโตของรายได้รวมราว 40 เปอร์เซ็นต์ในปี 2548” นายกฤษณ์ กล่าวในตอนท้าย
อนึ่ง บริษัท เคพีเอ็น ออโตโมทีฟจำกัด (มหาชน) และ บริษัทย่อย ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยเป็นผู้ผลิตสินค้าต้นแบบ (OEM) ให้แก่ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่และบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชั้นนำต่างๆ ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนโลหะทุบขึ้นรูป และชิ้นส่วนพลาสติก เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ค้าอะไหล่และอุปกรณ์ตกแต่งรถจักรยานยนต์ และธุรกิจคลังสินค้าและกระจายสินค้า
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
ชัยวัฒน์ สิมะวัฒนา
พรพรรณ ฉวีวรรณ
บริษัท 124 คอมมิวนิเคชั่นส จำกัด
โทร 0-2662-2266--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ