สำหรับแท่นขุดเจาะน้ำมันของนิวคอสตอล แท่นแรกคือแท่น โสรยา ที่ดำเนินการขุดเจาะไปนั้นจะเหลือระยะเวลาอีกประมาณ 3-4 ปี ขณะที่อีกไม่นานจะเริ่มดำเนินการผลิตที่แท่นใหม่แท่นสงขลา ซี ก็จะเริ่มดำเนินการผลิตน้ำมันดิบภายในปีนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศไทยได้ นอกจากนี้นิวคอสตอลยังได้มองหาแหล่งผลิต รวมถึงพลังงานทดแทนในส่วนอื่นๆ เพื่อการลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทยต่อไป โดยยังคงอยู่ที่น้ำมันดิบอีกอย่างน้อย 10 ปี ทั้งนี้อยู่บนพื้นฐานความสำเร็จของการขุดเจาะในแหล่งต่อๆ ไป รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเชีย ด้วย แต่ปัจจุบันนิวคอสตอลยังคงมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของพลังงานธรรมชาติในประเทศไทยเป็นอันดับแรก
นายจอห์น กล่าวต่อว่า การดำเนินงานของนิวคอสตอลมุ่งไปที่การให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างมาก เราเชื่อว่าการพยายามคงสภาพความสมบูรณ์ของธรรมชาติไว้เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจนี้ดำเนินไปได้นานขึ้น แม้ว่าในอนาคตเราจำเป็นที่ต้องหาพลังงานทดแทนอื่นๆ ก็ตาม “การที่นำทรัพยากรธรรมชาติบางอย่างมาใช้ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องคืนส่วนหนึ่งกลับไปสู่ธรรมชาติเช่นกัน เพื่อที่มนุษย์และธรรมชาติจะดำรงอยู่คู่กันไปได้นานยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันผู้ประกอบการเกี่ยวกับน้ำมันและพลังงานทุกแห่งในโลกก็ควรตระหนักถึงเรื่องดังกล่าวเป็นสำคัญ”
ในส่วนของนิวคอสตอลเองนั้น เราได้รณรงค์ในการรักษาสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าบางครั้งเม็ดเงินจำนวนมากที่ใช้ไปในการขุดเจาะสำรวจหลุมน้ำมันดิบจะล้มเหลวและสูญเปล่า แต่ทุกครั้งที่มีการขุดเจาะเราจะไม่เคยละเลยเรื่องสิ่งแวดล้อมเลย ที่ผ่านมานิวคอสตอลใช้เม็ดเงินกว่า 60 ล้านบาท เพื่อสร้างมาตรฐานดำเนินการป้องกันการรั่วไหลของน้ำมัน การตรวจสอบเครื่องมือเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการลงพื้นที่สำรวจร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อย่างจริงจัง เพื่อให้แน่ใจว่าทุกขั้นตอนการทำงานของนิวคอสตอลทั้งก่อนและหลังจะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเด็ดขาด สังเกตได้จากความอุดมสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณแท่นขุดเจาะที่กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และแหล่งอาหารของสัตว์ทะเลจำนวนมหาศาล
จากการที่มีข่าวเกี่ยวกับมลพิษทางทะเลต่างๆตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2553 นั้น ได้มีการลงตรวจสอบแท่นขุดเจาะ และแท่นผลิต จากหน่วยงานราชการส่วนกลางเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ซึ่งผลการตรวจสอบไม่พบความผิดปกติที่อาจก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การรั่วไหล หรือตำแหน่งที่มีความเสี่ยงต่อการรั่วไหลของน้ำมันหรือสารเคมีแต่อย่างใด กรณีที่พบก้อนสีดำขนาดเล็กคล้ายยางมะตอยบริเวณชายหาดจังหวัดสงขลา ในช่วงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ซึ่งทำให้เกิดความสกปรกแก่ชายหาดนั้น จากการสอบถามชาวบ้านในพื้นที่พบการกระจายของก้อนสีดำคล้ายยางมะตอยดังกล่าว จะเกิดขึ้นเป็นประจำมานับสิบปีแล้ว ซึ่งจะเกิดในช่วงลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่บริเวณชายหาดหลายพื้นที่ตั้งแต่ อ.เมืองสงขลา อ.สิงหนคร อ.สทิงพระ อ.ระโนด จังหวัดสงขลา และขึ้นไปถึงพื้นที่ชายหาดบางส่วนของจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งกำนันผู้ใหญบ้านในจังหวัดสงขลาได้ให้ข้อมูลว่าก้อนสีดำนี้ ชาวบ้านส่วนใหญ่เรียกว่า “ขี้น้ำมันดิน” เกิดขึ้นมาเป็นประจำ ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายนของทุกปีซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า หลังจากขึ้นมาประมาณ 2-3 วัน ก็จะมีคลื่นลูกใหญ่กวาดลงไปในทะเลเหมือนเดิม
ทั้งนี้ แม้ว่ากิจกรรมของนิวคอสตอล จะดำเนินการเพิ่งเริ่มดำเนินการได้เพียงประมาณ 1 ปี รวมทั้งการดำเนินการทั้งหมดเป็นระบบปิด ไม่มีการรั่วไหล และไม่มีการทิ้งสารพิษใดๆ ลงสู่ทะเล อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นิวคอสตอลจึงได้นำส่งตัวอย่าง“ขี้น้ำมันดิน”ดังกล่าวไปตรวจวิเคราะห์ในเชิงลึกเพื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างน้ำมันดิบจากแหล่งสงขลา, สารสังเคราะห์ที่ใช้ในการขุดเจาะ และเศษหินที่เกิดขึ้นจากการขุดเจาะโดยใช้สารสังเคราะห์ ที่ห้องปฏิบัติการซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านปิโตรเลียมโดยเฉพาะ และได้รับการรับรองจากองค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศสหรัฐอเมริกา ตามคำขอของทางจังหวัดสงขลา ซึ่งผลการตรวจสอบการเปรียบเทียบองค์ประกอบอย่างละเอียดพบว่า ”ขี้น้ำมันดิน” ดังกล่าวเป็นสารที่มีองค์ประกอบคล้ายกับน้ำมัน แต่ ไม่ใช่น้ำมันดิบที่เกิดจากแหล่งสงขลา และไม่ใช่สารสังเคราะห์ที่ใช้ในการขุดเจาะ หรือเศษหินที่เกิดขึ้นจากการขุดเจาะแต่อย่างใด จึงสามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า ”ขี้น้ำมันดิน”นั้น ไม่ได้เกิดจากการดำเนินการของนิวคอสตอลอย่างแน่นอน
นักวิชาการจากกรมควบคุมมลพิษได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับก้อนสีดำขนาดเล็กนี้ว่า ทะเลชายฝั่งสงขลามี กิจกรรมทางน้ำหลายกิจกรรมด้วยกัน ทั้งท่าเทียบเรือ การขนถ่ายสินค้า การเดินเรือ และการประมง เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ต่างก็มีการสูบถ่ายน้ำมัน หรือล้างเรือ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของก้อนน้ำมันนี้ได้
นอกจากนี้นิวคอสตอลได้มีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทะเลซึ่งครอบคลุมตำแหน่งที่จะมีกาดำเนินโครงการ และบริเวณโดยรอบ มาตั้งแต่ยังไม่มีโครงการในปี พ.ศ.2551 และตรวจวัดอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ตามข้อกำหนดของ EIA และในการเก็บตัวอย่างน้ำทะเลไปวิเคราะห์ในแต่ละครั้งนั้นเป็นการเก็บโดยบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมและได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานสากลในด้านความสามารถห้องปฎิบัติการตามมาตรฐานข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการทดสอบและห้องปฎิบัติการสอบเทียบ และความสามารถของหน่วยตรวจ หรือการควบคุมระบบในการเก็บตัวอย่าง รวมถึงมีรูปแบบการเก็บกำหนดจุดเก็บตัวอย่างที่สอดคล้องกับหลักวิชาการ และข้อกำหนดในกฎหมาย พร้อมทั้งดำเนินการโดยผู้ที่มีความเชี่ยญชาญ มีการควบคุมคุณภาพของตัวอย่าง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวิเคราะห์ที่น่าเชื่อถือ เนื่องจากหากอุปกรณ์ที่ใช้เก็บไม่สะอาด หรือเกิดการปนเปื้อนขณะที่มีการเก็บตัวอย่างเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลให้ค่าที่วิเคราะห์ได้สูงเกินกว่าความเป็นจริง เช่น การปนเปื้อนจากน้ำมันจากท้องเรือที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างน้ำ
อาจทำให้ค่าของปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนที่วิเคราะห์สูงเกินกว่าค่าที่ควรจะเป็นได้ที่ผ่านมาผลการวิเคราะห์ค่าปิโตรเลียมไฮโดรคาร์บอนที่ได้มีการตรวจวิเคราะห์ ในขณะที่มีการดำเนินงานของนิวคอสตอล มีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นการวิเคราะห์และพิสูจน์ได้อย่างโปร่งใสและได้นำส่งผลบางส่วนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปแล้ว ในส่วนประเด็นเรื่องชาวประมงนั้น เริ่มจากการที่กลุ่มประมงได้รวมตัวกันปิดอ่าวเมื่อปี พ.ศ. 2551 ซึ่งการปิดอ่าวนั้นส่งผลกระทบต่อจังหวัดสงขลาโดยรวม เพียงเพื่อต้องการขัดขวางการปฎิบัติงานและต่อรองเรื่องเงินค่าชดเชยการเสียโอกาสในการทำประมงจากการที่นิวคอสตอลเข้ามาดำเนินการผลิตน้ำมันดิบ แม้ว่าพื้นที่การผลิตจะอยู่ไกลออกจากชายฝั่ง อ.สทิงพระประมาณ 30 กิโลเมตร และใช้พื้นที่เพียง 0.79 ตร.กม. เมื่อเทียบกับน่านน้ำสงขลาที่มีความกว้างใหญ่ถึง 8,500 ตร.กม. โดยกล่าวอ้างว่ามีเรือประมาณ 1,700 ลำ ทำประมงอยู่ในพื้นที่เพียง 0.79 ตร.กม. นั้น ซึ่งเป็นคำกล่าวอ้างที่ยังไม่มีการพิสูจน์หลักฐานจำนวนเรือที่แท้จริง อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินงาน และการประกอบอาชีพประมงสามาร
ถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นการสร้างประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพ นิวคอสตอลจึงได้ทำข้อตกลงร่วมกับกลุ่มชาวประมง ซึ่งระบุว่านิวคอสตอล ยินดีสนับสนุนให้เป็นเงินกองทุนในการพัฒนาอาชีพประมง จำนวน 25 ล้านบาทต่อปี (ซึ่งไม่ใช่เงินชดเชยให้แก่ชาวประมงในเรื่องใดๆ แต่ประการใด)
ส่วนในเรื่องที่เกิดความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มชาวประมงนั้น ไม่ได้เกิดจากการผิดสัญญาของนิวคอสตอลแต่ประการใด เนื่องจากนิวคอสตอลยังคงยินดีสนับสนุนกองทุนนี้อยู่ตามจำนวนที่ตกลงกันไว้ทุกเดือน โดยนำส่งให้กับบัญชีของจังหวัด ซึ่งปัญหาเกิดจากการที่ในระยะหลังได้มีกลุ่มประมงบางกลุ่มแยกตัวมาจากกลุ่มเดิม และมีกลุ่มประมงกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกกว่า 10 กลุ่ม ซึ่งอ้างว่าตนไม่ได้รับการจัดสรรเงินจำนวนนี้ ทำให้จังหวัดไม่สามารถจัดสรรให้กับทุกกลุ่มตามจำนวนที่มีมากขึ้นได้ จึงเป็นเรื่องที่แกนนำกลุ่มชาวประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนิวคอสตอล ควรจะช่วยกันตรวจสอบจำนวนเรือที่ถูกต้อง ว่าแต่ละกลุ่มมีเรืออยู่จริงเท็จประการใด โดยควรจะร่วมกันตั้งคณะกรรมการจากตัวแทนกลุ่มประมงต่างๆขึ้นมาตรวจสอบ เพื่อให้เกิดความความชัดเจนในจำนวนเรือ และหลักเกณฑ์การจัดสรรระหว่างชาวประมงด้วยกันเอง ซึ่งต้องอาศัยความจริงใจ ความซื่อสัตย์ และความร่วมมือจากชาวประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งนิวคอสตอล บนพื้นฐานของความเป็นจริง เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายและเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ประกอบอาชีพประมง รวมถึงส่วนรวมอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับปัญหาความเข้าใจผิดที่เกิดขึ้นนั้น นิวคอสตอลไม่ได้เพิกเฉย เร่งตรวจสอบและพิสูจน์เพื่อนำข้อเท็จจริงมาเปิดเผยสู่สาธารณชนให้รับทราบ โดยเราให้ความเชื่อมั่นตลอดมาว่าการดำเนินงานของนิวคอสตอลอยู่บนพื้นฐานของความโปร่งใส เน้นมาตรฐานการดำเนินงานที่ปลอดภัย มีคุณภาพสูงสุด ใส่ใจชุมชน ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
E-mail: [email protected]