ผู้เชี่ยวชาญเตือน ! ไคโรแพรคติกเถื่อน เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต

พุธ ๒๖ พฤษภาคม ๒๐๑๐ ๑๔:๔๑
ผู้เชี่ยวชาญเตือนผู้บริโภค เลือกรักษาไคโรแพรคติกที่มีใบประกอบโรคศิลป์ หากพบไคโรแพรคติกเถื่อน เสี่ยงรักษาอาจอันตรายถึงชีวิต

ดร. มนต์ทณัฐ (รุจน์) โรจนาศรีรัตน์ โฆษกสมาคมการแพทย์ไคโรแพรคติกแห่งประเทศไทย (Thailand Chiropractic Association : TCA) เปิดเผยว่า ‘ไคโรแพรคติก’ เป็นศาสตร์ทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานาน เพราะ ‘ไคโรแพรคติก’ คือศาสตร์ทางการแพทย์ที่คำนึงถึงความสมดุลของกระดูกสันหลังโดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและระบบของร่างกายที่เชื่อมโยงกัน ไปจนถึงการรักษาฟื้นฟูโครงสร้างที่นำไปสู่สุขภาพที่ดีโดยรวม ตามแนวคิดพื้นฐานที่เชื่อว่าลักษณะโครงสร้างกระดูกสันหลัง หรือการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังนั้น มีผลกระทบต่อระบบการทำงานและความสมดุลในส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือพูดง่ายๆ ว่าหากโครงสร้างดังกล่าวมีภาวะสมดุลระบบต่างๆ ในร่างกาย ก็จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สุขภาพร่างกายของเราก็จะอยู่ในสภาพดี

จากการวิจัยทั้งในระดับสากลขององค์การอนามัยโลก และกระทรวงสาธารณสุขของไทย พบว่าการบำบัดด้วยวิธีการไคโรแพรคติกมีความปลอดภัยสูงและเชื่อถือได้ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์มานาน แต่ต้องกระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไคโรแพรคติกจริงๆ เท่านั้น เพราะเทคนิคการปรับกระดูกจะสามารถรักษาผู้ป่วยได้จริงก็ต่อเมื่อแพทย์มีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม หากผู้ทำการรักษาไม่มีความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทางอย่างเพียงพอ ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยพิการได้เช่นกัน

สำหรับในประเทศไทยนั้น ไคโรแพรคติกนั้นถือว่าเป็นศาสตร์การแพทย์แขนงใหม่ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการจัดการการเรียนการสอนแพทย์ศาสตร์นี้มาก่อน ถึงแม้ว่าในต่างประเทศจะมีมาอย่างยาวนานนับร้อยปีแล้วก็ตาม โดยส่วนใหญ่นิยมสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมักถ่ายทอดในลักษณะของครอบครัว จนกระทั่งปัจจุบัน มีการจัดการเรียนการสอนเหมือนแพทย์สาขาทั่วไป ที่มีการศึกษาในประเทศไทย สำหรับประเทศ ที่ศาสตร์ไคโรแพรคติกเป็นที่ยอมรับนั้น จะมีการจัดตั้งเป็นแพทยสภาด้านศาสตร์ไคโรแพรคติก ซึ่งมีองค์ประกอบบทบาทหน้าที่เหมือนแพทยสภาโดยทั่วไป

“ทั้งนี้ ด้วยความที่ศาสตร์ดังกล่าวถือว่าเป็นศาสตร์แขนงใหม่ในประเทศไทย ดังนั้น ในสมัยก่อนแพทย์ด้านไคโรแพรคติกที่เปิดคลีนิกเพื่อทำการรักษาในประเทศไทยส่วนใหญ่ จึงเป็นแพทย์ชาวต่างประเทศ และบางคลีนิกผู้ที่รักษาไม่ได้จบมาทางด้านไคโรแพรคติก แต่กลับแอบอ้างใช้ชื่อของศาสตร์นี้ อย่างที่เห็นโฆษณาทั่วไปว่ารักษาด้วยวิธีการจัดกระดูก ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นศาสตร์ไคโรแพรคติก

ปัจจุบัน ทางสมาคมฯ ได้ประสานงานกับสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยจัดทำใบประกอบโรคศิลปะสำหรับศาสตร์ ไคโรแพรคติก ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะเปิดรักษาด้านไคโรแพรคติกต้องทำการสอบเพื่อขอใบอนุญาตดังกล่าว และต้องต่ออายุทุก 2 ปี โดยตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ที่สอบผ่านเพียง 20 ราย

ดังนั้น สิ่งที่น่าเป็นกังวลต่อการพัฒนาศาสตร์ไคโรแพรคติกในประเทศไทย มี 2 ประเด็นหลัก คือ

ประเด็นแรก ภาพลักษณ์ของการรักษาด้วยศาสตร์ไคโรแพรคติก ซึ่งผู้ที่เข้าใจผิดจะทำให้สูญเสียความเชื่อมั่นต่อศาสตร์การแพทย์ไคโรแพรคติกโดยรวม อย่างเช่น รักษาด้วยวิธีการจัดกระดูกแล้วไม่หายปวด ก็จะบอกว่าไม่เห็นหายเลย เป็นต้น ซึ่งผู้ที่รักษาบางคนอาจจะจบมาทางด้านของกายภาพบำบัด ซึ่งนักกายภาพบำบัดที่ศึกษาจบปริญญาโทจะสามารถจัดกระดูกได้

ประเด็นที่สอง คือ ไคโรแพรคติกที่ไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ ซึ่งเปิดคลีนิกรักษาขึ้นตามสถานที่ต่าง ๆ อาทิ สุขุมวิท พัทยา ซึ่งการรักษาดังกล่าวไม่สามารถรับประกันได้ว่าผู้ที่รักษานั้น เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดกระดูก และโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ ดังนั้น หากรักษาผิดวิธีการจึงเสี่ยงที่จะเป็นอันตราย อาจจะพิการ เป็นอัมพาต หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้” ดร.มนต์ทณัฐ กล่าว

นอกจากนี้ ดร.มนต์ทณัฐ ยังกล่าวถึงอนาคตในการพัฒนาศาสตร์ไคโรแพรคติกว่า ปัจจุบันทางสมาคมฯ ได้วางแนวทางในการก่อตั้งโรงเรียนการแพทย์ไคโรแพรคติกขึ้น โดยขณะนี้ได้เจรจากับโรงเรียนแพทย์ 2 — 3 แห่ง เพื่อเปิดหลักสูตรอย่างเป็นทางการ โดยวางกรอบโดยคร่าวว่าหลักสูตรการเรียนการสอนว่า หากนักเรียนจบการศึกษาระดับมัธยมการศึกษาปีที่ 6 จะต้องเรียนหลักสูตรนี้ 6 ปี แต่หากจบปริญญาตรีแล้ว สามารถเรียนหลักสูตรนี้ต่อเนื่องอีก 4 ปี คือ 4 + 4 ปี ซึ่งมาตรฐานของหลักสูตรดังกล่าว ได้รับการยอมรับจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไคโรแพรคติกจากทั่วโลกซึ่งภายหลังจากที่มีการเปิดสอนอย่างเป็นทางการแล้ว สมาคมฯ คาดว่าศาสตร์ไคโรแพรคติกจะได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น และสร้างความเข้าใจให้แก่สังคมมากขึ้นด้วย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่

โทร. 02 682 9880

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ