งบปี 54 ติงสำนักการศึกษาทำงานไม่มีประสิทธิภาพ จี้เร่งจัดซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของนักเรียน

จันทร์ ๒๑ มิถุนายน ๒๐๑๐ ๑๔:๑๓
คกก. พิจารณางบประมาณรายจ่าย ปี 54 กระทุ้งสำนักการศึกษา จัดซื้อคอมพิวเตอร์ล่าช้าไม่คืบหน้า ทำเด็กไม่ได้ใช้ประโยชน์ จี้ผู้บริหารเร่งดำเนินการโดยเร็วที่สุด แนะเข้มคัดเลือกเยาวชนแลกเปลี่ยนต้องสามารถดูแลตนเองได้เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ

นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางรัก เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อประชุมพิจารณางบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ของสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร โดยมีนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดร.ธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นางทยา ทีปสุวรรณ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารสำนัก ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 3-6 สภากรุงเทพมหานครจี้เร่งจัดซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของนักเรียน แนะต้องฝึกเยาวชนแลกเปลี่ยนให้ดูแลตนเองได้

ที่ประชุมคณะกรรมการวิสามัญฯ ตั้งข้อสังเกตหลายประการ เช่น การดำเนินการจัดสรรคอมพิวเตอร์ในโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาในช่วงเวลาที่ผ่านมามีความล่าช้ามาก ส่งผลกระทบต่อนโยบายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาที่วางไว้ ทำให้เด็กนักเรียนไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการศึกษาหาความรู้ ทั้งโครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนระหว่างเมือง ตามนโยบายสภาบ้านพี่เมืองน้อง สภากรุงเทพมหานคร นอกจากเด็กนักเรียนที่ยึดมาตรฐานในการคัดเลือกจากความสามารถด้านภาษาและการแสดงที่ยอดเยี่ยมเพื่อร่วมโครงการ ทั้งควรเข้มงวดในการพิจารณาและคัดสรรตัวแทนนักเรียนที่จะต้องมีความรับผิดชอบตนเองและแก้ไขปัญหาได้เมื่อพักอาศัยอยู่ต่างประเทศในช่วงระยะเวลาโครงการ ซึ่งจะต้องสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ไม่เป็นภาระต่อเพื่อนร่วมคณะ ทั้งบุคลากรครูที่ถูกคัดสรรจะต้องมีความสามารถและมีประโยชน์ในการทำงานมากที่สุด ทั้งการก่อสร้างหรือปรับปรุงโรงเรียนของกรุงเทพมหานคร ควรกระจายอำนาจต่าง ๆ ให้กับเขตนั้นรับผิดชอบเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระ และโรงเรียนที่อยู่ในแผนพัฒนาและปรับปรุงก่อสร้างอาคารเรียน ควรเร่งดำเนินการเพื่อให้ทันกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ รวมถึงต้องพิจารณายุบโรงเรียนที่มีนักเรียนจำนวนไม่มากแล้วโยกย้ายนักเรียนและครูมารวมกับโรงเรียนที่มีความพร้อมมากกว่าเพื่อโอกาศที่กรุงเทพมหานครนำพื้นที่ไปพัฒนาให้เป็นประโยชน์ต่อไป ทั้งโรงเรียนในระดับมัธยมของกรุงเทพมหานคร ควรมีการปรับให้เป็นมาตราฐานเทียบเท่าโรงเรียนเอกชน และบุคคลากรที่จะมาเป็นครู ควรมีการคัดเลือกผู้ที่มีคุณภาพเพื่อให้เกิดการพัฒนาทางการศึกษา รวมถึงควรพิจารณาในการจัดสรรงบประมาณพัฒนาโรงเรียน สร้างอาคาร และเพิ่มฝึกอบรมและสร้างจริยธรรมเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาบุคลากรทางด้านการศึกษา ตรงตามนโยบายกรุงเทพมหานครอีกด้วย

ทั้งนี้ในที่ประชุมคณะกรรมการวิสามัญฯ ได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตการใช้จ่ายงบประมาณของกรุงเทพมหานครกันอย่างกว้างขวาง พร้อมมอบหมาย ให้ทางหน่วยงานที่ได้รับการพิจารณานำเอกสารเพิ่มเติมมายื่นให้ทางคณะกรรมการฯ เพื่อการพิจารณากลั่นกรองรายละเอียดในการประชุมครั้งต่อไปด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ