“อายิโนะโมะโต๊ะ” สื่อสารแคมเปญ “อูมามิ” ที่มาของความอร่อย ให้คนไทยได้รู้จัก

จันทร์ ๑๐ พฤษภาคม ๒๐๑๐ ๑๐:๒๑
อายิโนะโมะโต๊ะ” ผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดผงชูรสรณรงค์แคมเปญเพื่อสื่อสารคำว่า “อูมามิ” หรือรสอร่อยกลมกล่อมผ่านกิจกรรมด้านการตลาดและการสื่อสารทั้ง Below the Line และ Above the Line ด้วยงบประมาณกว่า 150 ล้านบาท ไปยังกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคไทยทั่วประเทศ พร้อมเผยกระแสการรับรู้ “อูมามิ” มาแรงเกินคาด

นายพิเชียร คูสมิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผงชูรส “อายิโนะโมะโต๊ะ” เปิดเผยว่านับตั้งแต่เดือนตุลาคมเมื่อปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้เดินหน้าเพื่อสื่อสารคำว่า “อูมามิ” ให้คนไทยได้รู้จักและคุ้นเคยภายใต้แนวคิด

“อูมามิ ที่มาของความอร่อย” ผ่านกิจกรรมการสื่อสารทางการตลาดทั้งสื่อและกิจกรรมพื้นที่ ทั้งนี้ เพื่อให้สอดรับในโอกาสการเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี จากการค้นพบ รสชาติ “อูมามิ” เมื่อ พ.ศ. 2451 โดย ศ.คิคุนาเอะ อิเคดะ นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดอุตสาหกรรมการผลิตผงชูรสในประเทศญี่ปุ่น โดย บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ จำกัด แห่งประเทศญี่ปุ่น เมื่อ ปี พ.ศ. 2452 จวบจนครบ 100 ปี ของบริษัทฯ ในปี พ.ศ. 2552

นายพิเชียรกล่าวเพิ่มเติมว่า “อูมามิ” เป็นภาษาญี่ปุ่น หมายถึง รสอร่อยกลมกล่อม (savory taste) ซึ่งเกิดจากกลูตาเมตอิสระที่พบได้ในวัตถุดิบตามธรรมชาติมากมาย เช่น เห็ดหอม สาหร่าย มะเขือเทศ เนื้อสัตว์ นม ฯลฯ และได้รับการยอมรับจากนักวิทยาศาสตร์ว่าเป็นรสชาติพื้นฐานที่ 5 ต่อจาก หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม สำหรับกลูตาเมตอิสระ ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีน และมีอยู่ในวัตถุดิบธรรมชาติหลายชนิด เมื่อนำมาประกอบอาหารก็จะให้รสชาติอร่อยกลมกล่อม อย่างไรก็ตาม กลูตาเมตจะมีปริมาณลดลงระหว่างการขนส่ง หรือการเก็บรักษา หากต้องการเติมเต็มความอร่อยกลมกล่อมให้กลับมา ก็สามารถเติมรสชาติด้วยผงชูรส ซึ่งเป็นกลูตาเมตที่ผลิตขึ้นในรูปของเครื่องปรุงรสที่คนไทยคุ้นเคยมายาวนาน ซึ่งถือว่ารสอร่อยกลมกล่อม หรือ “อูมามิ” เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้รสชาติของอาหารดีขึ้น

“สำหรับการสื่อสารแคมเปญครั้งนี้ เราเน้นการสื่อสารข้อเท็จจริงด้านอาหารที่ว่า ผงชูรส ถือเป็นเครื่องปรุงรสที่ผลิตขึ้นจากวัตถุดิบหลักจากธรรมชาติ เช่น แป้งมันสำปะหลังและโมสาสจากอ้อย และเป็นเครื่องปรุงแต่งรสชาติอาหารที่ให้กลูตาเมตอิสระและให้รสชาติ “อูมามิ” เช่นกัน และเป็นรสอร่อยกลมกล่อมเช่นเดียวกันกับ “อูมามิ” ที่ได้จากกลูตาเมตในวัตถุดิบจากธรรมชาติไม่ว่ามาจากแหล่งใดๆ” นายพิเชียรกล่าวเพิ่มเติม

แคมเปญ “อูมามิ” ได้เริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนตุลาคมเมื่อปี 2552 โดยใช้งบประมาณกว่า 150 ล้านบาท เน้นการสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายหลักคือ แม่บ้าน พ่อครัวแม่ครัว และ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่ค่อนข้างเปิดรับสิ่งใหม่ๆ และกับผู้บริโภคทั่วไป ผ่านกิจกรรม Above the line เน้นการโฆษณาทางโทรทัศน์เพื่อสร้างการรับรู้ (Awareness) และเสริมด้วยสื่อทางด้านนิตยสาร วารสารที่ตรงกับการเปิดรับสื่อของกลุ่มเป้าหมาย ส่วนกิจกรรม Below the line เน้นส่งเสริมภาพลักษณ์สินค้า ภายใต้สโลแกน “อูมามิ ที่มาของความอร่อย” เช่น กิจกรรม “คอนเสิร์ตอูมามิ มันส์ยกโต๊ะกับแก๊งค์ 3 ช่า” ใน 5 จังหวัดใหญ่ทั่วประเทศ กิจกรรม “Umami D-Day มหัศจรรย์วันอร่อย” ตามมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศ และก็ยังได้สร้าง www.umami-aroi.com เพื่อให้สาระความรู้และความบันเทิงแก่นักท่องเว็บไซต์อีกด้วย นับจากการเริ่มต้นแคมเปญ ผู้บริโภคได้ให้การตอบรับและจดจำคำว่า “อูมามิ” ได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นคำฮิตติดปากและเป็นที่สนใจในหมู่ผู้บริโภคคนไทยอย่างกว้างขวางอยู่ในขณะนี้ นายพิเชียร กล่าวปิดท้าย #

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

นฤชา ภูติธนารักษ์

[email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ