ทีมฟุตบอลและแฟนบอลจาก 32 ประเทศทั่วโลกกำลังหลั่งไหลเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลโลกที่กำลังเริ่มต้นขึ้นในแอฟริกาใต้และนี่เป็นอีกหนึ่งโอกาสที่บรรดาอาชญากรไซเบอร์กำลังรอคอยจังหวะงามๆ จากผู้พลั้งเผลอ
คุณนพชัย ตั้งไตรธรรม ที่ปรึกษาทางเทคนิคอาวุโส ของไซแมนเทค กล่าวว่า “แฟนบอลจำนวนมากมายหวังพึ่งพาอุปกรณ์พกพาอย่างมือถือในการติดตามข่าวสารได้อย่างทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็นข่าว และ เทปบันทึกการแข่งขัน “สมาร์ทโฟนต่างๆ ในปัจจุบันมักถูกโจมตีได้ง่ายโดยกิจกรรมไม่พึงประสงค์ต่างๆ อย่างเช่น ฟิชชิ่ง เว็บไซต์หลอกลวงและจากการดาวน์โหลดต่างๆ ที่ทำให้โค๊ดอันตรายอย่างโทรจันสามารถติดเข้ามาในเครื่องได้”
ณ ขณะนี้มีการตรวจพบภัยคุกคามบนแพลตฟอร์มโมบายประมาณ 400 ภัยคุกคามด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นเพียงเศษเสี้ยวเมื่อเทียบกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นบนพีซีแพลตฟอร์มที่สูงถึง 4 ล้านภัยคุกคาม แต่ก็เป็นอันตรายอย่างแท้จริงสำหรับผู้ใช้งาน
“อาจฟังดูแปลก แต่ภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดสำหรับแฟนบอลคือ การทำโทรศัพท์ของตัวเองหาย โทรศัพท์แบรนด์หลักๆ ทั้งหมดที่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้มักจะเต็มไปด้วยข้อมูลทั้งส่วนตัวและข้อมูลทางธุรกิจมากมาย ซึ่งถ้ามือถือเกิดหายหรือถูกขโมยขึ้นมา ก็จะทำให้อาชญากรเหล่านี้เข้าถึงข้อมูลสำคัญดังกล่าวได้โดยง่ายดาย” คุณนพชัย กล่าว
ในขณะที่โทรศัพท์บางรุ่นจะมีระดับการป้องกันข้อมูลโดยการเข้ารหัส คุณนพชัย เตือนว่า “ขั้นตอนเหล่านี้สามารถถูกปลดออกได้อย่างง่ายดาย และแฟนบอลควรแบ็คอัพข้อมูลในมือถือของตนไว้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ และ คลิปวิดีโอต่างๆ ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของตน หรือ เอาใส่ไว้ในแหล่งจัดเก็บข้อมูลออนไลน์อย่างเช่น กูเกิล ทันทีที่มีโอกาส”
จุดให้บริการอินเทอร์เน็ตไวไฟหาได้ทั่วไปในแอฟริกาใต้ และ คุณนพชัยเชื่อถือว่าผู้ใช้งานควรต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าจุดบริการนี้เชื่อถือได้ ควรพยายามตรวจสอบความถูกต้องของการให้บริการดังกล่าวเพื่อไม่ให้มือถือของตกอยู่ในเงื้อมือของอาชญากร
“อีกอย่างก็คือ ควรระวังเวลาที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คอย่าง ทวิตเตอร์ และ เฟซบุ๊ค มากยิ่งขึ้น เนื่องจากบรรดาอาชญากรมักใช้ช่องทางเหล่านี้ในการเช็คดูว่าคนเหล่านี้จะออกจากบ้านเมื่อไหร่ ซึ่งมันอาจกลายเป็นประสบการณ์ที่ไม่น่าจดจำเท่าไรนัก ถ้าแฟนบอลพบว่าข้าวของโดนกวาดไปเรียบบ้านในขณะที่พวกเขาออกไปสนุกกับการดูบอลโลกในปีนี้” คุณนพชัย กล่าว
คำแนะนำจากเว็บไซต์ 2010 Net Threat ของไซแมนเทค เพื่อความปลอดภัยของอุปกรณ์มือถือ
- อย่าเผลอทิ้งมือถือของคุณ ให้คอยระวังตลอดเวลา เนื่องจากโทรศัพท์มือถือกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในแอฟริกาและเสี่ยงต่อการถูกขโมยได้ง่าย ซึ่งส่งผลอย่างรุนแรงคือข้อมูลสูญหาย
- แบ็คอัพข้อมูลทั้งหมด อย่างเช่น รูปภาพ และ คลิปวิดีโอ ไปยังคอมพิวเตอร์หรือแหล่งจัดเก็บอื่นๆ ในทันทีที่มีโอกาส
- ลบเอสเอ็มเอสที่น่าสงสัยและไม่พึงประสงค์ต่างๆโดยทันที
- เมื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต ควรเข้าเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ หรือ ที่เข้าเป็นประจำ
- ระมัดระวังที่จะโหสต์ข้อมูลส่วนตัวลงเวบไซต์เครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊คและทวิตเตอร์ระวังการใช้งานบลูทูธ แนะนำให้ให้ใช้ในโหมดซ่อนตัว
- ตั้งรหัสผ่านที่เหมาะสม ทั้งบนโทรศัพท์มือถือและบริการต่างๆที่ต้องมีการล็อคอินเข้าใช้
- วางแผนล่วงหน้า อย่างการดาวโหลดข้อมูลต่างๆที่คุณต้องการใช้ เช่น แผนที่ ข้อมูลที่พัก ก่อนออกจากบ้าน
อาจฟังดูง่าย แต่คำแนะนำพื้นฐานเหล่านี้แหละ ที่จะช่วยให้คุณไปเยือนแอฟริกาใต้และเข้าชมฟุตบอลโลกได้โดยปราศจากปัญหา!
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการหลอกลวงบนอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลโลก ปี 2010 สามารถเยี่ยมชมได้ที่www.2010netthreat.com.
สำหรับสื่อมวลชน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
ที่ปรึกษาฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จำกัด
โทร : 02-655-6633
คุณกณวรรธน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (เกศ) [email protected]
คุณบุษกร ศรีสงเคราะห์ (ติ๊ก) [email protected]