กก. สรุปมาตรการเยียวยาและฟื้นฟูกู้วิกฤตด้านการท่องเที่ยว

เสาร์ ๐๕ มิถุนายน ๒๐๑๐ ๑๔:๑๓
นายอรรถชัย บุรกรรมโกวิทย์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟูภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว ภายหลังวิกฤตทั้งในและต่างประเทศ ครั้งที่ 2/2553 ในวันที่ 4 มิถุนายน 2553 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 กระทรวง การท่องเที่ยวและกีฬา โดยสรุปมาตรการที่ต้องการให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเยียวยา และฟื้นฟูกู้วิกฤตด้านการท่องเที่ยวของประเทศ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองในเดือนเมษายน — พฤษภาคม 2553 มี 3 มาตรการ ดังนี้

1. มาตรการเสริมสร้างสภาพคล่องของผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว

1.1 ปรับเปลี่ยนรายละเอียดโครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและปัญหาภายในประเทศ

1.1.1 คงวงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท

1.1.2 ขยายวงเงินกู้จากเดิมรายละไม่เกิน 5 ล้านบาท เป็นรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท

1.1.3 ขยายระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) จากเดิม 1 ปี เป็น 2 ปี

1.1.4 ขยายระยะเวลาการกู้ยืมสูงสุด จากเดิม 5 ปี เป็น 8 ปี

1.1.5 ในส่วนของหลักประกัน 5 ล้านบาทแรก ยังคงใช้หลักประกันตามหลักเกณฑ์เดิม แต่สำหรับวงเงินส่วนที่เกิน 5 ล้าน ให้มีหลักประกัน

1.1.6 ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการพิจารณา ออกหนังสือรับรองว่า ให้ผู้ขอสินเชื่อเป็นผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ยื่นคำขอโดยตรงต่อ ธพว. โดยไม่ต้องมีหนังสือรับรอง

1.2 โครงการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาแก่ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อม

1.2.1 ให้ (ธพว.) จัดสรรวงเงินกู้จำนวน 10,000 ล้านบาท

1.2.2 ระยะเวลาโครงการ สิ้นสุดวันรับคำขอสินเชื่อภายใน 31 ธันวาคม 2553

1.2.3 เป็นการกู้ใหม่

1.2.4 วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 1,000,000 ล้านบาท

1.2.5 สินเชื่อแบบมีระยะเวลา (Term Loan) ระยะเวลากู้ 8 ปี ระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) 2 ปี

1.2.6 ยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ

1.2.7 ยกเว้นการตรวจสอบประวัติทางการเงิน

1.3 มาตรการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาแก่ผู้ประกอบการธุรกิจ

1.3.1 ท่องเที่ยว ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอีก 3 ปี และให้มีระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) 6 เดือน

1.3.2 ขอรับการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) แก่ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ในวงเงิน 10,000 ล้านบาท กู้รายละไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MLR-3 ระยะเวลากู้ 8 ปี และมีระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น(Grace Period) 6 เดือน

1.4 โครงการช่วยเหลือด้านการเงินแก่บุคลากรด้านการท่องเที่ยว

1.4.1 โดยให้ธนาคารออมสินพิจารณาจัดวงเงินกู้จำนวน 1,500 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาชีพอิสระและเพื่อเป็นเงินทุนหือเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ โดยกู้ไม่เกินรายละ 100,000 บาท ชำระคืนไม่เกิน 5 ปี (60 งวด)

1.4.2 ขอความร่วมมือจากธนาคาร และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ในการพิจารณาช่วยเหลือบุคลากรด้านการท่องเที่ยว โดยขอพักชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย เป็นระยะเวลา 6 เดือน และขยายระยะเวลาการชำระหนี้ออกไปอีก 3 ปี

2. มาตรการลดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว

2.1 ยกเว้นภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน และภาษีป้าย ปี 2553 ให้แก่ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว

2.2 ยกเว้นภาษีสรรพสามิต ปี 2553 ให้แก่ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยว (ธุรกิจสนามกอล์ฟ)

2.3 ขอขยายเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบธุรกิจโรงแรม จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2554

2.4 ยกเลิกการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าขั้นต่ำจากสถานประกอบการโรงแรม โดยให้เรียกเก็บค่าไฟฟ้าตามที่ใช้จริง ในเดือนพฤษภาคม — ธันวาคม 2553

2.5 ลดหย่อนค่าธรรมเนียมเข้าชมอุทยานแห่งชาติ ร้อยละ 50 จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554

2.6 ยกเลิกหรือลดหย่อนเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ทั้งส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง เป็นระยะเวลา 1 ปี

2.7 โครงการฝึกอบรมพนักงาน/ลูกจ้างในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ต้นกล้าอาชีพ) ให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ดำเนินการโครงการฝึกอบรมพนักงาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการ จำนวน 50,000 คน วงเงินงบประมาณ 440 ล้านบาท

3. มาตรการส่งเสริมการตลาดด้านท่องเที่ยว

3.1 แผนฟื้นฟูกู้วิกฤตผลกระทบด้านการท่องเที่ยว ประกอบด้วย 3 แผนงานหลัก คือ

3.1.1 แผนงานฟื้นฟูภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่น (Soft Sales) 690 ล้านบาท

3.1.2 แผนงานกระตุ้นการเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ (Hard Sales) 550 ล้านบาท

3.1.3 แผนงานกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวในประเทศ (ทั้ง Hard Sales และ Soft Sales)

3.2 เร่งรัดการจัดประชุม สัมมนา และฝึกอบรมภายในประเทศ ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2552 เรื่องมาตรการประหยัดในการเบิกจ่าย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

3.3 ขอขยายระยะเวลาและปรับเปลี่ยนมาตรการให้ผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่าย การประชุม สัมมนา อบรม และจัดการท่องเที่ยวเป็นรางวัลในประเทศแก่พนักงานมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ 2 เท่าของที่จ่ายจริง สำหรับปี พ.ศ.2553 ออกไปอีก 1 ปี

3.4 มาตรการให้ประชาชนสามารถนำค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมาหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศมากขึ้น

3.5 ปรับเปลี่ยนรายละเอียดโครงการสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวเดินทางระหว่างประเทศ (Transit Passenger) เพิ่มการมีส่วนร่วมของหน่วยงานในพื้นที่องค์กรและชุมชนที่มีส่วนในการส่งเสริมให้เกิดประโยชน์และเพิ่มประสิทธิภาพในโครงการ

3.6 ขอให้เร่งพิจารณาประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุนเฉิน ในเขตกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด

ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะได้นำเสนอ ครม. เศรษฐกิจในวันจันทร์นี้ และเสนอขออนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันอังคารนี้ ให้มีผลในเชิงปฏิบัติในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO