ทีวีไกด์: รายการ “เจาะใจ” สถาปนิกคนจน สร้างบ้านด้วยเงินศูนย์บาท

พุธ ๑๙ พฤษภาคม ๒๐๑๐ ๑๔:๓๙
รายการ “เจาะใจ” วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคมนี้ พบกับเรื่องราวของสถาปนิกสาวที่ยอมเสียสละความสุขสบาย เงินเดือนมากมาย เพียงเพื่อต้องการสร้างบ้านให้กับชุมชนสลัมด้วยงบประมาณเพียงศูนย์บาท! เธอคือ “ปฐมา หรุ่นรักษ์วิทย์” สถาปนิกสาวอนาคตไกลเรียนจบปริญญาโทด้านการออกแบบบ้านจากประเทศอังกฤษ ด้วยความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือสังคมเธอจึงเลือกกลับมาทำงานในสลัม ด้วยการออกแบบทางสถาปัตกรรมให้กับชุมชนไม่ว่าจะเป็นบ้าน สวนหย่อม ห้องสมุด ความภาคภูมิใจของเธอไม่ใช่การสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ภายใต้งบประมาณมหาศาล หากแต่เป็นรอยยิ้มของเด็กๆ ในชุมชนที่ได้มี สระว่ายน้ำ สนามเด็กเล่น หรือแม้แต่ห้องซ้อมเต้นเหมือนกับเด็กคนอื่นๆ ปัจจุบันเธอสร้างบ้านให้ชุมชนต่างๆ มาแล้วกว่า 40 ชุมชนในเมืองไทย ได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย จนต่างชาติต้องเข้ามาศึกษาดูงานในประเทศไทย เธอบอกว่าการก่อสร้างสิ่งต่างๆ ให้สลัมเป็นงานที่เสียสละทั้งกายและใจ แต่เป็นการเสียสละที่สนุกที่สุด

การสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนทำได้อย่างไร และขั้นตอนการทำงานภายใต้งบประมาณศูนย์บาทนั้นทำได้จริงหรือไม่ ต้องติดตามชมในรายการ“เจาะใจ” วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม เวลา 22.20 น. ทางททบ. 5 และสามารถชมรายการย้อนหลังได้ที่ johjai.manytv.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ