1. รางวัล “ ผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยดีเด่น ” ได้พิจารณาหลักเกณฑ์ในหลายด้าน จากผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทย ทั้งสิ้น 229 ราย คัดเลือกเหลือเพียง 1 ราย คือ บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด ซึ่งเป็นผู้ที่กล่าวได้ว่า ไม่เคยมีประวัติถูกลงโทษตามมาตรการของสำนักงานมาตรฐานสินค้า และยังเป็นผู้ส่งออกข้าวหอมมะลิไทยมากอยู่ในระดับต้น ๆ ในปริมาณ 620,922 ตัน อีกทั้ง ยังได้รับรางวัล “ World’s Best Rice Award 2009 ” ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ในการส่งข้าวหอมมะลิไทย ประกวดในประเภท ข้าวขาว 100 % ชั้น 1 รวมถึงการให้ความร่วมมือด้วยดีในการเป็นวิทยากรให้ความรู้ และการเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ของกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
2. รางวัล “ ผู้ประกอบการใช้สิทธิประโยชน์สูงสุด ” ซึ่งกรมฯ มีหน้าที่ส่งเสริมและรักษาสิทธิประโยชน์ทางการค้าให้กับผู้ประกอบการ โดยมีเป้าหมายการใช้สิทธิพิเศษทางการค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดโลก จึงได้แยกรางวัลการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้กรอบอาฟต้า ได้แก่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ไทยแลนด์ จำกัด ใช้สิทธิประโยชน์ฯ สูงเป็นอันดับหนึ่ง ต่อเนื่อง 3 ปีติดต่อกัน ซึ่งในปี 2552 มีมูลค่าการส่งออก 602.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้กรอบเอฟทีเอ ได้แก่ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) ใช้สิทธิประโยชน์ฯ ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน มีมูลค่าสูงใน 10 อันดับแรก ติดต่อกัน 3 ปี มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ในปี 2550 ส่งออกมูลค่า 37.07 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2551 มูลค่า81.53 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในปี 2552 มูลค่า 151.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
- ใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้กรอบ จีเอสพี ได้แก่ บริษัท มิตซูบิชิ อิเล็กทริค คอนซูมเมอร์ โปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด ใช้สิทธิประโยชน์ฯ ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปมีมูลค่าสูงสุดในรอบ 3 ปี ในปี 2552 มูลค่า 236.94 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. รางวันด้าน “ ความร่วมมือการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์การออกหนังสือสำคัญฯ ” คัดเลือกจากผู้นำเข้า-ส่งออกที่ใช้บริการขอรับหนังสือสำคัญฯ ทั้งหมด 12,600 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ใช้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 6,755 ราย คัดเหลือเพียง 5 ราย ได้แก่
- บริษัท ไนซ์ แอพพาเรล จำกัด
- บริษัท ค้าสากลซิเมนต์ไทย จำกัด
- บริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน)
- บริษัท ไดกิ้น อินดัสทรีส์ (ประเทศไทย) จำกัด
- บริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด
ทั้ง 5 ราย นับเป็นผู้ประกอบการที่ใช้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ในอันดับต้น ๆ และใช้อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งยังต่อยอดการพัฒนาระบบงานให้บริการตามโครงการพัฒนาด้วยระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature)
นายมนัสฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมฯ ได้กำหนดวิสัยทัศน์เพื่อเป็นองค์กรที่เป็นเลิศในการบริหารการค้าระหว่างประเทศของไทย โดยจะบริหารงานเชิงรุกในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ เตรียมความพร้อมทางการค้าให้กับผู้ประกอบการ การเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาการให้บริการด้านการนำเข้า-ส่งออก รวมถึงการพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านบุคลากรและเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย