การหารือทวิภาคีของปลัดกระทรวงการคลังกับสถาบันการเงินต่างประเทศ

อังคาร ๐๔ พฤษภาคม ๒๐๑๐ ๐๙:๔๗
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและผู้ว่าการสำรองของไทยในธนาคารพัฒนาเอเชีย ได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 43 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ เมืองทาซแคนท์ ประเทศอุซเบกิสถาน ระหว่างวันที่ 1-4 พฤษภาคม 2553 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

วันที่ 2-3 พฤษภาคม 2553 ปลัดกระทรวงการคลังได้หารือระดับทวิภาคีกับประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (นาย Haruhiko Kuroda) รองประธานธนาคารโลก (นาย James Adams) และผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินต่างประเทศ ได้แก่ HSBC Standard Chartered และ Daiwa Securities มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

- ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) : ได้มีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่าง ADB และกระทรวงการคลังในด้านเงินกู้ Capital Market Development ซึ่งผ่านการพิจารณาคณะรัฐมนตรีแล้วและปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในวันที่ 7 พฤษภาคม 2553 ADB ได้แสดงความขอบคุณประเทศไทยที่เข้าร่วมเพิ่มทุนสามัญทั่วไปครั้งที่ 5 ของ ADB นอกจากนี้ ADB ยังให้การสนับสนุนการเร่งรัดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ซึ่งเป็นการลงทุนในรูปแบบการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnerships: PPP) ADB จะให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ รวมทั้งร่วมมือกับ AFD ของประเทศฝรั่งเศสในการลงทุนโครงการด้านน้ำ สำหรับด้านความร่วมมือระดับภูมิภาค นั้น ADB ยินดีให้การสนับสนุนประเทศไทยในการศึกษาแนวทางการลงทุนระบบรางทั้งรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ ซึ่งเป็นการลงทุนที่ใช้เงินทุนจำนวนมากเพื่อเชื่อมต่อกับระดับภูมิภาค ตลอดจนขอให้ ADB สนับสนุนการศึกษาแนวทางการลงทุนโครงการรถไฟสิงคโปร์ - คุนหมิง เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งในภูมิภาค GMS ด้วย และท้ายสุด ADB หวังว่าสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยจะจบลงโดยสงบอย่างเร็ว

- ธนาคารโลก : กระทรวงการคลังได้แจ้งความคืบหน้าเรื่องเงินกู้ Public Sector Reform ซึ่งผ่านการพิจารณาคณะรัฐมนตรีแล้วและอยู่ในระหว่างนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในวันที่ 7 พฤษภาคม 2553 ส่วนธนาคารโลกได้แจ้งให้ทราบถึงผลการหารือกับนายกรัฐมนตรี (นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ในเรื่องการลงทุนรูปแบบ PPP สำหรับการลงทุนในโครงการระบบรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้กล่าวขอบคุณธนาคารโลกที่ได้ให้การสนับสนุนการศึกษาเพื่อการพัฒนาสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ของไทย และหวังว่าจะมีความร่วมมือในด้านดังกล่าวร่วมกันต่อไป สุดท้ายธนาคารโลกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยและหวังว่าจะสามารถยุติลงอย่างสันติ ในการนี้ International Finance Corporation (IFC) ได้ร่วมเข้าหารือด้วย โดยได้แจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้าการดำเนินงานภายใต้กองทุนเทคโนโลยีสะอาด หรือ Clean Technology Fund (CTF) กับภาคเอกชนของไทย ซึ่งจะมีการสนับสนุนการลงทุนโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ รวมทั้งได้หารือ

กับธนาคารพาณิชย์ในการให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการที่จะลงทุนด้านพลังงานทดแทน ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงการคลังขอให้ IFC สนับสนุนการพัฒนาในภาคชนบทผ่านระบบ Micro financing

นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงการคลังได้หารือทวิภาคีกับผู้บริหารระดับสูงจากสถาบันการเงินต่างประเทศ ประกอบด้วย HSBC Standard Chartered และ Daiwa Securities โดยได้มีการหารือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทย แนวทางการระดมทุนในแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ โดยเน้นการระดมทุนในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากสภาพคล่องยังคงมีอยู่สูงมาก ในส่วนของการระดมทุนในตลาดต่างประเทศคาดว่า หากสถานการณ์ทางการเมืองเข้าสู่สภาวะปรกติก็มีแนวโน้มที่จะพิจารณาการระดมทุนในปีหน้า สำหรับการลงทุนในระบบราง นั้น รัฐบาลมีนโยบายให้ภาคเอกชนเข้าร่วมการลงทุน นอกจากนี้ ยังได้ให้ความเชื่อมั่นแก่ภาคเอกชนสำหรับแนวทางของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองและแนวทางในการเยียวยาช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ