โดยโครงการ Director’s Screen ได้เริ่มต้นเป็นครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม 2551 กับการเข้าฉาย วันเดอร์ฟูล ทาวน์ ของอาทิตย์ อัสสรัตน์ ภาพยนตร์เจ้าของ 5 รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำประจำปี และ ความจริงพูดได้ (คดีสุภิญญา) ของพิมพกา โตวิระ โดยจากกระแสตอบรับที่ดีของทั้งผู้ชม สื่อมวลชน และวงการภาพยนตร์ทั้งในและต่างประเทศของโครงการ ในปีนี้จึงดำเนินงานต่อเนื่องด้วยการจัดฉายอีก 3 ภาพยนตร์ไทยคุณภาพที่ได้รับรางวัลจากหลากหลายเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติในรอบปีที่ผ่านมา
เปิดตัวด้วย เจ้านกกระจอก (Mundane History) ภาพยนตร์เรื่องแรกของ อโนชา สุวิชากรพงศ์ เจ้าของ 2 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม - VPRO Tiger Award จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติร็อตเทอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ Transilvania Trophy จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติทรานซิลวาเนีย ประเทศโรมาเนียในปีนี้ รวมถึงกับการเข้าร่วมและประกวดชิงรางวัลในอีกหลายเทศกาลทั่วโลก ภาพยนตร์มีกำหนดเข้าฉายในวันที่ 5 สิงหาคม 2553 นี้ ณ โรงภาพยนตร์ SFX Cinema ศูนย์การค้าเอ็มโพเรี่ยม
ตามด้วย สวรรค์บ้านนา (Agrarian Utopia) ของ อุรุพงศ์ รักษาสัตย์ ภาพยนตร์แนวกึ่งสารคดีที่นำเสนอและสะท้อนความงามในวิถีชีวิตกสิกรไทย ที่ได้รับคำชมอย่างล้นหลามจากนักวิจารณ์ทั่วโลก และได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติมากมาย รวมถึงรางวัลพิเศษจากองค์กร UNESCO ในด้านความสำเร็จในการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านทางศิลปะภาพยนตร์ จากงาน Asia Pacific Screen Awards ในปีที่ผ่านมา ภาพยนตร์เข้าฉายในระบบดิจิตัล 2K วันที่ 2 กันยายน 2553
และปิดท้ายโครงการในปีนี้ด้วย ภาพยนตร์สั้นเรื่องล่าสุดของ อาทิตย์ อัสสรัตน์ ผู้กำกับเจ้าของรางวัลศิลปาธร สาขาภาพยนตร์ประจำปีนี้ เรื่อง ภูเก็ต นำแสดงโดย อิมโซจุง ดาราสาวชื่อดังชาวเกาหลีจากภาพยนตร์เรื่อง I’m a Cyborg, But That’s OK และทีวีซีรี่ย์เรื่อง Sorry, I Love You ร่วมกับ สรพงษ์ ชาตรี พร้อมกับภาพยนตร์สั้นอีก 2 เรื่องของผู้กำกับคนเดียวกัน คือ Boy Genius และ The Sigh เข้าฉายในระบบดิจิตัลวันที่ 30 กันยายน 2553
โดยภาพยนตร์ทุกเรื่องในโครงการ Director’s Screen จะเข้าฉายแบบ Exclusive เฉพาะที่โรงภาพยนตร์ในเครือ เอส เอฟ ฉายทุกวันรอบ 19:00 น. และวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เพิ่มรอบ 14:00 น. จำหน่ายบัตรราคาปกติที่โรง ภาพยนตร์ทุกเรื่องเข้าฉายติดต่อกัน 4 สัปดาห์ และในตลอดช่วงเวลาการฉายของภาพยนตร์แต่ละเรื่องจะมีจัดกิจกรรมพบปะพูดคุยกับผู้กำกับทุกวันเสาร์หลังภาพยนตร์รอบค่ำ
โครงการ Director’s Screen ในปีนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม รวมถึงแนวร่วมด้านเทคนิคจากบริษัท ACD Network ประเทศสิงคโปร์ โดยจากความร่วมมือของทุกแนวร่วมดังกล่าว เป็นสัญญาณแสดงความชัดเจนว่าโครงการ Director’s Screen จะยังเดินหน้าดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกหลังสิ้นสุดโครงการในครั้งนี้
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ 083 429 8002 (คุณไพลิน)
บริษัท เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น จำกัด
โทร 02 939 4343 แฟกซ์ 02 939 5573
E-mail: [email protected] Web Site: www.extravirginco.com
เจ้านกกระจอก
Mundane History
ภาพยนตร์โดย อโนชา สุวิชากรพงศ์
อำนวยการสร้างโดย
บริษัท อีเล็กทริค อีล ฟิล์ม จำกัด
ดราม่า, 82 นาที, 35มม., สี
ระบบเสียง Dolby SRD
ฉายวันที่ 5 สิงหาคม 2553 เรต 20
เรื่องย่อ:
เอก เด็กหนุ่มอายุ 19 ปี ลืมตาตื่นขึ้นมาบนเตียงโรงพยาบาล เขาพยายามลุกขึ้นมาแต่ไม่สามารถทำได้ ร่างกายท่อนล่างของเขาไม่มีความรู้สึกใดๆ ทันใดนั้นธานินทร์ ชายวัยห้าสิบเศษๆผู้เป็นบิดาของเอกก็เดินเข้ามาในห้องด้วยสีหน้าเคร่งเครียด เขาบอกกับเอกว่าเอกสามารถกลับบ้านได้ในวันพรุ่งนี้
วันรุ่งขึ้นเอกกับธานินทร์กลับมาถึงบ้านพร้อมด้วยปัน บุรุษพยาบาลวัยสามสิบต้นๆ ปันอุ้มเอกขึ้นไปที่ห้องนอนของเอกแล้ววางเขาลงบนเตียง หลังจากนั้นเขาก็เช็ดตัวและเปลี่ยนเสื้อผ้าให้เอก
แล้ววันแต่ละวันก็ค่อยๆผ่านไปโดยที่ไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นมากนัก ปันเช็ดตัวให้เอก หรือไม่ก็เข็นรถเข็นไปรอบๆบ้าน บางครั้งสองพยายามชวนเอกคุย แต่ดูเหมือนจะไม่เป็นผลสำเร็จนัก นานๆครั้งที่ธานินทร์จะโผล่เข้ามาทักทายแล้วชวนทั้งสองพูดคุย แต่เปรียบเสมือนจะมีกำแพงที่มองไม่เห็นคั่นกลางพ่อกับลูกอยู่
ควบคุมการผลิต : โสฬส สุขุม, อโนชา สุวิชากรพงศ์, ลี ชาตะเมธีกุล
เขียนบทและกำกับ : อโนชา สุวิชากรพงศ์
ภาพยนตร์ได้รับรางวัล Tiger Award จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติร็อตเทอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ รางวัล Transilvania Trophy จาก เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ
ทรานซิลเวเนีย ประเทศโรมาเนีย
เทศกาลหลักอื่นๆที่เข้าร่วม :
Pusan, World Film Festival of Bangkok (Opening Film), Black Movie, Las Palmas de Gran Canaria, Hong Kong, San Francisco, Singapore International, Open Doek (Belgium), Barcelona Seattle,
Edinburgh, Maryland (USA), Munich(Germany), Distrital, Semana de cine mexicano y otros mundos, Moscow, La Rochelle, Paris Cinema,Durban, Era New Horizons, Vancouver
สวรรค์บ้านนา Agrarian Utopia
ควบคุมการผลิต:
พิมพกา โตวิระ
กำกับ ถ่ายภาพ และตัดต่อ:
อุรุพงศ์ รักษาสัตย์
ภาพยนตร์ได้รับการสนับสนุน โดย กองทุน Hubert Bals ของเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติร๊อตเทอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ และ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
ภาพยนตร์โดย อุรุพงศ์ รักษาสัตย์ อำนวยการสร้างโดย บริษัท เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น จำกัด
ดราม่า, 122 นาที, ดิจิตัลวีดีโอ, สี, ระบบเสียง Stereo, เข้าฉายในระบบดิจิตัล 2K, เรต 15
ฉายวันที่ 2 กันยายน 2553
เรื่องย่อ:
ชาวนาสองครอบครัวซึ่งถูกยึดที่นาได้ร่วมทำนาบนผืนดินเดียวกัน หวังว่าจะผ่านชีวิตหนึ่งปีของการทำนาไปดังเช่นที่เคยเป็นมา แต่ดูเหมือนว่า ไม่ว่าโลกจะพัฒนาไปเท่าใด เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศจะเปลี่ยนแปลงไปแค่ไหน พวกเขาก็ยังไม่อาจไขว่คว้าหนทางแห่งชีวิตที่ไร้ซึ่งความทุกข์ยากได้
เราจะฝันถึงโลกในอุดมคติได้อย่างไร ถ้าท้องของเรายังคงหิวอยู่
ภาพยนตร์ได้เข้าร่วมฉายในกว่า 44 เทศกาลภาพยนตร์ทั่วโลก และได้รับรางวัลนานาชาติ 9 รางวัล โดยมีรางวัลหลักอาทิ:
- รางวัลพิเศษของ UNESCO ในด้านความสำเร็จในการส่งเสริม และรักษาไว้ซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านทางศิลปะ
ภาพยนตร์
- รางวัล Best Narrative Feature, 2009 Toronto Reel Asian Film Festival
- รางวัล Best Film, 2010 !f Istanbul Film Festival
เทศกาลหลักอื่นๆที่เข้าร่วม :
Rotterdam, Hong Kong, Singapore, Jeonju, Barcelona, Libertas, Munich, Brisbane, Jogja, Bangkok, Vancouver, Yamagata, Ghent, Lisboa, Viennale, Mumbai, Asiaticafilmmediale, Copenhagen, Mar del Plata, Toronto Reel Asian, Bratislava, Kerala, Pune, Fajr, !f Istanbul, MoMA, San Francisco Asian American, Wisconsin, Berlin Documentary Forum
ภูเก็ต
Phuket
ภาพยนตร์โดย อาทิตย์ อัสสรัตน์
อำนวยการสร้างโดย
บริษัท ป็อป พิคเจอร์ส จำกัด
ดราม่า, 30 นาที, ดิจิตัลวีดีโอ, สี
ระบบเสียง Stereo
เข้าฉายในระบบดิจิตัล ฉายวันที่ 30 กันยายน 2553
เรื่องย่อ:
เรื่องราวของดาราสาวชาวเกาหลีชื่อดังที่เดินทางมาพักร้อนที่ภูเก็ต และได้พบกับพงษ์ คนขับรถที่เป็นผู้พาให้เธอได้ท่องเที่ยวไปทั่วเกาะ
ควบคุมการผลิต : โสฬส สุขุม, ศักดิ์สิริ จันทรังษี, วิชา โคกาปุญ
เขียนบทและกำกับ : อาทิตย์ อัสสรัตน์
ภาพยนตร์สั้นในวาระของการจัดงาน ASEAN Summit ปี 2552 จังหวัดภูเก็ต โดยงบประมาณส่วนหนึ่งจาก กระทรวงการต่างประเทศและสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
ภาพยนตร์เรื่อง ภูเก็ต จะจัดฉายพร้อมกับหนังสั้นอีก 2 เรื่อง ของผู้กำกับคนเดียวกัน:
Boy Genius
ภาพยนตร์โดย อาทิตย์ อัสสรัตน์
อำนวยการสร้างโดย บริษัท ป็อป พิคเจอร์ส จำกัด
ภาพยนตร์สั้น, 12 นาที, ดิจิตัลวีดีโอ, สี, ระบบเสียง Stereo
เรื่องของผู้กำกับหนุ่มที่พยายามจะถ่ายทำหนังของตนเอง แต่ก็ประสบอุปสรรคต่างๆจากแฟนของเขาที่แม้จะหวังดี แต่เธอก็ไม่เข้าใจในความเป็นอัจฉริยะของเขา
The Sigh
ภาพยนตร์โดย อาทิตย์ อัสสรัตน์
อำนวยการสร้างโดย บริษัท ป็อป พิคเจอร์ส จำกัด
ภาพยนตร์สั้น, 25 นาที, ดิจิตัลวีดีโอ, สี, ระบบเสียง Stereo
เรื่องของซาวน์แมนที่ไปบันทึกเสียงในตึกร้างเพื่อจะเอามาทำหนัง แต่ก็เกิดไปบันทึกได้เสียงหายใจของหญิงสาวลึกลับคนหนึ่งติดมา