1577 คอลเซ็นเตอร์ ระดมหน่วยงานภาครัฐ อย. สาธารณสุข และเอกชนกว่า 250 ราย จัดเสวนาเชิงลึก “ผลิตภัณฑ์ปลอดภัย ผู้ประกอบการใส่ใจผู้บริโภค” ณ โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค หลังพบผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ไม่รู้กฎหมายด้านฉลากสินค้า และโฆษณาที่ถูกต้อง ทำให้ทำผิดเข้าค่ายสินค้าไม่ได้มาตราฐาน พร้อมกำหนดมาตราการเคร่งครัดในการตรวจสอบสินค้าก่อนจำหน่ายสู่ผู้บริโภค เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับมา โดยผนึก 3 ฝ่ายรวมด้วยช่วยกันแก้ไข คือ ภาครัฐ ผู้ประกอบการ/ผู้ผลิต และผู้บริโภค
บริษัท พรอพเพอร์ตี้ เทคโนโลยี่ จำกัด หนึ่งในผู้นำที่ให้บริการการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบคอลเซ็นเตอร์ หมายเลข 1577 โดยนายจุล โชติกะวรรณ กรรมการผู้จัดการ เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจช่องทางการขายผ่านคอลเซ็นเตอร์เติบโตขึ้นมากเมื่อเทียบกับเมื่อ 3 ปีก่อน ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เน้นความสะดวกในการหาซื้อสินค้าซึ่งช่องทางนี้ตอบโจทย์ลูกค้าในยุคปัจจุบัน นอกจากนั้นช่องทางการขายนี้ยังเข้าถึงกลุ่มลูกค้าในต่างจังหวัดซึ่งมีกำลังซื้อแต่สินค้ากระจายไปไม่ถึงจึงเป็นทางเลือกใหม่ หลักสำคัญหนึ่งในการมัดใจลูกค้า คือ การบริการ ซึ่งคอลเซ็นเตอร์ 1577 เราส่งสินค้าถึงบ้าน ฟรีค่าจัดส่งพร้อมชำระเงินเมื่อเห็นสินค้า จึงทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจและกล้าสั่งซื้อแม้จะไม่ได้สัมผัสสินค้า ปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจด้านนี้ค่อนข้างดุเดือด เพราะ ทางช่องเคเบิ้ลบางหลายก็ผันตัวเองเป็นคอลเซ็นเตอร์ หรือการเกิดของคอลเซ็นเตอร์ใหม่ๆ จึงทำให้ภาพของสินค้าที่ขายผ่านคอลเซ็นเตอร์มีหลากหลายเกรด และมาตราฐาน ตลอดจนการโฆษณาโอเวอร์เกินจริง จึงอยากฝากให้ผู้ซื้อพิจารณาสินค้าให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ สำหรับ 1577 เราอยู่ในวงการนี้มานานซึ่งเราทราบดีอย่างยิ่งว่ามาตราฐาน และคุณภาพของสินค้าเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ลูกค้าเชื่อมั่นและสั่งซื้อกับเรา ที่ผ่านมาทาง 1577 เราได้มีการคัดกรอกตรวจสอบสินค้า อาทิเช่น อาหารเสริมต้องผ่าน อย.โดยเราทำการตรวจสอบกลับไปที่ อย. เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการปลอมเลขที่อย. สำหรับเรื่องฉลากสินค้า การโฆษณาต้องบอกว่าเป็นเรื่องใหม่ที่ทางเราต้องเรียนรู้อย่างจริงจังไปพร้อมกับผู้ประกอบการ ดังนั้นทางบริษัทฯในฐานะคนกลางระหว่างผู้ประกอบการ และผู้บริโภค พร้อมเชื่อมความสัมพันธ์อันดีกับภาครัฐในฐานะผู้กำกับดูแลกฎระเบียบ เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง
นายจุล กล่าวต่อว่า การจัดเสวนาเชิงลึก หัวข้อ “ผลิตภัณฑ์ปลอดภัย ผู้ประกอบการใส่ใจผู้บริโภค” ในครั้งนี้มีหน่วยงานภาครัฐจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือ อย. และภาคเอกชน เข้าร่วมกิจกรรมรวมกว่า 250 ราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับ กฎระเบียบการโฆษณาสินค้า เพราะอาจเข้าข่ายอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง และ พรบ.ฉลากสินค้า เพราะเป็นเรื่องละเอียดและซับซ้อน การตกหล่นในข้อมูลบางอย่างซึ่งไม่เป็นไปตามข้อกำหนด เมื่อทาง อย. เข้าตรวจสอบจะผิดข้อหาสินค้าไม่ได้มาตราฐานทันที เช่น มีชื่อบริษัทผู้ผลิต แต่ไม่ระบุที่อยู่, การระบุปริมาณสินค้าซึ่งต้องใช้เป็นหน่วย มิลิลิตร (มล.) ไม่ใช้ ML, การตกหล่นข้อความคำเตือนต่างๆ ข้างกล่อง เป็นต้น หากสินค้าผิดดังกล่าว อาจทำให้ผู้บริโภคที่รับทราบข่าวสารเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องคุณภาพของสินค้า และแน่นอนจะส่งผลกระทบกับภาพพจน์ของทั้งสินค้า และเราซึ่งเป็นช่องทางจำหน่าย ดังนั้นฉลากสินค้าจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับตัว และทำความเข้าใจในไขหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในปี 2554 ที่ทางประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ พรบ.เครื่องสำอางอาเซียน ซึ่งทางหน่วยงานรัฐต้องเร่งสร้างความชัดเจนในเรื่องของกฎหมายอย่างเร็วที่สุด เพื่อให้สินค้าไทยสามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศและสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศได้
นายจุลกล่าวทิ้งท้ายว่า นอกจากนี้ในเรื่องของการโฆษณา จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการต้องควรทราบเช่นเดียวกับเรื่องฉลาก การจัดเสวนาในครั้งนี้ถือว่าเป็นเริ่มต้นสร้างความปองดอง และความเข้าใจตรงกันระหว่างภาครัฐ และเอกชน เพื่อมุ่งพัฒนามาตราฐานสินค้า สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคต่อสินค้า โดยปัจจุบันบริษัทฯ ได้มีเครือข่ายในอีก 2 ประเทศในอาเซียน คือ มาเลเซีย และเวียดนาม โดยมีแผนที่จะขยายตลาดให้ทั่วทั้งอาเซียน ก่อนที่จะขยับไปยังตะวันออกกลาง