โครงการรณรงค์ กระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ จำนวน 100,000 ใบ

จันทร์ ๓๑ พฤษภาคม ๒๐๑๐ ๑๐:๐๗
สาเหตุหลัก 1 ใน 3 ของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร การรณรงค์กระเป๋ากันง่วง...ลดอุบัติเหตุ จำนวน 100,000 ใบ ครั้งนี้ นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ กล่าวว่า ความง่วง” ภัยแฝงสุดร้าย อุบัติเหตุที่เกิดจากง่วงแล้วหลับในเป็นสาเหตุสำคัญที่อย่างน้อย 20% ของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรทั่วโลก ร่วมกับหน่วยงานภาคเอกชน และภาครัฐบาลอย่างเป็นทางการ เพื่อต้องการลดความสูญเสียจากการเกิดอุบัติเหตุการจราจรบนท้องถนนและการเสียชีวิตอย่างแท้จริง อีกทั้งสร้างจิตใต้สำนึกและกระตุ้น ความปลอดภัยด้วยสติศักยภาพทางด้านสมาธิให้ผู้ใช้รถบนท้องถนนทั่วประเทศตั้งข้อสังเกต “ เมื่อมีอาการง่วงแล้วไม่ควรขับรถ ” ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ใกล้เข้ามาทุกที ขณะที่หลายๆ คน ต้องอดหลับอดนอน ทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อเร่งงานให้เสร็จ พร้อมๆ กับที่ต้องเตรียมตัวเพื่อเดินทางในช่วงวันหยุดยาว ทั้งเพื่อเยี่ยมเยียนครอบครัวและเพื่อท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา การป้องกันอุบัติเหตุจากการเดินทางในช่วงเทศกาล มักเน้นที่การตั้งด่านหรือจุดตรวจ เพื่อตรวจจับการฝ่าฝืนกฎจราจร แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันและไม่ควรมองข้าม คือการรณรงค์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการขับขี่อย่างประมาท และการขับรถในขณะที่สภาพร่างกายของผู้ขับขี่ไม่พร้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขับรถในขณะง่วงนอน เพราะ “ความง่วง” เป็นสาเหตุสำคัญของอุบัติภัยบนท้องถนนในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 16 — 60 จากรายงานการศึกษาวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการด้านเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัยแห่งประเทศอังกฤษ (BritishJournalof Occupational and Environmental Medicine) ในปี 2543 “ สำหรับในประเทศไทย อุบัติเหตุทางรถยนต์อันมีสาเหตุมาจากความง่วงนั้นสูงถึงราว 1 ใน 3 น.พ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ ประธานกรรมการทุนง่วงอย่าขับ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มูลนิธิรามาธิบดี เปิดเผยถึงสถิติสำคัญของอุบัติเหตุรถยนต์อันมีสาเหตุมาจาก “ความง่วง” ภัยเงียบที่หลายๆ คน มิได้คำนึงถึง “เพราะอาการง่วงนั้นเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาช่วงบ่ายสองถึงสี่โมงเย็น และหลังเที่ยงคืนถึงเจ็ดโมงเช้า เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่คนเราได้ตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมต่างๆ เป็นเวลาติดต่อกันนานหลายชั่วโมง จนร่างกายเริ่มมีอาการเหนื่อยล้าและง่วงนอน”

วิธีการป้องกันการหลับในก่อนจะขับรถ

1. ให้ความสำคัญของการนอนหลับให้เพียงพอ

2. งดกินยาที่ทำให้ง่วง

3. งดดื่มแอลกอฮอล์คืนก่อนเดินทาง

4. ถ้าสงสัยว่ามีโรคประจำตัวที่ทำให้ง่วง ต้องปรึกษาแพทย์

Public Relations Head Office :

For more information, please contact:

ข้อมูลประชาสัมพันธ์ติดต่อ :

The Eye D Co.,Ltd.( บ.ดิอายส์ดีท์ จำกัด )

คุณนันทิยา รอดอยู่ / PR. Corporate Project of Government

คุณกานต์พิชชา ลักษณะอารีย์ / Account Service

Tel : 02-728-7372 (Auto Lines) Fax : 02-728-7372

E-mail : [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ