จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้แนวโน้มราคากุ้งขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้ เพราะปริมาณกุ้งจับขาดแคลนทั่วโลก ผู้ซื้อพยายามมองหาแหล่งซื้อกุ้งอื่นเพิ่มเติมเพื่อทดแทนปริมาณที่ขาดหายไปจากอ่าวเม็กซิโก โดยประเทศไทยได้รับอานิสงส์ จากแนวโน้มการสั่งซื้อปริมาณเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ราคากุ้งส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มสูงขึ้น 20% ในช่วงเวลาที่ผ่านมา นอกจากนี้ ไตรมาสแรกของปี 2553 พบว่า ประเทศไทยมีปริมาณส่งออกกุ้งแช่แข็งไปยังสหรัฐอเมริกา มูลค่า 8,800 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 19%
ปริมาณผลผลิตกุ้งทั่วโลกในปี 2552 ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกกุ้งอันดับหนึ่งของโลก ด้วยปริมาณการส่งออก 390,000 ตัน คิดเป็น 21% ของการส่งออกของโลก ซึ่งสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศส่งออกกุ้งอันดับหนึ่งของไทย ด้วยปริมาณการส่งออกในปีที่ผ่านมาจำนวน 190,000 ตัน (48%) คิดเป็นมูลค่า 45,000 ล้านบาท
นายสมศักดิ์ มั่นใจว่าในปี 2553 จะเป็นปีทองของกุ้งไทย เพราะนอกจากการรับผลดีจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วแล้ว สหรัฐอเมริกายังได้ประกาศผลการพิจารณาการเก็บภาษีเอดีของบริษัทในไทยลดต่ำลง ซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับการส่งออกสินค้ากุ้งแช่แข็งของไทยไปตลาดสหรัฐ ในขณะที่ ประเทศผู้ผลิตกุ้งของโลกอย่าง อินโดนีเซียและบราซิล ต่างประสบปัญหาโรคไวรัสกล้ามเนื้อขุ่น (IMN) ระบาดอย่างหนัก ส่งผลให้ผลผลิตลดลง 40-70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ จีนประสบกับภาวะทางธรรมชาติ ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งถือเป็นโอกาสทองของประเทศไทย ที่ต้องเร่งเปิดตลาดใหม่ ในช่วงที่ประเทศคู่แข่งขาดแคลนกุ้งอย่างหนัก
สำหรับในประเทศไทย จากภาวะความต้องการที่มากขึ้นนั้น ส่งผลให้ราคาขยับตัวสูงขึ้น โดยกุ้งขนาด 100 ตัวต่อกิโลกรัม ขยับราคาขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 90 บาท จากราคา 77 บาท และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย
som panee
E-mail: [email protected]