นพ.วรวัฒน์ เอี่ยวสินพานิช แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพพยาบาลปิยะเวท ได้กล่าวว่า กลไกในการแข็งตัวของอวัยวะเพศประกอบด้วย หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงอวัยวะเพศ, ระบบประสาทส่วนปลายและระบบประสาทอัตโนมัติ ภาวะจิตใจ สิ่งเร้าต่างๆ เช่น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น จิตนาการต่างๆ ในอดีต เมื่อมีสิ่งเร้าที่เหมาะสมมากระตุ้นผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ จะมีการสารสื่อประสาทและสารเคมี โดยเฉพาะ ไนตริกออกไซด์ออกมาส่งผลให้หลอดเลือดแดงมีการขยายตัว และมีเลือดแดงสะสมในเนื่อเยื่อที่มีลักษณะเหมือนฟองน้ำภายในลำอวัยวะเพศ ส่งผลให้มีการขยายขนาดของเจ้ามังกรตาเดียว
ขณะที่มีการปฎิบัติภาระกิจจะมีการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาท ระบบฮอร์โมน และระบบหลอดเลือด ที่ซับซ้อน จนกระทั่งถึงจุดสุดยอด ก็จะมีการกระตุ้นผ่านระบบประสาทอัตโนมัติอีกครั้ง ทำให้มีการระบายเลือดที่อยู่ในเนื้อเยื่อที่เป็นฟองน้ำนั้นออกไป ทำให้อวัยวะเพศนั้นอ่อนตัวลง
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพ มักเกิดจากหลายๆสาเหตุรวมกัน ได้แก่ อายุ จากสถิติตัวเลข พบว่ายิ่งอายุมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มาก โดยพบว่าผู้ที่มีอายุ 40-49 ปี พบ 20%, 50-59 ปี พบ 45% และ อายุ 60-70 ปี พบ 72% สังคม และเศรษฐกิจ พบว่าที่มีรายได้สูง มีความรู้ มีอาชีพที่ดี จะมีปัญหาในเรื่องนี้น้อยกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย
โรคที่ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท และหลอดเลือด ได้แก่ เบาหวาน, ไต, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, การสูบบุหรี่
การผ่าตัดหรืออาการบาดเจ็บบริเวณเชิงกรานและระบบประสาท เช่น การผ่าตัดต่อมลูกหมากโต, การบาดเจ็บบริเวณไขสันหลัง, ภาวะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง
ภาวะจิตใจ โดยปกติแล้วปัญหาทางด้านจิตใจส่วนใหญ่จะเป็นผลสืบเนื่องจากที่มีปัญหาทางกายก่อน คือเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพก่อนจากนั้นจึงส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดปํญหาทางใจตามมา ซึ่งปกติจะพบผู้ที่มีปัญหาด้านจิตใจจนเกิดภาวะนกเขาไม่ขันนั้นค่อนค้างน้อย
ยาที่รับประทาน ยาบางตัวจะส่งผลต่อภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ เช่น ยาลดความดัน ยาปลูกผม(Finesterile) ฯลฯ แต่เมื่อหยุดการใช้ยาต่างๆ พวกนี้ ซักระยะหนึ่ง ปัญหาเรื่องสมรรถภาพทางเพศก็จะดีขึ้น
เป้าหมายในการักษาผู้ป่วยนั้นไม่ใช่แต่เพียงการที่ทำให้อวัยวะเพศมีการแข็งตัวที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ละต้องเพิ่มความพึงพอใจและความสัมพันธ์ระหว่างคู่รัก เพิ่มระดับคุณภาพชีวิตรวมไปถึงการสร้างความมั่นใจในการมีเพสสัมพันธ์ และลดภาวะจิตใจที่ตึงเครียด
วิธีการรักษา
การรักษาเบื้องต้นต้องกำจัด หรือลดปัจจัยเสี่ยงให้น้อยที่สุด คือจะต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่มีกากอาหาร งดอาหารที่ไขมันสูง ลดเกลือ งดดื่มสุรา งดบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ปรึกษาจิตแพทย์ นักจิตวิทยา เพื่อหาทางออกที่เหมาะสมร่วมกันกรณีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศนั้น ผลต่อภาวะทางจิตใจ และความเครียด และจะเป็นการดีที่คู่รักของท่านมีส่วนร่วมในการดูแลกันและกัน สำหรับการใช้ยา ยาที่นิยมได้แก่ กลุ่มยากิน (Phosphodiesterase, PDE) ได้แก่ยา Viagra, Levitra, Cialis หลังจากที่รับประทานไปแล้วจะทำให้มีการไหลเวียนที่บริเวณอวัยวะเพศมากขึ้น ทำให้การแข็งตัวดีขึ้น แต่ยากลุ่มนี้มีข้อห้ามในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจที่ได้รับการรักษาโดยยากลุ่มไนตริกออกไซด์ และนวัตกรรมใหม่ในการดูแลภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โดยเครื่องมือเหล่านี้สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย แม้กระทั่งผู้ป่วยโรคหัวใจที่รับประทานยากลุ่มไนตริกออกไซด์ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
a. EECP (Enchanced External Counter pulsation) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับรักษาโรคหัวใจขาดเลือด โดยเครื่องมือชนิดนี้มีลักษณะเป็นปลอกรัดขา ทั้งสองข้างและจะมี ตัวรับสัญญาณที่จะส่งสัญญาณให้มีการเปิด ปิด ลมเข้าสู่ปลอกรัดขา ตามจังหวะที่หัวใจคลายตัว โดยจะไปเพิ่มเลือดสู่อวัยวะที่มีหลอดเลือดแดงขนาดกลาง เช่น หลอดเลือดหัวใจ, สมอง, ไต และรวมถึงหลอดเลือดที่อวัยวะเพศด้วย และมีการศึกษาพบว่าเครื่องมือนี้สามารถช่วยเพื่อการแข็งตัว และ สมรรถภาพทางเพศได้
b. ANODYNE เป็นเครื่องมือที่อาศัยพลังงานจาก ไดโอดส่งผ่านชั้นผิวหนังทำให้มีการผลิต ไนตริกออกไซด์ ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ทำให้หลอดเลือดแดงขยายตัว ทำให้มีการส่งออกซิเจน และอาหารไปสู่เนื้อเยื่อที่ทำการรักษาได้เป็นอย่างดี
c. การฝังข็ม เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการฝังเข็มนั้นจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และกระแสประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณอวัยวะเพศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การทำงานและการแข็งตัวของอวัยวะเพศดีนี้ นอกจากนี้การฝังเข็มยังช่วยผ่อนคลายความเครียดได้อีกทางหนึ่ง
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-626-6555 โรงพยาบาลปิยะเวท