นายอิศเรศ สถาพรพานิชย์ ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์สารป้องกันปราบแมลง ฝ่ายการตลาด บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด กล่าวว่า จากการที่เพลี้ยแป้งสีชมพูของมันสำปะหลังระบาดรุนแรงมาตั้งแต่เดือนมกราคม — พฤษภาคม 52 และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนมีฝนตกลงมาทำให้การระบาดของเพลี้ยแป้งได้ลดลงชั่วระยะหนึ่งต่อมาในช่วงเดือนตุลาคม — พฤศจิกายน หลังฝนทิ้งช่วงเพลี้ยแป้งกลับมาระบาดรุนแรงขึ้นมาอีก เพลี้ยแป้งสีชมพูของมันสำปะหลัง ค่อนข้างกำจัดยากกว่าเพลี้ยแป้งธรรมดา เนื่องจากในช่วงฤดูฝนเพลี้ยแป้งจะหลบลงไปอยู่ที่บริเวณโคนต้น หลังจากฝนทิ้งช่วงอากาศร้อนเพลี้ยแป้งจะเคลื่อน ย้ายขึ้นมาอยู่ที่ยอดทำลายใบให้หงิกงอส่งผลให้มันสัมปะหลังได้รับความเสียหาย บริษัทฯ เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงจัดเดินสายคาราวานคลินิกเคลื่อนที่จัดสัมมนา “แช่ท่อนพันธุ์...ป้องกันเพลี้ย” ไปยังแหล่งเพาะปลูก มันสำปะหลังในท้องถิ่นต่างๆ อาทิ จังหวัดนครราชสีมา ลพบุรี ชัยภูมิ ปราจีนบุรี สระแก้ว เพื่อให้ความรู้แก่เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังเกี่ยวกับวิธีป้องกันเพลี้ยแป้งที่ถูกต้อง และรณรงค์ให้เกษตรกรแช่ท่อนพันธุ์ มันสำปะหลังก่อน
การปลูกเพื่อป้องกันเพลี้ยแป้งอย่างมีประสิทธิภาพแก่เกษตรกร โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการการเกษตร นายสุเทพ สหายา นักกีฎวิทยาชำนาญการพิเศษกลุ่มกีฎ และสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนา การอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ร่วมเป็นวิทยากร
นายสุเทพ สหายา นักกีฎวิทยาชำนาญการพิเศษกลุ่มกีฎ และสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่าจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังมาของกรมวิชาการเกษตร พบว่าการแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารเคมี ไทอะมีโทแซม 25 เปอร์เซ็นต์ ดับเบิ้ลยู จี 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ก่อนปลูกทำลายเพลี้ยแป้งสีชมพูติดมากับท่อนพันธุ์ นาน 5 — 10 นาที หลังจากแช่แล้วนำไปปลูกได้ทดสอบแล้วสามารถป้องกันกำจัดเพลี้ยแป้งได้อย่างน้อยประมาณ 1 เดือน สารเคมีจะถูกดูดซึมเข้าไปในเซลพืชได้มากที่สุด และไม่ทำให้พืชเกิดอาการเป็นพิษ จากการทดลองแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังในแนวนอนจะต้องใช้เวลา 15 นาทีสารเคมีจึงจะซึมเข้าได้หมด ขณะเดียวกันได้ทดลองแช่ท่อนพันธุ์ในแนวตั้งปรากฏว่าใช้เวลาแช่ 24 ชั่วโมง พบว่าสารเคมียังซึมไม่ถึงยอด ซึ่งจะศึกษาเพิ่มเติมต่อไปว่าการแช่ในแนวตั้งนานแค่ไหน สารเคมีจึงจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดเพลี้ยแป้งได้
ดังนั้นในช่วงนี้จึงขอแนะนำเกษตรแช่ท่อนพันธุ์ที่ตัดแล้วพร้อมปลูกหรือแช่ท่อนพันธุ์ในแนวนอนไปก่อน เพื่อเพิ่มสารเคมีป้องกันเพลี้ยแป้งที่ติดมากับท่อนพันธุ์จะตายแล้ว เพลี้ยแป้งก็ไม่สามารถทำลายต้นมันสำปะหลังที่งอกออกมาอย่างน้อยประมาณ 1 เดือน”
ขณะเดียวกันได้มีข้อมูลจากมูลนิธิมันสำปะหลังแห่งประเทศไทยรายงานว่า ได้ทำการทดลองแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังด้วยสารไทอะมีโทแซม 4 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยผสมอยู๋ในอัตรา 200 ลิตร สามารถแช่ท่อนพันธุ์ปลูกได้ ถึง 40 ไร่ ต้นทุนอยู่ที่ไร่ละ 5 บาท มูลนิธิได้รายงานด้วยว่าจากการทดลองปลูกไปแล้ว 6 เดือน ยังไม่พบการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังที่แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีเลย แต่ในแปลงที่ไม่ได้แช่ท่อนพันธุ์ได้มีการพ่นสารเคมีไปแล้ว 3 ครั้ง
นายอิศเรศ สถาพรพานิชย์ ผู้จัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์สารป้องกันปราบแมลง ฝ่ายการตลาด บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด กล่าวเสริมว่า ผลิตภัณฑ์แอคทาราขออาสาเป็นผู้ช่วยมือหนึ่งให้กับเกษตรกรในการป้องกันและกำจัดเพลี้ยแป้งสีชมพูในมันสัมปะหลัง ทั้งยังช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร เนื่องจากในแอคทารามีส่วนผสมของไทอะมีโทแซม ซึ่งออกฤทธ์ดูดซึมทำลายระบบประสาท ทำให้แมลงเป็นอัมพาตยับยั้งการกิน กำจัดทั้งแมลงปากดูดและปากกัด เช่น เพลี้ยแป้ง และยังสามารถกำจัดมด ซึ่งเป็นพาหนะในการทำเพลี้ยแป้งมาสู่มันสัมปะหลังได้ ส่งผลให้กำจัดเพลี้ยแป้งได้อย่างสิ้นซาก นายอิศเรศ สถาพรพานิชย์ กล่าวในที่สุด