ธุรกิจเอกชนตอบรับการรายงานทางการเงิน ที่โปร่งใสยิ่งขึ้น

ศุกร์ ๑๑ มิถุนายน ๒๐๑๐ ๑๔:๒๔
ในหลายปีที่ผ่านมา เหล่านักลงทุนและเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมต่างมีความต้องการให้กลุ่มบริษัทมหาชน มีความโปร่งใสในการรายงานทางการเงินในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งความต้องการนี้ส่งผลกระทบต่อทัศนคติของธุรกิจเอกชนในปัจจุบัน โดยรายงานผลการสำรวจธุรกิจนานาชาติที่จัดทำโดยแกรนท์ ธอร์นตัน ปี 2010 หรือ Grant Thornton International Business Report (IBR) 2010 ครั้งล่าสุด (ภาพประกอบ 1) นำเสนอว่ากว่าครึ่งของเจ้าของธุรกิจเอกชนทั่วโลก (Privately Held Businesses: PHBs) (52%) เชื่อว่าความโปร่งใสในระดับที่สูงขึ้นนั้นเป็นประโยชน์สำคัญของการรายงานทางการเงิน การสำรวจดังกล่าวนำเสนอทัศนคติของเจ้าของธุรกิจกว่า 7,400 คนจากกลุ่มเศรษฐกิจ 36 กลุ่ม ซึ่งระบุว่าธุรกิจต่างๆ ในไอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ และไต้หวัน มีความกระตือรือร้นที่สุดต่อความโปร่งใสในระดับที่สูงขึ้น และ 85% ของธุรกิจระบุว่าความโปร่งใสในระดับที่สูงขึ้นเป็นประโยชน์สำคัญประการหนึ่ง

อเล็กซ์ แมคบีธ ผู้บริหารระดับสูง ของแกรนท์ ธอร์นตัน อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า "ผลการสำรวจดังกล่าวบ่งชี้ว่าแม้โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจเอกชนจะไม่จำเป็นต้องรายงานข้อมูลทางการเงินหรือโครงสร้างต่างๆ ทางกฎหมาย แต่เจ้าของธุรกิจยอมรับมากขึ้นว่าในการแข่งขันและเพื่อการเติบโต ตนจะต้องแสดงความโปร่งใสมากยิ่งขึ้นและมีความพร้อมเมื่อเทียบเคียงกับคู่แข่งขันของตน"

ทั้งนี้ ธุรกิจต่างๆ ยอมรับว่าการรายงานทางการเงินจะช่วยในการเติบโตของธุรกิจ โดย 37% ระบุว่า มีการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ง่ายดายยิ่งขึ้น พร้อมด้วยการอำนวยความสะดวกในการค้าขายกับต่างประเทศ (17%)

ในขณะเดียวกัน เจ้าของธุรกิจได้รับการสอบถามว่าเคยรับทราบถึงมาตรฐานบัญชีสากลสำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (International Financial Reporting Standards for Small and Medium sized Enterprises: IFRS for SMEs) หรือไม่ ซึ่ง IFRS for SMEs นำเสนอหลักการทางบัญชีที่ได้รับการยอมรับจากสากล โดยมีการพัฒนาให้เรียบง่ายเพื่อธุรกิจเอกชนโดยเฉพาะ ทั้งนี้ อเล็กซ์ แมคบีธ กล่าวว่า "การนำ IFRS for SMEs มาใช้จะช่วยให้ธุรกิจมีความโปร่งใสยิ่งขึ้นและสามารถเปรียบเทียบได้โดยตรงกับคู่แข่งในธุรกิจประเภทใกล้เคียงกันจากทั่วโลก จึงเป็นวิธีการที่ทั่วโลกนำมาใช้เมื่อต้องการความโปร่งใสในระดับที่สูงขึ้น"

ในการนี้ 53% ของเจ้าของธุรกิจทั่วโลกกล่าวว่าตนเคยได้ยินเกี่ยวกับ IFRS for SMEs มาแล้ว เมื่อมองในระดับภูมิภาค เจ้าของธุรกิจในสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่จะรับทราบมากกว่า (67%) โดยไอร์แลนด์อยู่ในอับดับสูงสุด (86%) ตามด้วยสเปน (79%) ฟินแลนด์ (78%) และสหราชอาณาจักร (76%) ในทางกลับกัน เจ้าของธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มต่ำที่สุดในการรับทราบเกี่ยวกับ IFRS for SMEs โดยญี่ปุ่น (19%) และไทย (18%) มีแนวโน้มที่จะรับทราบน้อยที่สุด

ในพื้นที่ซึ่งเจ้าของธุรกิจได้รับทราบเกี่ยวกับมาตรฐานบัญชี IFRS for SMEs เมื่อสอบถามเจ้าของธุรกิจว่าต้องการให้ประเทศของตนรับเอา IFRS for SMEs มาใช้หรือไม่ 52% ของเจ้าของธุรกิจทั่วโลกกล่าวว่ามีความต้องการ โดยเม็กซิโก (89%) ฟิลิปปินส์ (85%) และชิลี (84%) มีความสนับสนุนมากที่สุด ทั้งนี้ บางประเทศมีการเตรียมการเพื่อนำเอามาตรฐานบัญชีดังกล่าวมาใช้แล้ว ในขณะที่ประเทศอื่นๆ (รวมถึงฟิลิปปินส์) มีการริเริ่มใช้มาตรฐานบัญชีดังกล่าวแล้ว

อเล็กซ์ แมคบีธ อธิบายว่า "ธุรกิจทั่วโลกที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งต้องดำเนินตามมาตรฐานบัญชี IFRS อย่างเต็มรูปแบบจะมีความยินดีที่มาตรฐานใหม่มีความยาวเพียงหนึ่งในสิบของ IFRS เต็มรูปแบบ ทำให้รายการที่ต้องแสดงมีประมาณ 300 รายการแทนที่จะเป็น 3,000 รายการดังที่ใช้ในปัจจุบัน"

นอกจากนี้ การลดต้นทุนยังถือเป็นประโยชน์อีกหนึ่งประการของการรายงานทางการเงิน โดย 44% ของธุรกิจทั่วโลกและ 15 ประเทศระบุว่าเป็นข้อประโยชน์ที่ได้รับความนิยมที่สุด ในไอร์แลนด์ 89% ของธุรกิจ ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดจากทุกประเทศ ระบุว่าต้นทุนที่ลดลงเป็นคุณประโยชน์ประการหนึ่ง ตามด้วยมาเลเซีย (85%) และเดนมาร์ค (80%) ส่วนญี่ปุ่น (3%) และบอตสวาน่า (11%) มีแนวโน้มต่ำที่สุดที่จะกล่าวว่าต้นทุนที่ลดลงเป็นคุณประโยชน์จากการรายงานทางการเงิน ในระดับภูมิภาคแล้ว ประเทศในกลุ่ม NAFTA, สหภาพยุโรป และยุโรปตอนเหนือ มีแนวโน้มสูงที่สุดที่จะกล่าวถึงต้นทุนที่ลดลง (53%, 51% และ 50% ตามลำดับ) ในขณะที่ละตินอเมริกาและเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มต่ำที่สุด (33% ทั้งสองภูมิภาค)

ทั้งนี้ หนึ่งในสามของธุรกิจทั่วโลกระบุว่าขั้นตอนที่พัฒนาให้เรียบง่ายขึ้นเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการรายงานทางการเงิน ซึ่งเบลเยียมเป็นเพียงประเทศเดียวที่ระบุว่าขั้นตอนที่พัฒนาให้เรียบง่ายเป็นประโยชน์อันสูงสุด (50%) ในขณะที่ไอร์แลนด์ (87%) และมาเลเซีย (79%) ซึ่งมีสัดส่วนสูงกว่าได้ระบุว่าขั้นตอนที่พัฒนาให้เรียบง่ายเป็นเพียงประโยชน์ส่วนหนึ่งของการรายงานทางการเงิน

หมายเหตุ: IFRS for SMEs เป็นมาตรฐานทางบัญชีสำหรับบริษัทเอกชนที่ได้รับการพัฒนาให้เรียบง่ายจาก IFRS ฉบับเต็มรูปแบบ โดยมีเนื้อหาน้อยกว่า 230 หน้าเมื่อเปรียบเทียบกับประมาณ 3,000 หน้าของ IFRS ฉบับเต็มรูปแบบ ดังนั้น IFRS for SMEs จึงเป็นมาตรฐานที่พร้อมสรรพซึ่งมีการพัฒนาหลักสำคัญหลายข้อให้เรียบง่ายยิ่งขึ้นเพื่อการระบุและประเมินทรัพย์สิน หนี้สิน รายรับและรายจ่าย โดยลดทอนหัวข้อที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมลงไป ตลอดจนจำนวนของรายการที่จะต้องแสดง ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเอกสารเผยแพร่โดยคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (International Accounting Standards Board: IASB) เมื่อปี 2009 นั้น เป็นครั้งแรกที่ปัจจุบันได้มีกรอบการรายงานทางการเงินสำหรับบริษัทเอกชนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ได้มีความตั้งใจที่จะช่วยเหลือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เพื่อการประเมินการดำเนินการและการตัดสินใจด้วยพื้นฐานที่เสมอกัน

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: เอียน แพสโค

กรรมการบริหาร แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย โทร: 02 205 8222 อีเมล์: [email protected]

ลักษณ์พิไล วรทรัพย์

ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร แกรนท์ ธอร์นตัน ในประเทศไทย โทร: 02 205 8142 อีเมล์: [email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO