ก.ไอซีที วางแนวนโยบาย-ปฏิบัติเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานรัฐ

พฤหัส ๒๔ มิถุนายน ๒๐๑๐ ๑๕:๓๑
นายวิบูลย์ทัต สุทันธนกิตติ์ รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ ว่า ปัจจุบันปัญหาด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้กับสารสนเทศมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อภาครัฐและภาคธุรกิจมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการ องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนที่มีการดำเนินงานใดๆ ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบสารสนเทศขององค์กร ขาดความเชื่อมั่นต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในทุกรูปแบบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำกฎหมาย ข้อบังคับต่าง ๆ มาบังคับใช้กับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อช่วยให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

ด้านนางสาวลัดดา แจ้งเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่า ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ.2549 มาตรา 5 และมาตรา 7 ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดทำแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมหรือการให้บริการต่าง ๆ มีความมั่นคงปลอดภัย โดยแนวนโยบายดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายก่อน จึงมีผลใช้บังคับได้

“คณะอนุกรรมการความมั่นคงปลอดภัย ภายใต้คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้จัดทำ (ร่าง) ประกาศแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐขึ้น เพื่อเป็นแนวทางและตัวอย่างเบื้องต้นให้หน่วยงานของรัฐ ได้ใช้กำหนดนโยบาย และข้อปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ซึ่ง คณะกรรมการธุรกรรมฯ ได้ให้ความเห็นชอบกับประกาศฉบับนี้แล้ว และอยู่ระหว่างการประกาศในราชกิจจานุเบกษา” นางสาว ลัดดา กล่าว

ดังนั้น เพื่อให้หน่วยงานของรัฐเกิดความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐได้อย่างถูกต้อง สำนักธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงได้จัดการสัมมนาเพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับแนวนโยบายและแนวปฏิบัติฯ ครั้งนี้ขึ้น โดยเชิญผู้บริหารระดับสูงหรือผู้มีอำนาจสั่งการ (CIO) ของหน่วยงานภาครัฐที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการปฏิบัติงาน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติที่มีความรู้ทางด้านเทคนิค ตลอดจนผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ (Critical Infrastructure) กว่า 300 คน มาร่วมรับฟังการอภิปราย ให้ความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปกำหนดเป็นนโยบายในการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศของหน่วยงานได้อย่างเหมาะสมต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ